UNDP เผยนศ.เข้าใจความซื่อตรง แต่ยอมรับ 60% จ่าย-ใช้เส้นเรื่องปกติ
UNDP เผยเยาวชนไทย เข้าใจเรื่องความซื่อตรงอย่างดี เชื่อความซื่อตรงเป็นสิ่งสำคัญ ปฏิบัติพบ เกิน 60% ยอมจ่าย-ใช้เส้นเป็นเรื่องปกติ
วันที่ 8 ธันวาคม โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับวิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเครือข่ายเยาวชน "คอรัปชั่น ฉันไมขอรับ" จัดแถลงข่าวผลสำสำรวจความซื่อตรงของนักศึกษามหาวิทยาลัย ณ โรงแรมอมารี วอร์เตอร์เกต (ประตูน้ำ) ชั้น 8 ห้องอยุธยา
สำหรับโครงการสำรวจความซื่อตรงของนักศึกษามหาวิทยาลัย (University Students' Integrity Survey) นี้ เป็นโครงการนำร่องที่จัดทำขึ้นที่มหาวิทยาลยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย กลุ่มตัวอย่างนักศึกษา 1,255 คน ที่ร่วมตอบแบบสอบถาม พบว่า เยาวชนไทยมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความซื่อตรง (Integrity) เป็นอย่างดี และเชื่อว่า ความซื่อตรงเป็นสิ่งสำคัญ
อย่างไรก็ตาม เยาวชนส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสำรวจ ยอมรับว่า การจ่ายและใช้เส้นเป็นเรื่องปกติ ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความไม่สอดคล้องกันของความเชื่อเรื่องและพฤติกรรม หรือ "ช่องว่างความซื่อตรง (Integrity Gap)" นั่นเอง
รศ.ดร.พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ คณบดีผู้ก่อตั้ง วิทยาลยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลยขอนแก่น กล่าวว่า ในฐานะผู้ให้การศึกษาและผู้จัดการศึกษามีบทบาทสำคัญที่จะช่วยลดช่องว่างความซื่อตรงในกลุ่มนักศึกษา ข้อมูลและผลสํารวจนี้ช่วยให้เราเข้าใจสถานการณ์ได้ดีขึ้นและเป็นกรอบแนวทางที่ดีที่จะช่วยให้เราจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนอง สถานการณ์ได้ดีขึ้น
จากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา 1,255 คน นักศึกษาส่วนใหญ่เข้าใจแนวคิดเรื่องความซื่อตรง (Integrity) และเห็นด้วย ว่า "คนที่มีความซื่อตรงจะปฏิเสธการทุจริตถึงแม้จะทำให้สถานการณ์ของตนยากลำบากมากขึ้น"
แต่นักศึกษามากกว่า ร้อยละ 60 กลับเห็นว่า การใช้เส้นสายในการหาผลประโยชน์ หรือเสนอที่จะจ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่ เพื่อที่จะบรรลุ วัตถุประสงค์บางอย่างเป็นเรื่องปกติ และ มากกว่าครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่ตอบแบบสำรวจ ระบุว่า นักศึกษาในมหาวิทยาลยของตนส่งงานที่เพื่อนทำให้
นอกจากนี้ นักศึกษามากกว่าร้อยละ 80 เห็นว่า "คนที่มีความซื่อตรงจะตั้งคำถามหรือไม่เชื่อฟังเมื่อผู้มีอำนาจ กระทำการที่ผิดกฎหมายหรือผิดจริยธรรม" แต่นักศึกษาเพียงร้อยละ 3.2 ระบุว่า "เคยรายงานผู้เกี่ยวข้องเมื่อได้รับการ เสนอให้จ่ายสินบน" ขณะที่นักศึกษาร้อยละ 26.5 ตอบว่า "ไม่ใช่เรื่องของตน" และ ร้อยละ 26.8 ตอบว่า "ถึงรายงานไปก็ ไม่เชื่อว่าจะมีการทำอะไร"
มารีนา วอลเตอร์ รองผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า "ผลสำรวจ ชี้ให้เห็นว่านักศึกษารู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด แต่อิทธพลของระบบวัฒนธรรมและธรรมเนียมปฏิบัติในสังคมอาจจะเป็น ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เยาวชนไม่สามารถประพฤติตนโดยยึดมั่นในหลักความซื่อตรงได้ ในประเด็นดังกล่าว ทาง UNDP ก็ได้ มีการดำเนินโครงการและกิจกรรมกับเยาวชนมาอย่างต่อเนื่องและอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในเรื่องนี้ คุณ มารีนา วอลเตอร์ ยังกล่าวอีกว่า เราเชื่อว่าเยาวชนต้องเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ เพราะพวกเขาเข้าใจในประเด็นปัญหา สำหรับ UNDP เราเป็นฝ่ายสนับสนุนและให้คำแนะนำกับเยาวชนในการร่วมกันจัดกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความ ตระหนักรู้และช่วยให้ช่องว่างความซื่อตรงลดลงและให้สิ่งที่เยาวชนพูดและเชื่อนั้นสอดคล้องกับสิ่งที่ทำ"
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาต (UNDP) ได้สนับสนุนการดําเนินกิจกรรมของเครือขายเยาวชนไทย "คอรัปชั่น ฉันไม่ขอรับ" ซึ่งมีนักเรียนนักศึกษาที่เป็นสมาชิกมากกว่า 6,000 คนจาก 90 กว่ามหาวิทยาลยทั่วประเทศ โดย ช่วงที่ผ่านมา เครือข่าย "คอรัปชั่น ฉันไม่ขอรับ" ได้เปิดตัวโครงการธุรกิจเพื่อสังคมในรูปแบบร้านกาแฟชื่อ "คอรัปชั่น ฉันไม่ขอรับ" ซึ่งจะเป็นพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้ใช้ในการพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับประเด็นการทุจริตคอร์ปชั่น แลกเปลี่ยน ความคิด สร้างสรรค์กิจกรรม และวางแผนรณรงค์เพื่อแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์ปชั่น ในระดับมหาวิทยาลัย ระดับชุมชน และระดับประเทศต่อไป ทั้งนี้ ผลกำไรที่ได้รับจากร้านกาแฟจะนำไปดำเนินกิจกรรมการต้านทุจริตคอร์ปชั่นของ นักศึกษาเพื่อเกิดความยั่งยืนและต่อเนื่อง
ร้านกาแฟ "คอร์ปชั่น ฉันไม่ขอรับ" เป็นธุรกิจเพื่อสังคม โดยเป็นความร่วมมือระหว่างโครงการพัฒนาแห่ง สหประชาชาต (UNDP) ทรูคอฟฟี่ มหาวิทยาลยขอนแก่น มหาวิทยาลยอุบลราชธาน และองคกร์ต่อต้านคอร์รัปชั่น โดย สองร้านแรกทจะเปิดต้นปีหน้าจะตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'UNDP' เปิดตัวร้านกาแฟ “คอร์รัปชั่น ไม่ขอรับ” หวังเป็นพื้นที่คุยต้านโกง