เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร ยื่นหนังสือ รบ. ทบทวนทดลองพืช GMOs
ภาคีเครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร ยื่นหนังสือ ร้องรัฐบาลทบทวนการทดลองพืช GMOs หวั่นสารปนเปื้อนไหลเข้าประเทศ แนะสร้างมาตรการป้องกัน-แก้ไข ให้ชัดเจน
วันที่ 30 ตุลาคม 2557 เวลา 13.30 น.สภาเกษตรกรแห่งชาติ สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) มูลนิธิชีววิถี และภาคีองค์กรเครือข่าย รวม 13 องค์กร ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีคัดค้านการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในระดับไร่นา ณ ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงศ์ หัวหน้าฝ่ายประสานมวลชนและองค์กรประชาชน(สปอ.) เป็นตัวแทนรับมอบหนังสือ
นาวสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวถึงการคัดค้านการทดลองพืชทดลองดัดแปลงพันธุ์กรรมว่า การเดินทางมายื่นหนังสือ เพื่อที่จะทักทวงรัฐบาลที่จะดำเนินการการผลักดันในเกิดพืช GMOsในแปลงเปิด เพราะเนื่องจากทางเครือข่ายฯ มีความกังวัลในการทำวิจัยดังกล่าวที่ในประเทศไทยยังไม่มีมาตรการรองรับ แก้ไข หรือกฎหมายที่ดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพไม่ให้เกิดกการปนเปื้อนได้ พร้อมกับยกตัวอย่าง มะละกอที่มีสารปนเปื้อน GMOs มาตั้งแต่ 2547 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังพบว่ามีการปนเปื้ออยู่ เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้ถือว่า เป็นเรื่องใหญ่เชิงเทคนิคว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร และเมื่อไหร่ โดยอาจทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
“ไทยเองยังไม่ได้กำหนดจุดยืนของประเทศเลยว่า เราจะเป็นผู้ผลิตและส่งออก GMOs ในขณะนี้ในต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาหรือญี่ปุ่น ที่เป็นประเทศคู่ค้าของ มอนซานโต้ บริษัทที่ผลิตสินค้าเกษตรดัดแปลงก็มีความวิตกกังวลก่ำกึ่งถึงเรื่องความปลอดภัยอยู่ ไทยต้องพูดให้ชัดถึงมาตรการควบคุม แก้ไข ซึ่งตรงนี้ต้องถามประชาชน เกษตรกร หรือส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ใช่แค่นักวิชาการ นักเทคนิคเท่านั้น” รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถีกล่าว
ด้านนางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สามารถผลิตขายพืชพันธุ์ได้อย่างอิสระทางพันธุ์พืชและไม่ขาดแคลน หากวันหนึ่งจะมีการทดลองพืช GMOs ที่พ่วงมาด้วยลิขสิทธิ์ของพืช ในอนาคตเกษตรกรไทยจะมีภาระเพิ่มโดยการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้กับบริษัทที่ทำเกี่ยวกับพืชดัดแปลง เพราะฉะนั้นในประเทศไทยควรตัดสินใจว่าจะผลิตอาหารที่เป็นครัวของโลกอย่างปลอดภัย หรือจะไหลตามนักวิชาการที่อยากลองของ
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า บรรยากาศการยื่นหนังสือคัดค้าน GMOs ยังเกิดขึ้นพร้อมกันในจังหวัดอีก 10 ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น มหาสารคาม ยโสธร สุรินทร์ สุพรรณบุรี นครรสวรรค์ พัทลุง สงขลา ฉะชิงเทรา ณ ศาลากลางจังหวัด
สำหรับใจความของหนังสือ ให้นายกรัฐมนตรีดทบทวนนโยบายและการดำเนินการเกี่ยวกับพืชดัดแปรพันธุกรรม ประกอบด้วย
1. ขอให้ยับยั้งการอนุญาตให้มีการปลูกทดลองพืชจีเอ็มโอในแปลงเปิด จนกว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งกำหนดให้มีการชดเชยความเสียหายและรับผิดชอบกรณีที่เจ้าของหรือผู้ปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมทำให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมกับพืชทั่วไป พืชที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ หรือทำให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรชีวภาพ/ทรัพยากรธรรมชาติในระหว่างที่ไม่มีกฎหมายข้างต้น ให้มีการอนุญาตในการปลูกทดลองพืชดัดแปรพันธุกรรมในโรงเรือนทดลอง หรือให้ห้องปฏิบัติการเท่านั้น
2. ขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติ ภายใต้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดทำยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนและเกษตรกรรมอินทรีย์ ทั้งนี้โดยให้มีตัวแทนของผู้ที่เกี่ยวข้องจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเครือข่ายเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรของประเทศสามารถเชื่อมโยงประสานกันโดยไม่ขัดแย้งกัน
ประชาชนยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจ.ฉะเชิงเทรา
ประชาชนยื่นหนังสือ ณ ศูนย์ดำรงธรรม จ.พัทลุง
ประชาชนจังหวัดสุรินทร์เข้ายื่นหนังสื่อคัดค้านพืช GMOs ณ ศูนย์ดำรงธรรม จ.สุรินทร์
ที่มา_ภาพ:https://www.facebook.com/biothai.net