ภาคประชาชน แถลงนโยบายคู่ขนานรัฐบาล “ปรองดอง-แผนพัฒนา-สิทธิชุมชน”
175 องค์กรภาคประชาชน แถลงการณ์คู่ขนาน"ยิ่งลักษณ์" ให้รัฐบาลไม่เอียงสีการเมือง-สอบความจริงฆ่าตัดตอนยาเสพติดสมัยทักษิณ-ลงนามไอแอลโอ-ยกเลิกหน่วยงานนิวเคลียร์ บีโอไอ- เพิ่มค่าภาคหลวงปิโตรเลียม 90% -กำหนดแผนพัฒนาภาคใต้ใหม่- หยุดแก่งเสือเต้นและโครงการกระทบชุมชน
วันที่ 23 ส.ค.54 หลังจากที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงนโยบายรัฐบาลที่รัฐสภา เครือข่ายประชาชนเปลี่ยนประเทศไทย 175 องค์กร ก็ออกคำแถลงนโยบายภาคประชาชน ต่อรัฐบาล รัฐสภา และประชาชนไทย ได้แก่
นโยบายปรองดองสมานฉันท์ รัฐบาลต้องแสดงความชัดเจนในการบริหารประเทศโดยไม่ทำให้เกิดความหวาดระแวงว่าเป็นรัฐบาลที่มาจากฝ่ายที่แตกต่างขัดแย้ง ต้องทำให้ประชาชนทุกฝ่ายไว้วางใจ โดยให้อำนาจฝ่ายตรวจสอบค้นหาความจริงในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นแล้วทุกกรณี นับตั้งแต่กรณีกรือแซะ ตากใบ การชุมนุมของพันธมิตร การชุนุมของ นปช. โดย 1.ให้ทำความจริงให้ปรากฎ นำผู้กระทำผิดมาลงโทษ 2.ให้มีการเยียวยาอย่างเป็นธรรมทั่วถึงโดยไม่เลือกฝ่าย 3.ยุติการใช้กฎหมายพิเศษในจังหวัดชายภาคใต้ทุกฉบับ
นโยบายด้านยาเสพติด 1.ให้พิสูจน์ความจริงกรณีฆ่าตัดตอนกว่าสองพันศพในการปราบยาเสพติดสมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีรายงานชัดเจนว่ามีผู้บริสุทธิ์ตกเป็นเหยื่อกว่าพนึ่งพันราย ตามรายงานของ ดร.คณิต ณ นคร และคณะ 2.จะต้องไม่กระทำให้เกิดการฆ่าตัดตอนซ้ำขึ้นอีก 3.มุ่งการปราบปรามที่ต้นเหตุคือผู้ผลิตและผู้ค้า 4.มิให้การปราบยาเสพติดเป็นเครื่องมือจัดการฝ่ายตรงข้ามหรือใส่ร้ายผู้บริสุทธิ์
นโยบายการจัดการน้ำ 1.กำหนดให้น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินเป็นปัจจัยการดำรงชีวิตที่สำคัญของประชาชน เป็นทรัพยากรสาธารณะที่ใช้ร่วมกันมิใช่สินค้า ยกเลิกการผูกขาดการจัดการน้ำทั้งโดยบริษัทเอกชนและภาครัฐ 2.ประชาชนที่อยู่ในแหล่งต้นน้ำและผู้ใช้น้ำต้องมีอำนาจตัดสินใจการจัดการน้ำร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม 3.หยุดโครงการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง ที่ประชาชนยังไม่มีส่วนร่วมตัดสินใจอย่างแท้จริง และหยุดโครงการที่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่ประชาชนเรียกร้องคัดค้าน เช่น หยุดโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนไซยะบุรี เขื่อนสาละวิน เขื่อนท่าแซะ เขื่อนนาปรัง อ.นาทวี จ.สงขลา เปิดประตูเขื่อนปากมูล หยุดโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง 4.พัฒนาคลองส่งน้ำที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนและระบบนิเวศน์ 5.สร้างและสนับสนุนกลไกการจัดการน้ำในระดับท้องถิ่นของชุมชน
นโยบายแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ 1.ส่งเสริมการจัดการตนเองของท้องถิ่น โดยเคารพความต้องการของประชาชนที่ดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมและมีการศึกษามาอย่างเป็นระบบแล้ว เช่น การกระจายอำนาจตามแนวทางปัตตานีมหานคร นโยบายด้านแรงงาน 1.เมื่อพักหนี้ครัวเรือนและทำให้ประชาชนชำระหนี้ได้แล้ว ต้องไม่ส่งเสริมการสร้างหนี้ใหม่ 2.เมื่อมีการเพิ่มรายได้แรงงาน 300 บาทและ รายได้ปริญญาตรี 15,000 บาท แล้วจะต้องมีมาตรการมิให้ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้น 3.ให้รัฐลงนามในอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ
นโยบายด้านพลังงาน เนื่องจากในคำแถลงของรัฐบาลปรากฎเรื่องการจัดการพลังงานกระจายไว้หลายแห่งอย่างกำกวมซ่อนเร้นและขัดแย้งกันเอง ภาคประชาชนเสนอว่า 1.ยกเลิกการพัฒนาโครงพลังงานนิวเคลียร์อย่างถาวร ยุบหน่วยงานด้านพลังงานนิวเคลียร์ หยุดศึกษาสำรวจการขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเล 2.สนับสนุนการสร้างพลังงานทดแทนชุมชน จากศักยภาพของทรัพยากรในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ พลังงานจากน้ำตกธรรมชาติ พลังงงานชีวมวล โดยส่งเสริมเป็นวิสาหกิจชุมชน
3.กำหนดมาตรการที่ชัดเจนให้ธุรกิจอุตสากรรมสร้างพลังงานทดแทนขึ้นใช้เองจาก ลม แสงอาทิตย์ และของเสียจาการผลิต 4.มีมาตรการและกรอบเวลาชัดเจนในการสร้างพลังงานของประเทศ โดยอาศัยความได้เปรียบเชิงภูมิยุทธศาสตร์ พัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกให้เป็นพลังงานหลักภายใน 30 ปีในสัดส่วน 90% ของการจัดหาพลังงานทั้งหมด และให้หยุดใช้พลังงานฟอสซิลอย่างสิ้นเชิงในเวลาเดียวกัน 5.เปลี่ยนอัตราค่าภาคหลวงแปลงสัมปทานปิโตรเลียมที่ให้ไปแล้ว จากเดิมรัฐได้เพียง 12% เอกชน 88% เป็นอัตราก้าวหน้า รัฐได้ 90% และเอกชนได้ 10% และกระจายรายได้จากสัมปทานสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
6.ยุติปัญหาความขัดแย้งและคดีความที่เกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวกับนโยบายพลังงานทั่วประเทศ เช่น กรณี โรงงานไฟฟ้าถ่านหินที่ประชาชนถูกยิงเสียชีวิต นิวเคลียร์ กรณีสายส่งไฟฟ้าอุดรธานีที่ประชาชนถุกจับกุมดำเนินคดี กรณีเขื่อนปากมูน-แก่งเสือเต้น กรณีโรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนหนองแซงสระบุรี โรงงานไฟฟ้าชีวมวลเขาหินซ้อน ฉะเชิงเทรา
ข้อเสนอนโยบายเศรษฐกิจของภาคประชาชน 1.สร้างรูปธรรมการจัดการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ โดยทำให้โรงานทั้งนอกและในนิคมอุตสาหกรรมเป็นโรงงานรอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน ก่อนที่จะมีการขยายหรือให้ใบอนุญาติในการสร้างอุตสหากรรมแห่งใหม่ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งมีกลไกการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ที่ประชาชนในชุมชนที่เกี่ยวข้องมีอำนาจตัดสินใจอย่างเป็นธรรม เช่น กรณีมาพตาพุต อมตะนคร นิคมอุตสาหกรรม 304 และ 2.จะต้องยกเลิกการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม แหล่งพลังงาน โครงข่ายการขนส่งสินค้าในภาคใต้ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว การประมง วิถิชีวิตของท้องถิ่น โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ เช่น แลนบริทจ์ เขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การสำรวจแหล่งแร่สำคัญ
3.กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ ให้สอดคล้องกับศักยภาพที่มีอยู่จริงในพื้นที่ โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความได้เปรียบเชิงภูมินิเวศ ทั้งทางทะเลชายฝั่ง และพื้นที่ทางการเกษตร เช่น การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว การเกษตร และการประมง
นอกจากนี้ยังเสนอให้ยกเลิกคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ),โดยสงวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐวิสาหกิจที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น พลังงาน ขนส่งมวลชน คมนาคม การสื่อสาร อันประกอบด้วย ไฟฟ้า น้ำมัน ประปา และคลื่นความถี่ โดย 1.รัฐต้องซื้อคืนรัฐวิสาหกิจที่ถูกแปรรูปแล้ว เช่น ปตท. บริษัทไฟฟ้าราชบุรี บริษัทจัดการน้ำตะวันออก .