การปฏิรูปกฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ มุมมองในเชิงเศรษฐศาสตร์
กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ในความเข้าใจของคนโดยทั่วไป มีความหมายตรงกับกฎหมายที่มีประสิทธิภาพในทางเศรษฐศาสตร์ คือ เป็นกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดได้ โดยใช้งบประมาณที่น้อยที่สุด เท่าที่เป็นไปได้ โดยรัฐจะต้องมีการออกแบบกลไก (Mechanism design) ที่เหมาะสมให้ผลที่เกิดขึ้น (หรือดุลยภาพในทางเศรษฐศาสตร์) เป็นไปในทางที่ประชาชนไม่ต้องการกระทำความผิด
ข้อเสนอเพื่อปฏิรูปกฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ต่อไปนี้ จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีของการเลือกอย่างมีเหตุผล (Rational choice theory) ที่ว่า สิ่งใดให้ผลประโยชน์มากกว่า คนก็จะเลือกสิ่งนั้น เมื่อคาดว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการกระทำความผิดมีมากกว่าการไม่กระทำความผิด คนก็จะเลือกกระทำความผิด และในทางตรงข้าม หากคาดว่าผลที่ได้จากการกระทำความผิดไม่คุ้มกับการลงมือกระทำความผิด คนก็จะเลือกที่จะไม่กระทำความผิด
ในปัจจุบัน แม้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะได้พยายามบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วให้เข้มงวดขึ้น ซึ่ง ด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดที่คสช.มีอยู่ ย่อมอาจมีประสิทธิผลในการปราบปรามและป้องกันการกระทำความผิดได้ แต่ก็อาจเป็นเพียงมาตรการที่ได้ผลในระยะสั้น เท่าที่คสช.อยู่ในอำนาจและยังมีความตั้งใจอย่างสูงที่จะดำเนินการในเรื่องนี้อยู่เท่านั้น เมื่อใดที่คสช.ต้องส่งมอบอำนาจคืน สังคมและกฎหมายรวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายก็จะกลับไปสู่สภาพเดิม
การออกแบบกลไก ให้เกิดมีการบังคับใช้กฎหมายและให้เนื้อหาของตัวบทกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ อย่างยั่งยืน จึงเป็นความจำเป็นยิ่งยวดของประเทศไทย ที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น ภายในเวลาที่เร่งด่วนและจำกัด ให้สำเร็จก่อนการเปิดประเทศเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดยข้อเสนอ มีเนื้อหา สาระ ตามตาราง ดังต่อไปนี้
ข้อเสนอ เหล่านี้ ย่อมขัดกับประโยชน์ของนักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และพ่อค้าประชาชน ที่ทุจริต จึงเป็นการยากที่จะผลักดันให้มีการออกกฎหมายในลักษณะนี้ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติในช่วงเวลาปกติ
ขณะนี้ คสช.มีอำนาจเป็นรัฐาธิปัตย์ จึงควรใช้เป็นโอกาสที่ดีที่สุด ในการปฏิรูปประเทศ โดยการสร้างรากฐานที่สำคัญที่สุดของชาติคือการมีการบังคับใช้กฎหมายและการมีเนื้อหาของกฎหมายที่ศักดิ์สิทธิ์ อย่างยั่งยืน โดยการออกคำสั่งในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งย่อมมีศักดิ์เป็นกฎหมาย ให้เกิดขึ้นมีผลบังคับใช้ได้ทันที และเพื่อให้เกิดการยอมรับจากทุกฝ่ายได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝ่ายผู้ที่ได้เคยกระทำความผิดในคดีต่างๆ ควรระบุให้ชัดเจนว่าคำสั่งเหล่านี้ ไม่ให้มีผลบังคับย้อนหลัง.
ขอบคุณภาพประกอบจาก : www.dou.us