คำวินิจฉัยศาลปกครอง คดีพิพาทถ่ายสดบอลโลก“อาร์เอส-กสทช.”
"ในขณะที่ออกประกาศดังกล่าว จึงไม่เป็นธรรมกับผู้ฟ้องคดี และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีนี้ จึงไม่อาจนำประกาศดังกล่าว มาใช้บังคับกับผู้ฟ้องคดีในคดีนี้ได้..."
เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2557 เวลา 13.30 น. ศาลปกครองสูงสุด อ่านคำพิพากษาคดี คดีหมายเลขดำที่ อ.413/2557 คดี หมายเลขแดงที่ อ. 215 / 2557 ระหว่าง บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ จำกัด (ผู้ฟ้องคดี) กับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช. ) ( ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ) กับคณะกรรมการ กสทช. รวม 12 คน (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ) โดยคดีดังกล่าว อาร์เอสฯ ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ขอให้ยกเลิกประกาศ กสทช.เกี่ยวกับหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการ โทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป หรือ Must Have และมิให้นำประกาศดังกล่าวมาใช้กับการเผยแพร่การ แข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ก่อนที่คดีนี้ คณะกรรมการ กสทช. ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 2 ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ 726 / 2556 หมายเลขแดงที่ 503 / 2557 ของศาลปกครองชั้นต้น
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org สรุปประเด็นสำคัญของคดีพิพาทระหว่าง บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเม้นท์ กับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช. ) กับคณะกรรมการ กสทช. รวม 12 คน โดยย้อนสรุปนับแต่สาระในการวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลชั้นต้น รวมถึงสาระสำคัญของประเด็นวินิจฉัยที่ คณะกรรมการ กสทช. ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ดังนี้
คำพิพากษา ศาลปกครองชั้นต้น
ศาลปกครองชั้นต้น โดยที่ประชุมใหญ่ ตุลาการศาลปกครองกลาง เห็นว่า ข้อ 3 ประกอบกับรายการลำดับ 7 ของภาคผนวก ตามประกาศของ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ ได้เฉพาะ ในบริการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 เป็นกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฉพาะในส่วนที่มีผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลที่ได้ทรงไว้โดยชอบแล้ว ก่อนมีการออกประกาศ ดังเช่นกรณีของ อาร์เอสฯ นี้
เนื่องจกมีเนื้อหาขัดหรือแย้ง ต่อ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
อนึ่ง พิจารณาได้ว่า การดำเนินการต่างๆ ของบุคคล ในทาง ที่ได้รับประโยชน์หรือในทางที่เป็นคุณจากการบังคับใช้ ประกาศดังกล่าวที่ได้กระทำไป นับตั้งแต่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ยังไม่ถึงขนาดก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบที่ยุ่งยาก แก่การคุ้มครองสิทธิหรือแก้ไขเยียวยา จำจำเป็นที่ศาลต้องให้การรับรองคุ้มครองสิทธิเอาไว้ โดยการกำหนดให้ความไม่ชอบด้วยกฎหมายของประกาศของ คณะกรรมการ กสทช. มีผลจำกัด เฉพาะที่เป็นผลไปในอนาคตเท่านั้น
ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับความ ไม่ชอบด้วยกฎหมายของประก่ศดังกหล่าว ที่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ต้น จึงสมควรกำหนดให้ ความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ของประกาศ ของ คณะกรรมการ กสทช. ถูกเพิกถอน โดยมีผลย้อนหลัง ไปตั้งแต่ต้น นับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
โดยศาลปกครองชั้นต้น พิพากษา ให้เพิกถอน ข้อ 3 ประกอบกับรายการลำดับ 7 ของภาคผนวก ตามประกาศของ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ ได้เฉพาะ ในบริการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 เฉพาในส่วนที่มีผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลที่ได้ทรงไว้โดยชอบแล้ว ก่อนมีการออกประกาศ ดังเช่นกรณีของอาร์เอสฯ
ทั้งนี้ โดยให้การเพิกถอนมีผลย้อนหลัง นับตั้งแต่วันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
คำวินิจฉัย ศาลปกครองสูงสุด
ประเด็นที่ 1.คณะกรรมการ กสทช. ยื่นอุทธรณ์ ว่า อาร์เอส มีสิทธิ์ฟ้องคดีนี้หรือไม่ เนื่องจาก คดีนี้ คณะกรรมการ กสทช. อ้างในคำให้การและอุทธรณ์ว่า อาร์เอสฯ ไม่ใช่ ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อน หรือเสียหาย จากการออกประกกาศ ของคณะกรรมการ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ ได้เฉพาะ ในบริการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 ที่จะมีสิทธิ์ฟ้อองคดีต่อศาลปกครอง เนื่องจากประกาศดังกล่าว มีผลใช้บังคับกับผู้รับอนุญาต หรือรับใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการโทรทัศน์เท่านั้น ส่วน อาร์เอสฯ เป็นเพียงผู้ได้รับลิขสิทธิ์ ให้ทำการแพร่ภาพ
ประเด็นนี้ ศาลเห็นว่า ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 บัญญัติว่า ผู้ใดได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อน หรือ เสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำ หรือการงดเว้น การกระทำของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง ตามมาตรา 9 และการแก้ไขหรือบรรเทา ความเดือดร้อน หรือความเสียหาย หรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมีคำบังคับตามที่กำหนด ในมาตรา 72 ผู้นั้น มีสิทธิ์ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
นอกจากนี้ ประกาศของ กสทช. มีลักษณะเป็นกฎ จึงเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการ สำหรับการแก้ไข ความเดือดร้อน หรือเสียหายไว้โดยเฉพาะก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาล เมื่อผู้ฟ้องคดี ได้รับสิทธิในการถ่ายทอดสดการแข่งขัน ฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ในปี 2557 ระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน 2557 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2557 จากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ ผู้ฟ้องคดี จึงย่อมสามารถนำรายการที่ได้รับสิทธิไปเผยแพร่ได้ในหลายช่องทาง ที่ผู้ฟ้องคดี เห็นว่า ได้ประโยชน์สูงสัดทางธุรกิจ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ( คณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ) ออกประกาศที่พิพาท มีผลทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่อาจเผยแพร่ในกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ได้ ผู้ฟ้องคดี จึงเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากประกาศของ กสทช. ที่มีสิทธิ์ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
ประเด็นที่ 2 เนื้อหาข้อ 3 ประกอบกับรายการลำดับ 7 ของภาคผนวก ตามประกาศของ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ ได้เฉพาะ ในบริการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 ที่กำหนดให้การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย เป็นรายการโทรทัศน์ ที่สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ภายใต้การให้บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปเท่นั้นเป็นกฎที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ศาลเห็นว่า คณะกรรมการ กสทช. มีอำนาจออกประกาศ ที่พิพาท ตาม มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ( 6 ) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และถึงแม้ว่า ประกาศดังกล่าว จะเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ฟฟ้องคดีแต่ก็เป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย และประกาศดังกล่าว ดำเนินการโดยไม่เกินความจำเป็น และไม่กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิของผู้ฟ้องคดี นอกจากนี้ การออก ประกาศที่พิพาท มีเจตนารมณ์ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ สาธารณะ กรณีนี้ จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า ประกาศ ที่พิพาท ขัดต่อบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ และผู้ฟ้องคดี มีสิทธิเผยแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณชน ได้แต่เพียงผู้เดียว ในประเทศไทย
ซึ่งประกาศที่พิพาท มิได้จำกัดสิทธิของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวแต่อย่างใด แต่หากวิธีการ หรือช่องทางการเผยแพร่ดังกล่าว มีบทบัญญัติ ของกฎหมายใดควบคุม ผู้ฟ้องคดี ก็ต้องดำเนินการหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คือ พระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 โดยประกาศที่พิพาท มิได้ห้ามมิให้ผู้ฟ้องคดีแสวงหาผลประโยชน์หรือเผยแพร่ทางโทรทัศน์ทั้งหมดแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีที่ประกาศที่พิพาท ขัดต่อ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ( 2 ) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ศาลพิเคราะห์ว่า คดี มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ประกาศที่พิพาท เป็นกฎที่ออกโดย การใช้ดุลยพินิจ โดยชอบหรือไม่ เห็นว่าผู้ฟ้องคดี ได้แสดงความเห็นคัดค้าน ต่อ ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 2 ในระหว่างที่มีการพิจารณา เพื่อจะออกประกาศที่พิพาท การใช้อำนาจในการออกประกาศที่พิพาท จึงต้องคำนึงถึง ผลกระทบต่อผู้ฟ้องคดี ซึ่งมีสิทธิอยู่ก่อนที่จะออกประกาศที่พิพาทด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาร์เอส มีสิทธิ์หาประโยชน์ ในทางพาณิชย์ จากการเผยแพร่ รายการดังกล่าวทางสถานีดทรทัศน์ดาวเทียม ซึ่งเป็นบริการโทรทัศน์ ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ อันเป็นกิจการในเครือเดียวกับกิจการของผู้ฟ้องคดีได้
คณะกรรมการ กสทช. ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงสมควรต้อง กำหนดบทเฉพาะกาล หรือกำหนดมาตรการชดเชย หรือบรรเทาความเสียหายของ ผู้ฟ้องคดีที่มีสิทธิอยู่เดิม
ซึ่งกรณีการกำหนดมาตรการชดเชย หรือบรรเทาความเสียหายนี้ ตามมาตรา 36 แห่ง พระราชบัญญัติ การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นบทบัญญัติ ที่ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 2 ใช้เป็นฐานอำนาจ ในการออกประกาศที่พิพาทได้ แต่ไม่ปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้มีการพิจารณากรณีดังกล่าว ก่อนออกประกาศที่พิพาทแต่อย่างใด
ส่วนกรณีที่มีการเผยแพร่ รายการฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ทางบริการโทรทัศน์ ที่ใช้คลื่นความถี่ ทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับชม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และในการแข่งขัน ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ. 2553 ผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ได้เผผยแพร่ ก็ได้เผยแพร่ทางบริการ โทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่นั้น การได้รับชมรายการฟุตบอลโลก รอบสุดท้ายดังกล่าว ย่อมเป็นไปตามที่ เจ้าของลิขสิทธิ์ในขณะนั้น จะพิจารณา การได้รับชมดังกล่าว จึงไม่ใช่สิทธิที่มีกฎหมายรับรอง ให้ดำรงอยู่โดยไม่อาจลบล้างได้
ดังนั้น การนำข้อกำหนดตามข้อ 3 ประกอบกับรายการ ลำดับที่ 7 ของภาคผนวก ตามประกาศ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เรื่อง เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ ได้เฉพาะ ในบริการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 ที่กำหนดให้การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย เป็นรายการโทรทัศน์ ที่สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ภายใต้การให้บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปเท่านั้น มาใช้บังคับกับผู้ฟ้องคดี ซึ่งได้รับสิทธิในการแพร่ภาพและเสียงการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ปี ค.ศ. 2014 อยู่แล้ว ในขณะที่ออกประกาศดังกล่าว จึงไม่เป็นธรรม กับผู้ฟ้องคดีและเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีนี้ จึงไม่อาจนำประกาศดังกล่าว มาใช้บังคับกับผู้ฟ้องคดีในคดีนี้ได้ แต่ประกาศดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับ เป็นการทั่วไป กับกรณีอื่นอันเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะอยู่เช่นเดิม
นอกจากนี้ ศาลวินิจฉัย ประเด็นที่ คณะกรรมการ กสทช. อุทธรณ์ว่า กระบวนการในการพิจารณาคดีของศาลปกครองชั้นต้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก ศาลปกครองชั้นต้น ไม่ได้ส่งคำแปลภาษาไทย ของสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างอาร์เอสฯ กับ ฟีฟ่า ให้คณะกรรมการ กสทช. ทราบ และไม่อนุญาตใหห้คณะกรรมการ กสทช. ตรวจสำนวน แต่อนุญาต ให้คัดถ่ายได้ เฉพาะสัญญาฉบับภาษาอังกฤษ โดยไม่อนุญาตให้คัดถ่ายคำแปล แต่ในคำวินิจฉัย ของศาลปกครองชั้นต้น และคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาการบังคับตามประกาศ ที่พิพาท ปรากฏว่าได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับสาระสำคัญ ของสัญญาดังกล่าว ซึ่งเชื่อได้ว่า อาร์เอสฯ ได้ส่งสัญญาดังกล่าวและเอกสารแนบท้าย มากกว่าที่ศาลอนุญาตให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 คัดถ่าย เป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 55 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 นั้น
เห็นว่า คดีนี้ศาลปกครองชั้นต้น พิพากษาเพิกถอน ประกาศ ของ กสทช. โดยวินิจฉัยว่า ประกาศดังกล่าวมีเนื้อหาขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งไม่ว่าการที่ศาลปกครองชั้นต้น ไม่ได้ส่งคำแปล ภาษาไทย ของสัญญาการอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างอาร์เอสฯ กับ ฟีฟ่า ให้ คณะกรรมการ กสทช. ทราบ และไม่อนุญาตให้คัดถ่ายคำแปล จะเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 55 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ดังที่ คณะกรรมการ กสทช. อ้างหรือไม่ก็ตาม
“กรณีดังกล่าว ไม่เป็น สาระสำคัญ ที่จะทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่มีเหตุอันสมควร ที่จะต้องยกคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เพื่อให้พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ แต่อย่างใด"
ดังนั้น การนำข้อกำหนดตาม ข้อ 3 ประกอบกับรายการลำดับ 7 ของภาคผนวก ตามประกาศของ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ ได้เฉพาะ ในบริการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 ที่กำหนดให้การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย เป็นรายการโทรทัศน์ ที่สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ภายใต้การให้บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปเท่านั้น มาใช้บังคับการอาร์เอสฯ ซึ่งได้รับสิทธิในการแพร่ภาพและเสียง การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ปี ค.ศ. 2014 อยู่แล้ว ในขณะที่ออกประกาศดังกล่าว จึงไม่เป็นธรรมกับ อาร์เอสฯ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีนี้ จึงไม่อาจนำประกาศดังกล่าว มาใช้บังคับกับผู้ฟ้องคดีในคดีนี้ได้
แต่ประกาศดังกล่าว ยังคงมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป กับกรณีอื่น อันเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะอยู่เช่นเดิม การที่ศาลปกครองชั้นต้น พิพากษาให้เพิกถอน ข้อ 3 ประกอบกับรายการลำดับ 7 ของภาคผนวก ตามประกาศของ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ ได้เฉพาะ ในบริการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555เฉพาะในส่วนที่มีผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลที่ได้ทรงไว้โดยชอบแล้วก่อนมีการออกประกาศดังเช่นกรณีของอาร์เอสฯ นี้ ทั้งนี้ โดยให้การเพิกถอน มีผลย้อนหลัง นับตั้งแต่วันที่ประกาศดังกล่าว มีผลใช้บังคับ
ศาลปกครองสูงสุด เห็นพ้องด้วยบางส่วน เนื่องจากคำพิพากษา ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลอื่นดังกล่าว เป็นการพิพากษา เกินคำขอ
พิพากษาแก้ให้เป็นเพิกถอน ข้อ 3 ประกอบกับรายการลำดับ 7 ของภาคผนวก ตามประกาศของคณะกรรมการ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ ได้เฉพาะ ในบริการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 โดยกำหนดเงื่อนไขให้การเพิกถอนมีผลเฉพาะแก่ผู้ฟ้องคดี ในการแพร่ภาพ และเสียงการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ปี ค.ศ. 2014 เท่านั้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ โดยประกาศดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปในกรณีอื่นอยู่เช่นเดิม
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรารายงานว่าคดีดังกล่าว ตุลาการเจ้าของสำนวน ประกอบด้วย
นายประวิตร บุญเทียม ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
นายชาญชัย แสวงศักดิ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
นายนพดล เฮงเจริญ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
นายสมรรถชัย วิศาลาภรณ์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
นายสมชัย วัฒนการุณ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
ส่วนตุลาการผู้แถลงคดี คือ นายวิบูลย์ กัมมาระบุตร