สปสช. หนุนรัฐบาลฟื้นโครงการ 30 บาท
เขียนวันที่
วันเสาร์ ที่ 30 กรกฎาคม 2554 เวลา 00:38 น.
เขียนโดย
สำนักข่าวอิศรา
หมวดหมู่
รองเลขาสปสช.เผยยอดคนใช้บริการบัตรทอง พุ่ง 150 ล้านครั้ง ต่อปี หนุนเก็บค่าบริการในอัตราที่เหมาะสม ด้านผอ.ประชาสัมพันธ์พ้องบพีอาร์ต่ำทำคนไม่รู้จักสิทธิ
วันที่ 29 ก.ค. 54 รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) จัดบรรยายเรื่อง “การใช้สิทธิพื้นฐานด้านหลักประกันสุขภาพ” ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการ สปสช. เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพราว 48 ล้านคน มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 150 ล้านครั้งต่อปี แต่ปัญหาที่ผ่านมาคือ ประชาชนไม่สนใจเรื่องบัตรทอง บางคนไม่รู้ว่าใช้บัตรประชาชนแทนบัตรทองได้ เวลาฉุกเฉินไม่รู้จะทำอย่างไร อยากใช้บริการโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียง ยาบางชนิดแพทย์ไม่จ่ายให้ และบางคนมีสิทธิในโรงพยาบาลใกล้บ้านกลับไม่อยากใช้บริการ
.
ด้านนางชื่นสุข ฤกษ์งาม ผอ.สำนักงานประชาสัมพันธ์ สปสช. กล่าวว่า จากผลสำรวจความคิดเห็นของประชากรปี 2553 พบว่า 66.9% รู้ว่าหากไม่มีสิทธิข้าราชการ และสิทธิประกันสังคม จะมีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพ 33.8% รู้จักสปสช. และ 7% รู้ว่า หากมีปัญหาการใช้บริการสามารถโทรสายด่วน 1330 ที่ผ่านมามีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องแต่ประชาชนจำนวนมากยังขาดความเข้าใจ มีการสอบถามผ่านทางสายด่วน 1330 ปีละกว่า 1 ล้านครั้ง คำถามส่วนใหญ่คือ จะลงทะเบียนได้ที่ไหน ใช้หลักฐานอะไรบ้าง กรณีย้ายบ้านย้ายที่อยู่ควรทำอย่างไร ติดเชื้อ HIV รักษาได้หรือไม่ สะท้อนว่าคนยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบสิทธิหลักประกันสุขภาพอยู่มาก อย่างไรก็ตามส่วนหนึ่งอาจมาจากงบประมาณด้านประชาสัมพันธ์สปสช. มีน้อย ปีละ 30 ล้านบาทในขณะที่องค์กรอื่นจะมีสูงกว่า 100 ล้านบาท
.
จากกรณีที่รัฐบาลใหม่มีแนวคิดจะเก็บเงินค่าบบริการ 30 บาท เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ขณะนี้มีทั้งผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ซึ่งหากรัฐบาลจะนำมาใช้ต้องพิจารณาถึงอัตราที่เหมาะสม ที่ผู้ใช้บริการสามารถจ่ายได้ อาจใช้หลักเกณฑ์การแบ่งตามประเภทผู้ป่วย เช่นผู้สูงอายุ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และผู้ไม่มีเงินจ่าย ก็ไม่ควรเก็บ ซึ่งหากเก็บเงินทุกคนที่ไปใช้บริการจะได้เม็ดเงินสูงถึง 4,000 ล้านบาทต่อปี เมื่อหักในส่วนของผู้ได้รับการงดเว้นออกไป ก็ยังเหลือกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเงินจำนวนนี้สามารถนำไปทำประโยชน์อื่นๆ ได้อีกมาก
ด้านนางชื่นสุข ฤกษ์งาม ผอ.สำนักงานประชาสัมพันธ์ สปสช. กล่าวว่า จากผลสำรวจความคิดเห็นของประชากรปี 2553 พบว่า 66.9% รู้ว่าหากไม่มีสิทธิข้าราชการ และสิทธิประกันสังคม จะมีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพ 33.8% รู้จักสปสช. และ 7% รู้ว่า หากมีปัญหาการใช้บริการสามารถโทรสายด่วน 1330 ที่ผ่านมามีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องแต่ประชาชนจำนวนมากยังขาดความเข้าใจ มีการสอบถามผ่านทางสายด่วน 1330 ปีละกว่า 1 ล้านครั้ง คำถามส่วนใหญ่คือ จะลงทะเบียนได้ที่ไหน ใช้หลักฐานอะไรบ้าง กรณีย้ายบ้านย้ายที่อยู่ควรทำอย่างไร ติดเชื้อ HIV รักษาได้หรือไม่ สะท้อนว่าคนยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบสิทธิหลักประกันสุขภาพอยู่มาก อย่างไรก็ตามส่วนหนึ่งอาจมาจากงบประมาณด้านประชาสัมพันธ์สปสช. มีน้อย ปีละ 30 ล้านบาทในขณะที่องค์กรอื่นจะมีสูงกว่า 100 ล้านบาท