เปิดแนวทางปฏิรูปประเทศไทย “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” (ฉบับเต็ม)
"เปิดทางให้มีรัฐบาลเฉพาะกาล โดยความเห็นพ้องของทกุฝ่าย เพื่อมาบริหาร จัดการทำประชามติและการเลือกตั้ง โดยนายกรัฐมนตรีนำคณะรัฐมนตรีลาออก (หรือนายกรัฐมนตรีปรับคณะรัฐมนตรีทั้งหมดออกและลาออก) ก่อนศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย"
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2557 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้แถลงแผนเดินหน้าประเทศไทย “ปฏิรูปภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ”
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org จึงรวบรวมแนวทางปฏิรูปตามฉบับของ “อภสิทธิ์” ในประเด็นที่น่าสนใจมานำเสนอ
@ เดินหน้าปฏิรูปประเทศทันที
1.เดินหน้าปฏิรูปประเทศทันที สร้างความชอบธรรม กระบวนการ กติกา เพื่อรองรับให้การปฏิรูปมีความต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ผูกมัดและไม่ถกูขดัขวางจากฝ่ายการเมือง ยั่งยืนโดยเป็นไปตามขนั้ตอนของรัฐธรรมนญูและกฎหมายทกุประการ
2.ระหว่างกระบวนการปฏิรูปมีรัฐบาลและสภาที่เป็นไปตามกฎหมาย และเป็นที่ยอมรับของทกุฝ่าย
3.การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเป็นไปโดยเสรีสุจริต เที่ยงธรรม เป็นที่ยอมรับของประชาชน และทุกพรรคการเมืองนำไปสู่การได้สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลตามรัฐธรรมนญู
4.บรรดาคดีความที่มีอยู่ต้องดำเนินการไปตามกระบวนการทางกฎหมายตามหลักนิติรัฐนิติธรรมเท่านั้น
@ ชะลอพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง 20 ก.ค. - ให้กกต.ปฏิรูประเบียบจัดการเลือกตั้ง
5.ขั้นตอน
(1) ขจัดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินหน้าบนความยอมรับของทกุฝ่าย ด้วยการชะลอการตราพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง
(ข้อกฎหมาย : การตราพระราชกฤษฎีการเลือกตั้งไม่มีเงื่อนเวลาที่จะต้องดำเนินการทันที มีเพียงเงื่อนไขให้กำหนดวันเลือกตั้ง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ)
(2) คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการออกระเบียบเพื่อปฏิรูปการบริหาร จัดการการเลือกตั้งสร้างความมั่นใจว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะสามารถจัดการ เลือกตั้งให้เป็นไปโดยสจุริตเที่ยงธรรม โดยเฉพาะในประเด็นการซื้อเสียง การใช้อำนาจรัฐ การหลอกลวง รวมไปถึงการใช้นโยบายประชานิยมที่เสียหายต่อประเทศ
(ข้อกฎหมาย : รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 10 (3) ประกอบกับ มาตรา 53 (5) ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาพ.ศ.2550)
@ ให้เครือข่ายปฏิรูป-กปปส. กำหนดประเด็นปฏิรูปภายใน 30 วัน
(3) เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป (Reform Now Network) ร่วมกับกปปส.เป็น แกนนำในการจัดทำข้อเสนอการจัดตั้งสภาปฏิรูป กำหนดประเด็น ขอบเขตการปฏิรูป โดยมีการจัดลำดับความสาคัญ (เช่น ประเด็นการต่อต้านการทจุริต คอร์รัปชั่น ไม่มีการ นิรโทษกรรม) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิรูป และกรอบเวลาของการปฏิรูปใน แต่ละด้าน โดยใช้เวลาประมาณ 15-30 วัน
(ข้อกฎหมาย : สภาปฏิรูปมิได้มีสถานะเป็นองค์กรด้านนิติบัญญัติจึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนญู)
(4) นำข้อเสนอตามข้อ 3 จัดทำประชามติ โดยการสนับสนุนของทุกพรรคการเมือง ให้ประชาชนให้ความเห็นชอบ สภาปฏิรูป ประเด็นการปฏิรูป และให้งานของสภาปฏิรูปทั้งก่อนและหลังเลือกตั้งมีผลผูกมัดรัฐบาลและสภาหลังการเลือกตั้ง อันเป็น การสร้างความชอบธรรมให้กระบวนการปฏิรูปทงั้หมด (ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 90 วันตามรัฐธรรมนญู)
(ข้อกฎหมาย : การจัดทำประชามติมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนญู มาตรา 165 รองรับ)
(5) ในระหว่างการจัดทำประชามติดังกล่าว จะเป็นการทดสอบความเรียบร้อย ของกระบวนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นต่อไป โดยทุกฝ่ายต้องเอื้ออำนวยความสะดวกให้ ทุกพรรคการเมือง สามารถรณรงค์เกี่ยวกับการปฏิรูปได้อย่างเสรี และสร้างบรรยากาศ การเลือกตั้งที่ปราศจากการขัดขวางและความรุนแรงต่อไป
(ข้อกฎหมาย:ไม่มีประเด็นกฎหมาย)
@ ตั้งรบ.เฉพาะกาลทำประชามติ จี้ “ยิ่งลักษณ์” นำครม.ลาออก
(6) เปิดทางให้มีรัฐบาลเฉพาะกาล โดยความเห็นพ้องของทกุฝ่าย เพื่อมาบริหาร จัดการทำประชามติและการเลือกตั้ง โดยนายกรัฐมนตรีนำคณะรัฐมนตรีลาออก (หรือนายกรัฐมนตรีปรับคณะรัฐมนตรีทั้งหมดออกและลาออก) ก่อนศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย เพื่อให้มีการสรรหานายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีใหม่ ที่ไม่มีนักการเมือง และพรรคการเมือง โดยให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ดำเนินการสรรหาบคุคลที่เป็นที่ยอมรับของทกุฝ่าย
(ข้อกฎหมาย : 1.การลาออกและการปรับคณะรัฐมนตรี เป็นสิทธิอันชอบธรรมของนายกรัฐมนตรี และ เป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนญู มาตรา 182 (2) (6) และเคยมีกรณีเกิดขึ้นในช่วงที่เป็นรัฐบาลรักษาการในอดีต (กรณีนายวิษณุ เครืองาม ปีพ.ศ.2549 ซึ่งมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนญูในขณะนั้นที่เทียบเคียงได้ และกรณีสมัยหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 2.การดำเนินการสรรหานายกรัฐมนตรี เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรา 180 วรรคท้าย 3.การเสนอให้ประธานวุฒิสภาเป็นผ้ดำเนินการสรรหา อยู่บนหลักการของการเทียบเคียง บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ปรับใช้ได้ที่ใกล้เคียงที่สุด เทียบเคียงกรณีหลังเหตุการณ์ 14 ตลุาคม 2516)
(7) รัฐบาลที่ได้มาตามข้อ (6) ไม่มีอำนาจในทางนิติบัญญัติ แต่ไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดของรัฐธรรมนญู มาตรา 181
(ข้อกฎหมาย : ไม่มีประเด็นกฎหมาย)
(8) เมื่อการจัดทำประชามติดำเนินไปเสร็จสิ้นด้วยความเรียบร้อย ให้ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ภายใน 45-60 วัน โดยพรรคการเมืองทุกพรรคและผู้สมัครของพรรคการเมืองหลักทกุคนต้องยืนยัน สนับสนุนการทำงานและข้อเสนอของสภาปฏิรูปหลังการเลือกตั้ง หากไม่ดำเนินการดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการหลอกลวง อันเป็นการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งออกตามข้อ (2) ซึ่งโทษถึงขั้นยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
(ข้อกฎหมาย : เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง และระเบียบที่อ้างในข้อ 2 และมาตรา 237 แห่งรัฐธรรมนญู)
@ จัดเลือกตั้งใหม่ภายใน 1 ปี
(9) รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรหลังการเลือกตั้ง มีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินตามปกติ แต่ต้องนำข้อเสนอการปฏิรูปจากสภาปฏิรูป โดยเฉพาะด้านการปฏิรูปการเมืองดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลา 1 ปี แล้วจัดให้มีการเลือกตั้ง ใหม่
(ข้อกฎหมาย : การผกูมัดรัฐบาลเกิดขึ้นจากผลของการประชามติ ตามมาตรา 165 แห่งรัฐธรรมนญู)
(10) ประเด็นการปฏิรูปอื่น ให้ดำเนินการต่อไปภายหลังการเลือกตั้งในข้อ 9 ตามวิธีการปกติ
(ข้อกฎหมาย : ไม่มีประเด็นกฎหมาย)