ปราบคอร์รัปชั่น : การปฏิรูปที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน
ขณะที่ผมกำลังเขียนเรื่องนี้ กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ซึ่งมีคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็น เลขาธิการ ได้นำประชาชนชุมนุมเพื่อโค่นล้มระบอบทักษิณมาเป็นเวลานานกว่า 5 เดือนแล้ว และใน ขณะที่ชุมนุมก็เริ่มร่างแผนการปฏิรูปประเทศไทย สำหรับใช้หลังจากท่ีระบอบทักษิณถูกโค่นล้มไปแล้วด้วย
ถ้าหากจะดูสภาพของประเทศไทย หลังจากที่ถูกระบอบทักษิณครอบครองมาประมาณ 10 ปี ก็จะเห็นว่าเมืองไทยมีอาการเหมือนคนไข้ที่ป่วยด้วยหลายโรคที่รุนแรงและเรื้อรังด้วย ยากที่หมอจะตัด สินใจได้ว่าควรรักษาโรคไหนก่อน
โรคหนึ่งคือโรคข้าราชการหาประโยชน์โดยทุจริต หรือที่เรียกทับศัพท์ฝรั่งติดปากว่าคอร์รัปชั่น
ที่จริงการหาประโยชน์โดยทุจริตนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แต่กับข้าราชการเท่านั้น คนธรรมดาทั่วไปก็ เป็นได้ โดยทำแต่ลำพัง หรือสมรู้ร่วมคิดกับข้าราชการที่หาประโยชน์โดยคอร์รัปชั่น
สำหรับข้าราชการ เรามีกฎหมายที่ใช้กับความผิดประเภทนี้อยู่แล้วคือประมวลกฎหมายอาญา หมวด 2 ที่ว่าด้วยความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยเฉพาะในมาตรา 148 ซึ่งบัญญัติว่า
“ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบ ให้หรือหามาให้ ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึง ยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต”
นอกจากนั้น ในมาตรา 149 ยังบัญญัติไว้ด้วยว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติ แห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียกรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ หรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต”
นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีกฎหมายฉบับอื่น ๆ อีกที่ใช้บังคับในกรณีท่ีมีการสม รู้ร่วมคิดกันเพื่อหาประโยชน์โดยทุจริต เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ในมาตรา 4 ซึ่งออกเพื่อลงโทษผู้ที่ร่วมกันเสนอราคา (หรือฮั้ว) เพื่อให้ตน หรือผู้อื่นได้รับสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือ โดยกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐ หรือโดยการเอาเปรียบแก่หน่วย งานของรัฐ ที่ไม่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ ผู้กระทำความผิดตามกฎหมายนี้ ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี และปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุด ในระหว่างผู้ ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่จำนวนใดจะ สูงกว่ากัน
จะเห็นว่าเมืองไทยมีกฎหมายสำหรับใช้ลงโทษแก่ผู้ที่มีความผิดคอร์รัปชั่นอยู่แล้วพอสมควร ทั้งแก่ข้าราชการและแก่ผู้ที่ไม่ใช่ข้าราชการ แต่ที่น่าสังเกตก็คือ แม้กฎหมายจะบัญญัติโทษฐานคอร์รัป ชั่น เอาไว้รุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต แต่ก็ยังไม่เคยปรากฏว่าศาลพิพากษาลงโทษจำเลยถึงเพียงนั้น เท่าที่ ปรากฏมาแล้ว ศาลลงโทษเพียงแค่จำคุกจำเลยเท่านั้น จำเลยรับโทษอยู่ไม่กี่ปีก็ได้รับการปล่อยตัว ออกมาเป็นอิสระ
ในต่างประเทศบางประเทศ เช่น ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งมีกฎหมายที่บัญญัติ โทษรุนแรงเช่นเดียวกัน และศาลลงโทษจำเลยหนักถึงขั้นประหารชีวิต แม้ทรัพย์ที่เกี่ยวข้องจะมีมูล ค่าน้อย เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านไปนี้เอง กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการพัฒนาเวียดนามถูกศาล พิพากษาประหารชีวิต เพราะร่วมกับจำเลยอื่นอีก 12 คน อนุมัติเงินกู้โดยมิชอบเป็นจำนวน 89 ล้าน ดอลล่าร์ (ประมาณ 2,848 ล้านบาท) ผู้จัดการธนาคารคนนี้ได้รับรถยนต์บีเอ็มดับเบิ้ลยูคันหนึ่ง แหวน เพชรวงหนึ่ง และเงินสดอีก 5.5 ล้านดอลล่าร์ (ประมาณ 176 ล้านบาท) เป็นการตอบแทนการทุจริต ของตน
การประหารชีวิตในเวียดนามนั้นยังทำด้วยการใช้ปืนยิงจำเลยให้ตาย การยิงกระทำโดยเจ้าหน้า ที่ราชทัณฑ์ 5 ถึง 7 คน ก่อนประหารชีวิตเจ้าหน้าที่จะเอามะนาวยัดปากจำเลย เมื่อยิงเป้าแล้ว และจำ เลยกำลังจะขาดใจตาย เจ้าหน้าที่คนหนึ่งจะส่งวิญญาณด้วยการยิงซ้ำด้วยปืนพกเข้าที่หูของจำเลย เพื่อ ให้แน่ใจว่าตาย จริง ๆ
การปฏิรูปการปราบปรามคอร์รัปชั่นสำหรับเมืองไทยคงจะไม่ต้องกระทำอย่างโหดเหี้ยมถึง เพียงนั้น แต่ถ้าศาลจะพิพากษาประหารชีวิตจำเลยเสียบ้าง แทนที่จะปรานีลดอัตราโทษให้อย่างที่แล้ว ๆ มา คอร์รัปชั่นในเมืองไทยอาจจะลดน้อยลง และบ้านเมืองอาจจะสะอาดขึ้นมากกว่านี้ก็เป็นได.้
ขอบคุณภาพประกอบจาก : http://www.manager.co.th/