คำต่อคำ"พรเพชร" vs "พงศ์เทพ" แจงศาลรธน. เลือกตั้ง 2ก.พ.โมฆะหรือไม่
"การเลือกตั้งมีปัญหาเฉพาะบางเขต แล้วเราล้มเลือกตั้งทั้งประเทศ มันจะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นอีกกี่ครั้ง อำนาจในการจัดการเลือกตั้งอีก 28 เขต กกต.ทำได้ตามรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่ได้มีปัญหา ผมเชื่อว่าหากองค์กรทุกองค์กรที่เกี่ยวทำหน้าที่ตรงไปตรงมา การเลือกตั้งไม่มีปัญหา"
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 19 มีนาคม 2557 ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาคำร้องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้วินิจฉัยว่า การจัดการเลือกตั้งส.ส. เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้ตรวจการแผ่นดิน ในฐานะผู้ร้องเข้าชี้แจง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ถูกร้อง เข้าชี้แจง และนายศุภชัย สมเจิรญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เข้าชี้แจง
พรเพชร : ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจในการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการเลือกตั้ง 2 ก.พ. เพราะหลายหน่วยเลือกตั้งมีการเลือกตั้งที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้หลักกฎหมายที่ใช้นับคะแนนเสียงเลือกตั้งก่อให้เกิดการไม่สุจริต มีการนับคะแนนโดยเปิดเผยที่หน่วยเลือกตั้ง การเลือกตั้งหากจะทำให้สำเร็จต้องมีปัญหาตามมา
การเลืกอตั้งดำเนินการได้ไม่ครบทุกเขต และการเลือกตั้งซ่อมสำเร็จลุล่วงเพียงเล็กน้อย ยังมีปัญหาที่มองไม่เห็นว่าจะสำเร็จได้ตาม 180 วัน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้หรือไม่
นอกจากนี้นายกฯได้ออกประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อออกแล้วประธานกกต.ออกมาเตือนว่าการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งออกก่อนการเลือกตั้ง 2 สัปดาห์ อาจจะเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบขึ้น
ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญต้องคำถึง เช่น การเลือกตั้งเกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งรุนแรง มีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย จะนำไปสู่คดีความเยอะแยะ หากไม่ตัดไฟเสียตอนนี้ คงมีแต่รัฐบาลรักษาการ ทำงานด้วยความลำบาก ทำงานด้วยความเสี่ยงว่าจะผิดกฎหมายตลอดเวลา
อาจจะมีคำถามว่ากกต.จะจัดการเลือกตั้งให้เสร็จได้ แต่ผมคิดว่าไม่มีหลักประกันว่าจะสำเร็จ จึงเสนอว่าเป็นวิกฤตการเมือง การเลืกอตั้งเป็นกลไกสำคัญที่สุด เป็นปัยหาที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาลรัฐธรรมนูญ ต้องวิเคราะห์ถึงสิทธิทางกฎหมาย
ด้านเศรษฐกิจ มีข้อสังเกตท้วงติงปัญหาข้อใช้จ่าย ถ้าปล่อยให้การเลือกตั้งที่ล้มเหลวเดินหน้าต่อไป และปล่อยให้รัฐบาลรักษาการอยู่ถึงไตรมาส 2 จะกระทบต่อจีดีพีของประเทศ
ปัญหาทางสังคม มีต้นทุนที่สูงมาก มีผู้คนเสียชีวิตบาดเจ็บจำนวนมาก ผู้คนแตกแยก ถ้าไม่ใช่เพื่อนหรือญาตก็ทำร้ายกัน ในเมื่อเราไม่มีทางออกทางอื่นนอกจากจะใช้วิถีทางตามรัฐธรรมนูญ การจัดการเลือกตั้งในสถานการณ์ที่จำกัด ผมเชื่อว่ากกต.อยู่ในวิสัยที่สามารถจัดให้การเลือกตั้ง ได้บุคคลดีมาบริหาร ปฏิรูปบ้านเมือง ตามที่เขามีความคิด ผมคิดว่าการเลือกตั้งเป็นคำตอบสำคัญตามระบอบประชาธิปไตย กระผมพูดได้เพียงว่าขอให้เราช่วยกันพิจารณาที่ให้มีการเลือกตั้งที่เป็นธรรม ชอบด้วยกฎหมาย ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
จรัญ ภักดีธนากุล : ผมอยากเรียนถามว่าในความคิดเห็นและข้อมูลของผู้ตรวจการแผ่นดินจะตอบปัญหาอย่างไรว่าเหตุการณ์ในข้างหน้าจะมีทางป้องกันและแก้ไขอย่างไร
พรเพรช : ถ้ารัฐบาลและกกต.สามารถจัดการเลือกตั้งที่เป็นระบอบที่ทำให้การเลือกตั้งสุจริตและเที่ยงธรรม โดยมองที่ระบบเป็นสำคัญ อย่าง 28 เขต ที่ไม่มีการเลือกตั้ง มันทำให้เสียหายทั้งระบบ
พงศ์เทพ : ต้องยอมรับว่ารัฐบาลทำคำชี้แจงมาไม่ทัน เพราะมีเวลาน้อยมาก
จรัญ : ศาลพิจารณาคำร้องเร็ว เพราะต้องการ ถ้าช้าไปก็จะปล่อยให้ดำเนินการที่ปล่อยให้ไม่เกิดประโยชน์ ถ้าเราวินิจฉัยปัญหานี้ให้กับสังคมทันเวลา มันอาจจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม ไม่ได้เร่งรัดเวลา ถ้ายังติดใจอะไรทำมาได้ในภายหลัง วันนี้มีอะไรทำมาแล้ว ก็นำมาชี้แจง
พงศ์เทพ : ในคำร้องของผู้ตรวการแผ่นดิน มีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ในส่วนข้อเท็จจริงอยู่ในความรับรู้ของกกต. ซึ่งเชื่อว่าศาลคงกรุณาให้กกต.ชี้แจงเพิ่มเติม แต่ผมจะขอหยิบยกบางประการ
1.ในส่วนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคดีก็เป็นอำนาจที่จะรับคดี ซึ่งในมาตรา 245 (1) มีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ได้ร้องว่าพ.ร.ฎ.ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และพ.ร.ฎ.ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกประการ จึงไม่เข้ามาตรา 245 (1) ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงไม่สามารถส่งเรื่องมายังศาลรัฐธรรมนูญได้เลย
2.คดีการเลืกอตั้งเป็นเรื่องศาลฎีกา จึงควรต้องไปที่ศาลฎีกา ที่มีอำนาจรับเรื่องการเลือกตั้ง
3.ถ้าศาลรัฐธรรมนูญคิดว่าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่สามารถส่งเรื่องนี้มาก็ได้ก็จบกัน
ส่วนที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้มีการเลือกตั้ง 2 ก.พ. แล้วกกต.พยายามดำเนินการจัดการเลืกอตั้งในวันที่ 2ก.พ. เหตุที่มีเขตเลือกตั้งไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ จัดการเลือกตั้งไม่ได้ เพราะมีผู้ไปขัดขวางการเลือกตั้ง ในกรณีที่มีอุปสรรคทำให้กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งในบางเขตหลังวันที่ 2 ก.พ. จะขัดรัฐธรรมนูญที่ว่าต้องจัดการเลือกตั้งวันเดียวกันทั้งหมดหรือไม่ ผมคิดว่าไม่ขัด เพราะในรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้สามารถจัดการเลือกตั้งหลังจากนั้นได้
และกรณีที่กกต.ให้ใบเหลืองก็ต้องเลือกตั้งใหม่ ซึ่งทำกันมาหลายครั้ง ก็ไม่เคยมีใครเห็นว่าเป็นปัญหาว่าวันเลือกตั้งไม่เป็นวันเดียวกัน เพราะถ้าเห็นว่าการเลือกตั้งที่กกต.ให้ใบเหลืองไม่เป็นวันเดียวกัน ประเทศไทยคงไม่มีการเลือกตั้งกันเลย เพราะจะไม่มีการเลือกตั้งที่สำเร็จได้เลย
ส่วนที่บอกว่า 28 เขต ไม่มีผุ้สมัคร ความจริงแล้วมีผู้อยากสมัคร แต่ไปสมัครไม่ได้ เพราะมีการขัดขวาง การเลือกตั้งล่วงหน้าใน 28 เขต ก็ไม่มี ดังนั้นจะบอกว่าใน 28 เขต จะมีการรู้คะแนนล่วงหน้าคงไม่มี เพราะไม่มีการเลือกตั้งเลย
ในส่วนของอำนาจจัดการเลือกตั้ง กกต.มีส่วนรับผิดชอบ รัฐบาลไม่มีหน้าที่อะไร ในพ.ร.ฎ.ให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ผู้รักษาการคือประธานกกต.ผู้เดียว นายกฯถึงแม้จะเป็นผู้รักษาการในพ.ร.ฎ.ครั้งนี้ เพราะเป็นการยุบสภา แต่การรับผิดชอบจัดการเลือกตั้งไม่เกี่ยวกับนายกฯเลย
ส่วนการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ได้เป็นอุปสรรคที่จะชุมนุมเกี่ยวกับการหาเสียงการเลือกตั้ง และเท่าที่ทราบไม่มีผู้สมัครคนใด ร้องว่าการออกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไปร้องว่าทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม
การทำให้การเลือกตั้งที่ใกล้เสร็จอยู่แล้ว สั้นกว่าการจัดการเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด เหตุการณ์ที่ไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง อาจจะเกิดขึ้นอีก หากมีการเริ่มกระบวนการใหม่ ถ้าเราเริ่มกระบวนการใหม่ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินต้องการ เราต้องเผชิญปัญหากันใหม่ จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจแน่นอน เพราะกว่าจะได้รัฐบาลใหม่อาจจะเดือนมิถุนายน-ตุลาคม
การเลือกตั้งมีปัญหาเฉพาะบางเขต แล้วเราล้มเลือกตั้งทั้งประเทศ มันจะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นอีกกี่ครั้ง อำนาจในการจัดการเลือกตั้งอีก 28 เขต กกต.ทำได้ตามรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่ได้มีปัญหา ผมเชื่อว่าหากองค์กรทุกองค์กรที่เกี่ยวทำหน้าที่ตรงไปตรงมา การเลือกตั้งไม่มีปัญหา
สุพจน์ ไข่มุกด์ : คิดว่าการเลือกตั้งใหม่ หรือจัดเลือกตั้งให้เสร็จสิ้น จะทำให้ปัญหาสิ้นสุดหรือไม่
พงศ์เทพ : การเลือกตั้งซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในระบบประชาธิปไตย เมื่อมีการยุบสภาก็ต้องเลือกตั้งทั่วไป ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย ถามว่าเมื่อมีการเลือกตั้งแล้วปัญหาจะยุติหรือไม่ มันไม่ได้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งอย่างน้อยทำให้ประชาชนแสดงความต้องการของเขา ผมเห็นด้วยว่าการเลือกตั้งไม่ได้ยุติความขัดแย้ง แต่เป็นกลไกสำคัญของประชาธิปไตย ถ้าเราถือว่าประชาชนเป็นส่วนสำคัญแล้ว เราต้องจัดการเลือกตั้ง
หลังวันเลือกตั้ง 2 ก.พ. แล้ว ปัญหาการขัดขวางการเลือกตั้งมันลดลง แต่ถ้าเริ่มกระบวนการใหม่หมด ผมไม่แน่ใจว่าปัญหาจะเกิดขึ้นหรือไม่
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ : มีการขอขยายเวลารับสมัครให้ครบเขตก่อนหรือไม่ เพราะถ้าสมัครไม่ครบการเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่ได้
พงศ์เทพ : ผู้ที่จะตอบได้ดีที่สุดคือประธานกกต. ซึ่งผมได้ขอเข้าพบกกต.ก่อนวันที่ 2 ก.พ. แล้ว และผมได้เสนอว่าเขตที่มีปัญหาเลือกตั้ง ผอ.เขตเลือกตั้งจะประกาศให้รับสมัครที่ไหนก็ได้ สามารถประกาศรับสมัครนอกเขตก็ได้ แต่กกต.อาจจะคิดอีกแบบจึงไม่มีการดำเนินการ และเมื่อพ้นกำหนดรับสมัครแล้ว กกต.สามารถประกาศขยายได้ แต่กกต.ไม่ประกาศขยาย
จรัญ : ใน 28 เขต ที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ที่บอกว่ากกต. อ้างกฎหมายมาตราไหน
พงศ์เทพ : เราเทียบเคียงกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนเดียวแล้วขาดคุณสมบัติ กรณีที่ผู้รับสมัครได้รับคะแนนไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ พ.ร.บ.การเลือกตั้งให้กกต.รับสมัครใหม่ กรณีนี้ใช้กฎหมายเดียวกันเทียบเคียงได้
จรัญ : แต่ว่ากรณีนั้นมีผู้สมัครแล้ว การจัดการเลือกตั้งได้ทำแล้ว แล้วมันมีข้อกรณียกเว้นกฎหมายที่จะเทียบเคียงที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัย เพราะเป็นของใหม่ แต่ว่าไม่มีกฎหมายบทไหนใช่หรือไม่ ที่เปิดช่องให้กกต.จัดการเลือกตั้งใหม่ โดยไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเลย
พงศ์เทพ : ในกรณีกฎหมายเราใช้การเทียบเคียง การใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนคลุมไว้หมด กรณีตรงนี้ก็เหมือนกัน ผู้สมัครเข้ารับสมัครไม่ได้ ไม่ใช่ความผิดของผู้สมัคร เราเลยบอกว่าการเลืกอตั้งทั่วประเทศกลายเป็นเสียทั้งหมด ถ้าในเขตมีผู้สมัครแค่คนเดียวแล้วเสียชีวิต เราจะล้มเลือกตั้งทั้งหมดหรือ
จรัญ : ในเชตเลือกตั้ง 28 เขตที่มีปัญหามีผู้มาสมัครกี่คน และได้หาทางขยายให้ผู้รับสมัครแล้วสมัครไม่ได้เพราะมีเหตุขัดข้อง กกต.ได้ขยับขยายให้สมัครให้ได้ตามอำนาจที่มีอยู่หรือไม่
พงศ์เทพ : ในประเด็นที่ว่ากกต.ได้ทำอย่างไรหรือไม่ ประธานกกต.คงให้ข้อมูลได้ดีกว่า แต่ใน 28 เขตเลือกตั้ง เป็นเขตเลืกอตั้งที่สามารถจัดการเลือกตั้งกันใหม่โดยไม่มีปัญหาอะไร เพราะไม่มีใครรู้คะแนนกันก่อน เพราะยังไม่มีการเลือกตั้ง
ทวีเกียรติ : รัฐบาลจะบอกได้หรือไม่ว่าป้องกันเหตุนั้นไม่ได้ ที่ทำให้ 28 เขต เลือกตั้งไม่ได้ เพราะมีผู้ไปก่อกวน
พงศ์เทพ : อำนาจจักการเลือกตั้งเป็นของกกต. รัฐบาลพยายามทำอย่างดีที่สุดในการสนับสนุนกกต. แต่ก็คำนึงคำวินิจฉัยของศาลทั้งหมด ซึ่งบางครั้งคำวินิจฉัยของศาล ก็ไม่สามารถทำให้รัฐบาลทำงานได้ตามปกติ เช่น ที่ศาลบอกว่าไม่ให้ไปสลายการชุมนุม ทำให้กลไกที่รัฐบาลจะทำได้มีข้อจำกัด กกต.มีอำนาจสั่งให้หน่วยงานดำเนินการใดๆก็ได้ สั่งทหารได้ สั่งตำรวจได้ กกต.สามารถสั่งได้โดยตรง และรัฐบาลก็พยายามประสานให้ แต่การจัดการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ทั้งหมดเป็นของกกต. บางเขตผู้สมัครเข้าไปในพื้นที่รับสมัครได้แล้ว แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่กกต. รัฐบาลก็จนใจ
จรูญ อินทจาร : อำนาจการรักษาความสงบเรียบร้อยของรัฐที่จะให้ความร่วมมือกับกกต. กรณีนี้จะถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐด้วยหรือไม่
พงศ์เทพ : คนที่ต้องรับผิดชอบที่สุดคือคนขัดขวางการเลือกตั้ง กกต.และรัฐบาลพยายามทำในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างดีที่สุด ที่จะทำให้การขัดขวางไม่เป็นอุปสรรค
ต่อมานายศุภชัย ชี้แจงว่า กกต.เห็นว่าการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ไม่ได้มีกรณีใดเป็นการกระทำขัดบทบัญญัติกฎหมาย อีกทั้งการดำเนินการจัดการเลือกตั้งของกกต. ได้เปิดโอกาสและอำนวยความสะดวกให้ผู้รับการเลือกตั้งมีสิทธิและความเสมอภาคทุกกรณี ไม่ได้ชัดต่อกฎหมายเลือกตั้งตามที่ผู้ร้องกล่าวหา
และผู้ร้องไม่มีอำนาจส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 1.กกต.ไม่ได้ออกกฎระเบียบที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่เข้าตามมาตรา 145 (1) 2.ผู้ร้องไม่ได้เปิดโอกาสให้กกต.และผู้เกี่ยวข้องชี้แจง ซึ่งฝ่าฝืนมาตรา 35 ตามพ.ร.บ.ผู้ตรวจการแผ่นดิน เหตุผลที่กกต.กราบเรียนจึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดยกคำร้อง
อนุรักษ์ มาประณีต : ทำไมรัฐบาลและกกต.หารือกันแล้วถึงไม่เลื่อนเลือกตั้ง ทำไมกกต.ต้องเชื่อรัฐบาล
ศุภชัย : ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้กกต.หารือกับรัฐบาล ซึ่งนายกฯและครม.บอกว่าศาลรัฐธรรมนูญแทงกั๊กจะให้ทำไรก็ไม่ทำ มีบางท่านบอกว่าอย่าลากนายกฯผมไปติดคุก การออกพ.ร.ฎ.นั้น กกต.ไม่สามารถออกเองได้ เมื่อเราไม่สามารถเลื่อนเลือกตั้งได้ เราต้องดำเนินการเลือกตั้งตามกฎหมาย นี่ขนาดจัดการเลือกตั้งยังโดนฟ้องร้องเลย เราจัดเรายังโดน ถ้าเราไม่จัดเลือกตั้งเราเสร็จเลย