เวทีปฏิรูปรัฐบาลส่วนใหญ่หนุนเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57
รัฐบาลเปิดเวทีหาทางออกให้ประเทศ ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 ด้านนักวิชาการแนะปฏิรูปต้องทำทั้งระยะสั้น-ยาว ขณะที่ปลัดกระทรวงกลาโหมย้ำเจตนารมณ์กองทัพไทยมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
วันที่ 15 ธันวาคม 2556 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติติ์ นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ประสานงาน จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น หัวข้อ "ประเทศไทยของเราจะไปทางไหน" โดยมีนักวิชาการด้านกฎหมาย นักสันติวิธีและตัวแทนจากองค์กรหลายภาคส่วนเข้าร่วม แต่ไร้เงาตัวแทนคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศ ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) โดยใจความสำคัญตอนหนึ่งของการเสวนามีการเสนอถึงแนวทางการปฏิรูปประเทศทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ กล่าวว่าภายหลังการเจรจาวานนี้ตนรู้สึกเชื่อมั่นและมีความหวังกับกองทัพมากขึ้นที่สนับสนุนการเลือกตั้ง เพราะหากการเลือกตั้งไม่เกิดขึ้น ตนขอเตือนว่าสังคมเรากำลังก้าวไปสู่ภาวะอันตรายมากยิ่งขึ้น เพราะอาจจะนำไปสู่บรรทัดฐานที่เกิดการอ้างให้เลื่อนการเลือกตั้งได้ต่อไปอีกในอนาคต หากนักการเมืองกลุ่มใดเห้นว่าการเลือกตั้ง เป็นคุณกับพรรคตน
นายวีรพัฒน์ กล่าวว่า ดังนั้น ตนขอเสนอ แนวหลัก 2 ประการ ภายใต้เจตนารมณ์ที่สนับสนุนให้มีการเลือกตั้ง ในวัน ที่2 กุมภาพันธ์นี้ โดยเสนอให้มีการปฏิรูป 2 ประการ คือประการแรก การปฏิรูปในระยะสั้น หรือระยะเฉพาะหน้าที่ทำได้เลยคือพรรคการเมืองต้องลงสัตยาบรรณ ว่าวันที่ 2 กุภาพันธ์นี้ ไม่ใช่การเลือกตั้งปรกติ แต่เป็นการเลือกตั้งเฉพาะกิจ ที่ต้องลงสัตยากรรณให้ยุบสภาภายใน 2 ปี ห้ามอยู่ครบ 4 ปี
“รัฐบาลที่เกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ จะไม่ใช่รัฐบาลปกติที่ทำนโยบายประชานิยม แต่ต้องยุบสภาภายใน 2 ปี ดังนั้น การหาเสียงต้องไม่ใช่การหาเสียงปรกติ ไม่ใช่การหาเสียงด้วยประชานิยม” นายวีรพัฒน์กล่าว
นายวีรพัฒน์ กล่าวว่าถ้าหากมีความกังวลว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะไม่ยุติธรรม ก็ใช้สิทธิ์ตามมาตรา 10 ของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจ กกต. อย่างมหาศาล ดังนั้น กกต. มีอำนาจในการกำหนดข้อห้ามต่างๆ ในการเลือกตั้ง และหากพบว่าพรรคใดทำผิดกฎ กกต. พรรคนั้นก็มีสิทธิ์โดนยุบพรรค นอกจากนี้ ผู้ที่กลัวว่าการเลือกตั้งจะไม่ยุติธรรม ก็สามารถชิสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 25 ที่เปิดช่องทางให้องค์กร ภาคเอกชนต่างๆ เสนอเป็นผู้ช่วย กกต. ได้
ทั้งนี้ นายวีรพัฒน์ ยังกล่าวถึงการเสนอการปฏิรูปเฉพาะหน้าว่า กปปส. โปรดเปลี่ยนมวลมหาประชาชนเป็นมวลมหาอาสาสมัครประชาชนให้ กกต. รับรอง แม้แต่ นปช. หรือองค์กรไหน ก็เข้าไปตรวจสอบได้และดีงองค์กรสหประชาชาติ ให้เข้ามาร่วมสังเกตุการณ์การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้
ด้าน นายเจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า ทางออกนั้นมีเพรารัฐธรรมนูญ ทุกๆ มาตรา หากตีความตามถ้อยคำตัวอักษรก็จะตีความได้อย่างหนึ่งและหากตีความตามเจตนารมณ์ก็จะได้อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งในความเห็นตน การออกกฎหมานทุกมาตรานั้น ออกมาเพื่อให้กฎหมายสามารถบังคับใช้ได้ทุกมาตรา ถ้าหากมีมาตราใดไม่ได้ก็ต้องไข และคนในสังคมควรต้องทำความเข้าใจร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญคืออะไร สิ่งที่เราควรทำความเข้าใจร่วมกันคืออะไร
ขณะที่ นายยุทธพร อิสระชัย คณบดีคคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่าตนเห็นด้วยกับการเลือกคั้ง แต่ก็ควรมีเวทีเสวนาเรื่องการปฏิรูป แต่การปฏิรูปทุกๆ ครั้งที่ผ่านมาไม่สัมฤทธิ์ผล เพราะโจทย์การปฏิรูปที่ทำกันมานั้น มันล้าสมัย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ออย่างแท้จริง เปรียบเสมือนอุตสาหกรรมการปฏิรูป ตนจึงเสนอแนะว่าการปฏิรูปนับจากนี้ ไม่ควรตั้งโจทย์ที่ยากเกินไป และควรเป็นไปได้จริง โดยควรเน้น 2 ส่วน คือการปฏิรูประยะสั้น เน้นการแก้ปัญหาความขั้ดแย้งในตอนนี้ ที่ต้องใช้การปรองดองในระดับชุมชน และในระดับครอบครัว ควรแยกพื้นที่ส่วนตัวออกจากการแสดงความเห็นในพื้นที่สาธารณะ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการปฏิรูปประเทศในระยะยาว ซึ่งตนเห็นด้วยกับการจัดให้มีเวทีเจรจาหาทางออกจากความขัดแย้ง เช่นวันนี้
นายยุทธพร กล่าวอีกว่า ประเทศไทยควรมีการปฏิรูปใน 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วน ที่ 1. คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพื่อให้ประชาชนทุกระดับในสังคม มาแก้ไขร่วมกัน ตกลงกันในส่วนของโครงสร้าง รวมถึงร่วมกันออกแบบเรื่องการตรวจสอบทั้งในส่วนขององค์กรอิสระและศาล เพราะมีการตรวจสอบต่างกัน และเน้นเรื่องที่มาของ สส. สว. รวมถึงการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และระบบที่รัฐต้องให้การคุ้มครอง รวมถึงการเสริมสร้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อประชาธิไตย และเน้นเรื่องการรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนในเรื่องของการขัดแย้งทางความคิดและทางการเมือง ส่วนหลักๆ ที่ตนเห็นว่าควรแก้ไขคือเรื่องความปัญหาเหลือมล้ำ ปัญหาความขัดแย้งในประเด็นต่างๆ ของสังคม เพราะถ้าพูดคุยกันเฉพาะประเด็นทางการเมือง จะไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย หรือถ้าเป็นการพูดคุยที่เป็นการสกัดกั้นกลุ่มคนบางกลุ่ม ก็จะไม่ช่วยแก้ปัญหาอะไรได้
ส่วน นายโสภณ ซารัมย์ ตัวแทนจากพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ตนสนับสนุนการเลือกตั้ง วันที่ 2 ก.พ. ก่อนเสนอความเห็นเรื่องการปฏิรูปประเทศว่าถ้าคนในวันนี้รู้สึกว่าประเทศเราป่วย ถึงขั้นต้องรักษาด้วยวิธีพิเศษแล้ว ตนก็อยากให้ คนในสังคมไทยช่วยกันอย่างจริงจังให้ประเทศนี้รอดพ้นจากวิกฤติไปได้ ดังนั้น ถ้าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในครั้งนี้ คิดว่าปัญหาเดิมจะไม่มีหรือ ดังนั้น ตนเห็นว่าต้องปฏิรุปการเมือง และนักการเมืองต้องช่วยกันดับปัญหานี้
“ผมว่ากลไกราชการพอไปได้แล้ว แต่ถ้าได้นักการเมืองที่แย่หน่อยมันก็ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ดังนั้น ในสถานการณ์แบบนี้ พรรคภูมิใจไทยเราเดินสายกลาง แต่มีจุดยืนคือความสงบของประเทศชาติ” นายโสภณกล่าว
นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่าการจะปฏิรูปประเทศนั้น ต้องเริ่มที่การรักษากฎหมายก่อน ต้องเริ่มที่การเคารพกติกา ส่วนประการที่ 2 ถ้าจะปฏิรูปการเมืองแล้วจะปฏิเสธนักการเมือง ปฏิเสธพรรคการเมืองให้ออกไปนอกวงนั้นจนไม่เห็นด้วย
ด้าน นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง กล่าวว่า สถานการณ์ตอนนี้ ได้กระตุ้นให้ประชาชนก้าวเข้ามามีบทบาทติดตาม สถานการณ์และปัญหาทางการเมือง โดยที่ตนนั้นให้ความเคารพกับประชาชนทุกสี ทุกฝ่ายที่ได้เข้ามาร่วมเรียกร้องประชาธิปไตยบนท้องถนน ตนเคารพทุกสี ทุกฝ่ายบนท้องถนน แต่ทุกวันนี้ ปัญหาคือ เมื่อเปรียบคุณภาพของพรรคการเมืองแล้วมีน้อยลง ขณะที่คุณภาพของประชาชนนั้นมีเพิ่มขึ้น
“ผมจะบอกว่าคุณภาพทางการเมืองของประชาชนนั้นเพิ่มขึ้น ขณะที่คุณภาพของนักการเมือง น้อยลงทุกปี การปฏิรูปครั้งนี้ ต้องทำให้การเมืองและนักการเมือง พัฒนาเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนไม่ใช่พรรคของนายทุน และพรรคของนักการเมืองแต่ท่านต้องเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน ท่านต้องมีช่องทางให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ไม่ว่าในฐานะสมาชิกพรรค หรือผู้สมัคร"
นายสมบัติ กล่าวอีกว่า พรรคการเมืองต้องสามาถรเปิดรับความต้องการและปัญหาของเขา พรรคการเมือง ต้องไม่ว่าตนเองเก่ง แล้วคิดขายฝันแทนประชาชน พรรคการเมืองแบบใหม่ ต้องเป็นพรรคที่ประชาชนสามารถเดินเข้าไปหาที่พรรคได้ มีช่องทางให้ประชาชนได้เสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข ไม่ใช่ให้เขาไปล้อมทำเนียบอีกต่อไป” นายสมบัติระบุ
ขณะที่ นายประสาน ศรีเจริญ จุฬาราชมนตรี กล่าวว่า ตนมาวันนี้ คงไม่อาจเอื้อมเสนอเรื่องทางออก แต่อยากให้ทางสว่างของพี่น้องเราในนามขององค์กรศาสนาอิสลามนั้น เราขอยืนยันว่าเราจะอยู่ภายใต้กรอบของศาสนา คำสอนศาสนา และกรอบกติกาทางสังคม นายประสานกล่าวว่าเมืองไทยเราจะมีความเคยชินคือเป็นคนที่ชอบตรากฎหมาย แต่ไม่ชอบปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นความเคยชิน ความเคยตัว ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องยึดแนวทางสันติตามศาสนาของตน ในการรณรงค์ เรียกร้องอะไรก็ตาม เพราะเวลานี้แต่ละฝ่ายแม้มีศาสนาทุกคน แต่ไม่ได้ใช้ศาสนาในการพูดจา ควรมีการลดความโลภและอคติต่อกัน และอยากให้ องค์กรศาสนาทุกศาสนาเผยแพร่แนวทางเตือนสติกับสังคม
“ตอนนี้ สังคมเป็นนาวาวิกฤติอยู่กลางทะเล ผมอยากให้องค์กรศาสนาติดเบรคทางสังคม ก่อนที่จะเลยเถิดกันไป” นายประสานระบุ และกล่าวเพิ่มเติมว่าขอให้สื่อมวลชนทั้งหลาย เผยแพรหลักธรรมคำสอน ขององค์กรศาสนาที่จะให้สติกับทุกฝ่าย และอยากให้สังคมทุกฝ่าย ให้เกียรติมนุษย์ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม มองว่าทุกฝ่ายเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ อย่ามองว่าคนนั้นต่ำกว่า คนนั้นด้อยกว่า และขอให้นักวิชาการทุกฝ่ายมีความสำนึกในความเป็นนักวิชาการที่ให้สติ และความถูกต้อง อย่าใช้อคติในการหาทางออกให้กับพวกของตนเองที่แม้ทางออกนั้นจะเล็กก็พยายามจะหาทางออกให้" นายประสานกล่าว
นายประสาน กล่าวด้วยว่า อย่าผูกขาดความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัติรย์ แต่เพียงฝ่ายเดียวเพราะทุกฝ่ายล้วนรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัติรย์ทั้งนั้น หากผูกขาดและกล่าวหาว่าอีกฝ่ายไม่รัก มันจะขัดแย้งไม่สิ้นสุด” นายประสานกล่าว และเสนอว่าสังคมต้องมีมารยาทในท่ามกลางความขัดแย้ง แต่ละฝ่ายไม่ผูกขาดความถูกต้องไว้แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยอ้างว่าฝ่ายอื่นผิด หากทำได้เช่นนี้แล้วเราก็จะอยู่ร่วมกันได้ในสังคม
ด้าน พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวยืนยันเจตนารมณ์ของกองทัพและผู้บัญชาการทหารสูงสุด ว่าพ.ร.บ.กระทรวงกลาโหมปี 2541 กำหนดให้ก.กลาโหมคือกองทัพ มีหน้าที่พิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญและการปกครอง ประการต่อมา สถานการณ์การเมืองขณะนี้ ผบ.สส. ยืนยันที่จะคิด ปฏิบัติอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญเท่านั้น
“นี่คือจุดยืนของกองทัพ การเสวนาวานนี้ที่กองทัพไทย ที่ผบ.สส. มีเจตนารมณ์ให้กองทัพได้มีบทบาทรับใช้ และพิทักษ์รัฐธรรมนูญ การพูดกันในเวทีวานนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อการเสวนาจบลง ท่าน ผบสส ได้ตอบแล้วว่ากองทัพ สนับสนุนให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์”
พล.อ.นิพัทธ์ กล่าวด้วยว่า ผบ.สส. ยังปรารภว่ากำลังพลของกองทัพ 4 แสนนายที่มีนั้น ถ้าสังคมกังวลว่าการเลือกตั้จะไม่โปร่งใส ผบ.สส.ก็พร้อมส่งสัญญาญว่าจะสนับสนุนให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างโปร่งใส
ภาพประกอบจากเว็บไซต์ news.voicetv.co.th