ธาม เชื้อสถาปนศิริ: "นักโต้วาทกรรม"
สองสามวันนี้เห็นนักวิชาการท่านหนึ่งปรากฎอยู่ในหลายรายการ หลายช่อง สำนวนลีลาเร้าใจ พูดเสียงดัง ฉะฉาน พลันก็นึกสงสัยว่า สามสี่เดือนมานี้ท่านนี้มาแรงจริงๆ เพราะเนื้อหาสาระ หรือเพราะลีลากันแน่?
ฟังอยู่หลายเพลา หลังๆ เริ่มออกนอกหลักการ หมายถึงยังคงมีหลักการอยู่ แต่ไม่มากเท่าที่เคยเป็น
อาจารย์ท่านหนึ่งในโซเชี่ยลมีเดีย ตั้งข้อสงสัยใน "กระบวนการโต้ต่อ-ใช้เหตผล" ของนักวิชาการท่านนี้ว่าเป็น "นักโต้วาที" มากกว่าเป็นนักวิชาการ
ผมเห็นวิธีการโต้เถียงก็ยอมรับว่าเราอาจฟังไม่ถนัดเข้าใจแม่นยำเรื่องตัวบทกฎหมาย แต่พยายามจับสาระเท่าทันที่จะได้ แม้ไม่เข้าใจสาระทางกฎหมาย แต่ก็เท่าทันพอสมควรต่อสาระทางภาษา โดยเฉพาะการใช้เทคนิคทางภาษา ที่เรียกว่าการวิเคราะห์วาทกรรม (discourse analysis)
การถกเถียงใช้ใช้ภาษาอันพริ้วไหว ผนวกกับความรู้เฉพาะทางสอดแทรกกับทัศนคติความเชื่อและจุดอ้างอิงหลักการตนเอง สื่อออกมาในภาษาที่สามารถเอาชนะคะคานฝ่ายตรงกันข้ามได้ และนำไปสู่การกำหนดความรู้ใหม่ ต่อผู้คนในสังคม ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นๆ
เช่น "ไม่มีหรอกระบอบทักษิณ มีแต่ระบอบ คอร์รัปชั่น หรือ ไม่มีหรอกไทยเฉย มีแต่ไทยอดทนเท่านั้น ไม่มีหรอกสภาประชาชน มีแต่สภาในระบอบรัฐสภาเท่านั้น ไม่มีหรอกสันติ อหิงสา มีแต่คสามรุนแรงเท่านั้น ไม่มีหรอก ฯลฯ"
การพูดประโยคว่า ไม่มีหรอกครับระบอบทักษิณ จะมีก็แต่คำว่าคอร์รัปชั่น. ประเโยคนี้คือตัวอย่างของการสร้างวาทกรรมปกปิด เคลื่อนย้ายความหมายจากความผิด เลว โกง ของคุณทักษิณและองคาพยพบริวาร ไปให้คำๆเดียว คือ คอร์รัปชั่นสิ ที่ผิด!
หรือวาทกรรมใหม่ ไม่มีไทยเฉย มีแต่ไทยอดทน ก็ย้ายคำตำหนิเรียกร้องของกลุ่มมวลชนที่ต่อต้านระบอบทักษิณที่เรียกร้องให้คนเฉยๆ ออกมาร่วมต่อสู้ จากที่ตำหนิให้รู้สึกผิด ก็ถูกแก้ไขใหม่เป็น ไทยอดทน อดทนน่ะดีแล้ว อดทนเป็นเยี่ยม ก็เลยแปลงคำว่าเฉย เป็นทนอด อดทนไปเสียอย่างนั้น
อันนี้เป็นตัวอย่างในการ "รวบรัดตัดความ" และตัวอย่างสำคัญคือ นักวิชาการผู้นี้มักเชี่ยวชาญในการ "เอาความคิด ความเห็นของท่านอื่น มาแสดงเป็นฐานนิยม/ปฏิเสธ ของตนเอง
ฟังๆไปก็ชักมึนๆ ว่าที่เราเห็นด้วยเมื่อกี๊นี่มันของอาจารย์ท่านนี้หรือท่านไหนหว่า?
"นักโต้วาทกรรม" คือผู้เชี่ยวชาญด้านการโต้วาทะ ของฝ่ายตรงข้าม ด้วยการทำลายความหมาย บิดเบือนความหมาย และสถาปนาความหมายสิ่งนั้นๆ ใหม่ขึ้นมาเป็นของตนเอง จนทำให้ผู้ดูเออออห่อหมกไปด้วยในการบิดเบือนตรรกะความหมายนั้นๆ
ทำให้ความหมายเดิม เบาลง เปลี่ยนไป ย้ายที่ หรือ เอาความหมายอื่นๆที่ใกล้เคียงมาแทนที่
เป็นการดัดแปลงวาทกรรมเสียใหม่
คนที่ทำเช่นนี้ได้ เท่าที่ผมเห็นมีไม่มาก และคนที่ทำได้นั้นถือว่ามีความเชี่ยวชาญทางการโต้เถียงทีเดียว
ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ จตุพร พรหมพันธ์ุ ธิดา ถาวรเศรษฐ์ เป็นตัวอย่างที่ดีในการเป็น "นักโต้วาทกรรม" เช่นเดียวกับนักวิชาการสายนิติราษฎ์
อาจารย์ชาญวิทย์ หรือ สมศักดิ์ เจียม ก็เป็นอีกท่านที่เก่งในการโต้วาทกรรม
ความเชี่ยวชาญสูงสุดของนักโต้วาทกรรม ซึ่งแตกต่างกับนักวิชาการ คืออะไร?
"การชี้นำสรุปขมวดปม" นักวิชาการ(บ่อยครั้ง) จะทำเพียงแต่เสนอทางเลือก และตั้งคำถามปลายเปิด ขณะที่นักโต้วาทกรรมจะใช้คำสรุปขมวดปมปลายปิด คือ ไม่เหลือพื้นที่ใดๆ ให้ตีความหมายได้อีก
บ่อยครั้งที่ความหมายปิด คือ การชี้นำประชาชน มวลชน และสังคม
สรยุทธ์ คือ ตัวอย่างหนึ่งของการเป็นนักวาทกรรม แต่สรยุทธ์แตกต่างตรงที่เป็นนักข่าว เขาใช้ความเชี่ยวชาญทางภาษาออกมาในเชิงคำถามชี้นำปลายเปิด ที่จริงๆ แล้วปิด (หรือไม่? อย่างไร?)
วาทกรรมปกปิดซ่อนเร้นของสรยุท์จึงผิตออกมาในรูปแบบเล่าข่าว เพื่อให้ดูกันเอง ไม่เถียงกับใคร และเอาตัวเองรอดไปทุกครั้งที่ได้แสดงความคิดเห็นในรายการข่าว
ฉะนั้น นักโต้วาทกรรมจึงปรากฎอยู่ในนักวิชาการหลายท่าน ตามที่เห็นบนพื้นที่สื่อขณะนี้ และมีมากน้อยปะปนกันไปในแต่ละฝั่ง ต่างลีลาสำนวน
สิ่งที่อันตรายที่สุด เมื่อเชิญนักวิชาการมาออกความคิดเห็นในรายการบนพื้นที่สื่อ ก็คือ
"ภายใต้การถกเถียง เสนอความเห็นทางวิชาการนั้น มีความหมายที่ซ่อนอยู่ มีสิ่งที่ไม่ได้พูดถึงเสมอๆ และวิธีการพูดถึงสิ่งนั้นให้ฉีกออกไปจากรูปแบบความหมายของมันตามเดิม แต่สร้างความหมายใหม่ขึ้นมา"
นั่นแสดงว่า เรากำลังดูนักวิชาการโต้วาทกรรมกันแล้วล่ะพี่น้อง
ปัญหาเดียวสำหรับเราก็คือ คุณเป็นส่วนหนึ่งของหลักการ ความเชื่อ ภาษาแบบไหน? หรือคุณเผลอไผลตกหลุมลงไปในวาทกรรมวิภาษใดโดยไม่รู้ตัวต่างหาก!
ปล.การโต้เถียง เป็นเรื่องปกติ ที่ต้องมีการต่อล้อ ต่อรอง ต่อต้านวาทกรรม ใดๆ
ขอให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมด๊า ธรรมดาในสังคมใดๆเสมอ
**หมายเหตุ:ข้อความชิ้นนี้มาจากเฟซบุ๊กของ Time Chuastapanasiri
ภาพประกอบจาก appreview