"ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ" ตั้งโจทย์ "จะผลิตเด็กป้อนอุตสาหรรม หรือสร้างคนบนรากเหง้า"
เขียนวันที่
วันจันทร์ ที่ 20 มิถุนายน 2554 เวลา 17:39 น.
เขียนโดย
ธิดามนต์ พิมพาชัย ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน
หมวดหมู่
จากวิทยาลัยการจัดการทางสังคม และ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา สู่การเคลื่อนไหวคัดค้านยุบโรงเรียนเล็ก ในนาม สภาการศึกษาทางเลือก หนึ่งในหัวขบวนหลัก คือ "ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ" ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สำนักข่าวอิศรา ร่วมขยายมุมมองการศึกษาเพื่อสังคมรากหญ้า
....................................................................................................
....................................................................................................
อยากให้ เล่าความเคลื่อนไหว คัดค้าน นโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กของกระทรวงศึกษาธิการ
ทางเครือข่ายการศึกษาทางเลือกได้เดินทางเข้าพบนายชินวรณ์ บุญเกียรติ รัฐมนตรี รมต.กระทรวงศึกษาธิการ ว่ามีนโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็กจริงหรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบ ว่าเป็นความจริง และหากมีโอกาสเป็น รมต. อีก ก็ยังยืนกรานว่าจะยุบ
ทางเครือข่ายการศึกษาทางเลือกได้เดินทางเข้าพบนายชินวรณ์ บุญเกียรติ รัฐมนตรี รมต.กระทรวงศึกษาธิการ ว่ามีนโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็กจริงหรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบ ว่าเป็นความจริง และหากมีโอกาสเป็น รมต. อีก ก็ยังยืนกรานว่าจะยุบ
หลังจากนั้น เครือข่ายจึงเดินทางไปยื่นจดหมายเพื่อคัดค้าน กับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) .และ รัฐมนตรี โดยมีข้อสรุปจากการจัดประชุมระดมความคิดเห็นทั้ง 4 ภาค ว่า หนึ่ง เราไม่เห็นด้วยขอให้ยุติ สอง ให้ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐกับภาคประชาสังคม รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนผู้ปกครองเพื่อหาทางออกร่วมกัน
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนโยบายนี้มีอะไร อย่างไรบ้าง
ความจริงแล้วโรงเรียน ไม่ได้เล็กเองตามที่กระทรวงฯ บอกว่าเด็กน้อยเพราะการเกิดน้อย แต่มันถูกทำให้เล็กโดยการบริหารที่ล้มเหลว คือ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนโยบายนี้มีอะไร อย่างไรบ้าง
ความจริงแล้วโรงเรียน ไม่ได้เล็กเองตามที่กระทรวงฯ บอกว่าเด็กน้อยเพราะการเกิดน้อย แต่มันถูกทำให้เล็กโดยการบริหารที่ล้มเหลว คือ
เป้าหมายการศึกษา ปัจจุบันตั้งเป้าเพื่อไปรับใช้เมือง ผลิตคนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ไม่เกี่ยวกับชนบท หลักสูตรการศึกษา ดรรชนีชี้วัดต่างๆ ไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยที่มีวัฒนธรรมทอันหลากหลาย แต่เรากลับมีการศึกษาเพียงแบบเดียว มันทำลายฐานวิธีชีวิต ฐานวัฒนธรรม ฐานภูมิปัญญาทุกท้องถิ่น
ส่วนผลกระทบจากการยุบโรงเรียนที่เห็นได้ชัดคือ หนึ่ง จะทำให้เด็กที่ยากจนยิ่งขาดโอกาสทางการศึกษาไปอีก สอง ความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการเดินทาง บางแห่งต้องอาศัยอยู่หอพักยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นไปอีก สาม เป็นการทำลายความเข้มแข็งของชุมชน สี่ เป็นการละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นชุมชน
ท่าทีล่าสุดของ สพฐ. และกระทรวงศึกษาฯ เป็นอย่างไร
ท่าทีล่าสุดของ สพฐ. และกระทรวงศึกษาฯ เป็นอย่างไร
จากจดหมายที่ตอบกลับมา เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 ยังไม่เปลียนท่าทีครับ แต่จากการจัดงานประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้ได้รับผลกระทบ และมีการปาฐกาของนักวิชาการอวุโสมาร่วมด้วย ได้แก่ อาจารย์ประเวศวะสี อาจารย์ระพี สาคริก อาจารย์เอกวิทย์ ณ ถลาง อ. ส ศิวลักษณ์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ทางกระทรวงฯ เองก็มีท่าทีเปลี่ยนไปบ้าง คือ โดยใช้คำว่า “จะชะลอ นโยบายไว้ก่อน” และให้โจทย์กับทางโรงเรียนขนาดเล็กมีนโยบายการจัดการแนวใหม่ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่น ถ้าฟังจากเสียงผู้บริหารเองก็พอใจ แต่ทางสภาการศึกษาทางเลือกก็ยังไม่ได้วางใจ เพราะยังไม่ได้มีความชัดเจนหรือเห็นเป็นรูปธรรม
กระบวนการต่อไปก็จะเป็นการหารือและวางแผนร่วมกัน อีกครั้ง วันที่ 8 กรกฎาคม 2554 เพื่อผลักดันให้เกิดเกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง โรงเรียนขนาดเล็ก ผู้แทนชุมชน ผู้แทนองค์กรท้องถิ่น สภาการศึกษาทางเลือก และผู้แทนของ สพฐ. มาเป็นคณะทำงาน การจัดการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วม
โรงเรียนขนาดเล็กจะตออบโจทย์ กระทรวงศึกษาฯ ทั้งสามข้อคือ โอกาส คุณภาพ และประสิทธิภาพได้อย่างไร
โรงเรียนขนาดเล็กจะตออบโจทย์ กระทรวงศึกษาฯ ทั้งสามข้อคือ โอกาส คุณภาพ และประสิทธิภาพได้อย่างไร
แนวทางที่สำคัญที่สุดคือ ต้องสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมครับ ผู้บริหาร ครู ผู้นำท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นต้องมานั่งคุยกันก่อนว่า แนวทางการบริหารแนวใหม่จะเป็นอย่างไร "ผมเชื่อว่า แค่เริ่มเชิญชวน พูดคุย อย่างน้อยก็เป็นการเปลี่ยนแปลงก้าวสำคัญ ที่จะมาสู่กระบวนการที่สอง คือ การพัฒนาหลักสูตรร่วมกันของท้องถิ่น ไม่ได้เอาแต่หลักสูตรส่วนกลาง แต่วางไว้บนพื้นฐานชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกัน”
เรื่องคุณภาพ เราจะทำตัวชี้วัด แบบโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะบริบทของโรงเรียนเล็กมันต่างกัน เราจะหาว่า คุณภาพที่ ชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และ สพฐ. ต้องการ คืออะไร เอามาผสมผสานกัน ส่วน เรื่องบริหาร อาจมีเรื่อง การระดมทรัพยากรเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเราอยากสเนอให้ สพฐ. เพิ่มงบฯ ให้อย่างเต็มที่ถ้าขาดเหลืออะไร ให้ชุมชนและท้องถิ่นระดมทรัพยากรมาด้วย เป็นแนวทางการทำงานร่วมกัน
การศึกษาแนวใหม่ควรจะเอาชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษา จึงจะทำให้เกิดคุณภาพของเยาวชนในยุคต่อไปได้ ซึ่งถ้าไม่เข้ามาร่วม เด็กเราอาจมีปัญหามากกว่านี้ ขณะเรียนก็มีปัญหา แล้วพอเรียนจบ ตกงาน ไม่มีงานทำ แต่กลับบ้านก็ทำอะไรไม่ได้ เราต้องการคนแบบนี้หรือ มันต้องเกิดกระบวนการจัดการศึกษาแบบใหม่ เด็กและเยาวชนมีความพร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างเข้มแข็ง
นอกจากเรื่องนี้ คุณชัชวาลย์ ทำงานพัฒนาชุมชนเรื่องอะไรบ้าง
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษา เช่น วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.) เราก็ผลักดันเรื่อง "ห้องเรียนชุมชน" เพราะเมืองไทยมีภูมิปัญญาที่เป็นองค์ความรู้อยู่เต็มแผ่นดิน แต่ถูกตัดขาดออกจากระบบ โดยสนับสนุนให้เกิดศูนย์การเรียนรู้เพื่อชุมชนกระจายอยู่ทั่วประเทศ ส่วน โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เกิดมา 11 ปี แล้ว เป็นการรวบรวมองค์ความรู้จากพ่อครู แม่ครู ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ เป็นห้องเรียนไว้ ถ้าเด็กคนไหนสนใจเรียนอะไร ก็สามารถไปศึกษาเรียนรู้เรื่องนั้นๆ ได้ ซึ่งความจริงน่าจะมีศูนย์การเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่น อยู่ทุกจังหวัด มีพ่อครูแม่ครูมากมายอยากสอนในสิ่งที่ท่านรู้ และยังมีเด็กอีกมากมายที่อยากเรียนรู้วัฒนธรรมตนเองแต่ไม่รู้ว่าจะไปเรียนที่ไหน
นอกจากเรื่องนี้ คุณชัชวาลย์ ทำงานพัฒนาชุมชนเรื่องอะไรบ้าง
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษา เช่น วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.) เราก็ผลักดันเรื่อง "ห้องเรียนชุมชน" เพราะเมืองไทยมีภูมิปัญญาที่เป็นองค์ความรู้อยู่เต็มแผ่นดิน แต่ถูกตัดขาดออกจากระบบ โดยสนับสนุนให้เกิดศูนย์การเรียนรู้เพื่อชุมชนกระจายอยู่ทั่วประเทศ ส่วน โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เกิดมา 11 ปี แล้ว เป็นการรวบรวมองค์ความรู้จากพ่อครู แม่ครู ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ เป็นห้องเรียนไว้ ถ้าเด็กคนไหนสนใจเรียนอะไร ก็สามารถไปศึกษาเรียนรู้เรื่องนั้นๆ ได้ ซึ่งความจริงน่าจะมีศูนย์การเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่น อยู่ทุกจังหวัด มีพ่อครูแม่ครูมากมายอยากสอนในสิ่งที่ท่านรู้ และยังมีเด็กอีกมากมายที่อยากเรียนรู้วัฒนธรรมตนเองแต่ไม่รู้ว่าจะไปเรียนที่ไหน
11 ปีที่ผ่านมาของโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ สมัยก่อนเด็กๆ จะอายที่จะแต่งชุดพื้นเมือง อายที่จะพูดคำเมือง กินอาหารพื้นเมือง เล่นดนตรีพื้นเมือง แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว เด็กๆ มีความภาคภูมิใจใน วัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง ได้ตีกลองสะบัดชัยได้ แต่งกายพื้นเมืองได้โดยไม่อาย เรื่องความภาคภูมิใจในตนเอง ภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองเป็นฐานสำคัญมาก เพราะเราสอนให้อยู่ในหลักการเคารพธรรมชาติ และการเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน มีรัก เคารพต่อครูบาอาจารย์ในขณะที่การเรียนสมัยใหม่พวกเขาก็ยังเรียนรู้ได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “เรียนรู้รากเหง้า เท่าทันโลกาภิวัตน์”
สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ สมัยก่อนเด็กๆ จะอายที่จะแต่งชุดพื้นเมือง อายที่จะพูดคำเมือง กินอาหารพื้นเมือง เล่นดนตรีพื้นเมือง แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว เด็กๆ มีความภาคภูมิใจใน วัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง ได้ตีกลองสะบัดชัยได้ แต่งกายพื้นเมืองได้โดยไม่อาย เรื่องความภาคภูมิใจในตนเอง ภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองเป็นฐานสำคัญมาก เพราะเราสอนให้อยู่ในหลักการเคารพธรรมชาติ และการเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน มีรัก เคารพต่อครูบาอาจารย์ในขณะที่การเรียนสมัยใหม่พวกเขาก็ยังเรียนรู้ได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “เรียนรู้รากเหง้า เท่าทันโลกาภิวัตน์”
อะไรที่เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้มาทำ เรื่องการศึกษาทางเลือก
ผมเห็นว่าสังคมไทย มีทุน มีองค์ความรู้ และภูมิปัญญามากมาย แต่เรากลับไม่เห็นคุณค่า เราเอาความรู้และภูมิปัญญาตะวันตกมาใช้กันมาก ซึ่งล้วนแต่เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ไม่เคารพกัน เสรี แข่งขันกัน จนทำให้ผู้คนเห็นแก่ตัว เป็นนักบริโภคตัวยง ไม่พึ่งตนเอง นับเป็นหายนะของโลก เป็นการทำลายชีวิต และจิตวิญญาณมนุษย์
พื้นหลังของสังคมไทยที่มาจากรากฐานของสังคมไทย ทำให้คนเป็นคน และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม เราจะอยู่กันอย่างไร เมื่อไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเหลืออยู่เลย มีส่วนร่วมในการสร้างพื้นฐานเหล่านี้ไว้ จะก่อให้เกิดความงอกงามในระยะยาว
ทุกวันนี้ ผมได้เห็นเด็กๆ เรียนรู้ และมีภาคภูมิใจในวัฒนธรรมตนเอง เห็นชาวบ้านรักเคารพธรรมชาติ เห็นชาวบ้านรักษาป่า ทำเรื่องสมุนไพร ใส่ผ้าย้อมสี มันเป็นเป็นพลังในการทำงาน และผมมีความสุขที่จะทำครับ
คุณชัชวาลย์ ได้ตอบโจทย์กระทรวงศึกษาธิการไปแล้ว และแนะแนวทางการจัดการโรงเรียนขนาดไปแล้วบางส่วน ก็คงถึงเวลา เราๆ ท่านๆ จะตั้งคำถามกับตัวเอง และผู้หลักผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ออกแบบนโยบายการการศึกษา ผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศว่า "จะผลิตเด็กเพื่อป้อนอุตสาหกรรมต่อไป ... หรือจะสร้างเด็กให้ เรียนรู้รากเหง้า เท่าทันโลกาภิวัตน์"