อสส.สั่งฟ้องแค่"อภิสิทธิ์-สุเทพ"คดีกระสุนจริงสลายม็อบ ทหาร-คนยิงไม่ต้องรับผิด
อสส.สั่งฟ้อง "อภิสิทธิ์-สุเทพ" คดีวิสามัญฆาตกรรม เหตุออกคำสั่งให้ใช้กระสุนจริง สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ปี 2553 ทำให้มีคนบาดเจ็บและเสียชีวิต ชี้ไม่ใช่อำนาจ ป.ป.ช.-ด้าน "ทหาร-คนยิง" รอด
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2556 ที่สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) นายนันทศักดิ์ พุลสุข อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะโฆษก อสส. เปิดเผยว่า นายอรรถพล ใหญ่สว่าง อสส.ได้ลงนามเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2556 ให้สั่งฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ปชป.ในฐานะอดีตรองนายกฯ และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ผู้ื่อื่นกระทำผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตา 59 มาตรา 80 มาตรา 83 มาตรา 84 และมาตรา 288 (คดีวิสามัญฆาตกรรม)
"จากกรณีผู้ต้องหาทั้งสอง ร่วมกันออกคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของ ศอฉ.สกัดกั้นและขอคืนพื้นที่การชุมนุมคนเสื้อแดง เมื่อปีั 2553 โดยอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของ ศอฉ.ดังกล่าวใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน ในการปฎิบัติการขอคืนพื้นที่การชุมนุม เป็นการใช้อาวุธเกินกว่าความจำเป็น เป็นเหตุให้มีผู้ชุมนุมและประชาชนใกล้เคียงถึงแก่้ความตาย และได้รับอันตรายสาหัสตามสำนวนการไต่สวนชันสูตรพลิกศพของศาล โดยเหตุเกิดระหว่างวันที่ 7 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 (ระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดง) ในท้องที่เขต กทม. ตามสำนวนคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งมาให้ อสส.พิจารณา" นายนันทศักดิ์กล่าว
ด้าน นายวัชรินทร์ ภานุรัตน์ รองโฆษก อสส.กล่าวว่า คดีนี้เป็นกรณีที่การตายเกิดขึ้นเนื่องจากการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานซึ่งอยู่ในอำนาจของ อสส.เป็นผู้พิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 วรรคท้าย ด้วย 2 เหตุผล 3 ข้อ ประกอบด้วย
1.คดีนี้เป็นคดีวิสามัญฆาตกรรม เป็นความผิดที่เกี่ยวชีวิตและร่างกายเป็นหลัก ซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะดำเนินการไต่สวนได้ ดังนั้นดีเอสไอจึงมีัอำนาจในการไต่สวนคดีนี้
2.การกระทำของผู้ต้องหาทั้งสองมีพยานหลักฐานในการออกคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของ ศอฉ.ดำเนินการปิดล้อม สกัดกั้น ขอคืนพื้นที่จากผู้ชุมนุม โดยอนุญาตให้ใช้อาวุธปืนได้ และมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการใช้อาวุธปืนของพนักงานเจ้าหน้าที่ของ ศอฉ.ที่ปฎิบัติตามคำสั่งของผู้ต้องหาทั้งสอง
และ 3.การออกคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของ ศอฉ. แม้ผลการกระทำจะทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเ้จ็บสาหัสต่างเวลาและต่างสถานที่กันก็ตาม แต่เป็นการออกคำสั่งที่ต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเพื่อสลายการชมนุม จึงเป็นการกระทำเพียงกรรมเดียว
เมื่อถามว่าเหตุใดถึงสั่งฟ้องในคดีวิสามัญทั้งๆ ที่หากนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพไม่ใช้อำนาจในฐานะนายกฯ รองนายกฯ หรือ ผอ.ศอฉ.ก็คงสั่งให้เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธปืนไม่ได้ นายวัชรินทร์ กล่าวว่า เราพิจารณาตามสำนวนที่ดีเอสไอส่งมาให้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.ก็เคยตีกลับคดีที่เป็นการวิสามัญฆาตกรรมว่าไม่ได้อยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช.
เมื่อถามว่าจะนำตัวบุคคลทั้ง 2 ไปส่งฟ้องต่อศาลได้เมื่อใด นายวัชรินทร์ กล่าวว่า เนื่องจากบุคคลทั้ง 2 เป็น ส.ส.จึงได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองระหว่างเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร การส่งฟ้องจึงน่าจะเกิดขึ้นหลังปิดสมัยประชุมสภาฯ หรือเว้นแต่บุคคลทั้ง 2 ของงดเว้นไม่ใช้เอกสิทธิ์
เมื่อถามว่านอกจากออกคำสั่งตั้ง ศอฉ.แล้ว นายอภิสิทธิ์เข้าไปมีส่วนสั่งการอะไรใน ศอฉ.อีก เพราะทุกคำสั่งออกโดยนายสุเทพในฐานะ ผอ.ศอฉ. นายวัชรินทร์ กล่าวว่า เราก็ยึดจากที่นายอภิสิทธิ์ออกคำสั่งตั้ง ศอฉ.เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีพยานหลักฐานและพยานบุคคลที่ให้ข้อมูลว่า นายอภิสิทธิ์เข้าไปร่วมประชุมและสั่งการใน ศอฉ.หลายครั้ง
"คดีนี้ท่าน อสส.ก็พูดไว้ตั้งแต่ก่อนจะมีคำสั่งว่า ไม่ว่าจะสั่งคดีอย่างไรก็คงได้รับทั้งดอกไม้และก้อนอิฐ มีทั้งคนรักและคนเกลียด ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในการสั่งคดี" นายวัชรินทร์กล่าว
เมื่อถามว่ากรรมการ ศอฉ.มีหลายคน รวมถึง ผบ.ทบ. ผบ.ตร. กระทั่งอธิบดีดีเอสไอ เหตุใดจึงฟ้องเพียง 2 คนทั้งๆ ที่คำสั่งต่างๆ ของศอฉ.ออกโดยมติกรรมการ ศอฉ. นายนันทศักดิ์ กล่าวว่า ต้องดูว่าใครเป็นผู้ลงนามในคำสั่ง เพราะแม้กรรมการ ศอฉ.จะมีมติในเรื่องใด แต่ถ้านายอภิสิทธิ์หรือนายสุเทพไม่ลงนาม คำสั่งของ ศอฉ.ก็ไม่มีผลบังคับใช้
เมื่อถามว่าคดีนี้ดีเอสไอตัดตอนทหารในฐานะปฎิบัติการออกไป จะทำให้สำนวนคดีอ่อนจนไม่สามารถเอาผิดใครได้หรือไม่ นายนันทศักดิ์ กล่าวว่า ถ้าเปรียบเทียบเหมือนตนสั่งให้นาย ก.ไปใช้กระสุนจริงยิงใส่รถได้ แล้วนาย ก.ไปให้นาย ข.ทำต่อ แล้วมีผู้เสียชีวิต คนที่ต้องรับผิดก็คือตน ในฐานะผู้ออกคำสั่ง ไม่ใช่นาย ก.หรือนาย ข.
เมื่อถามว่าได้พิจารณาถึงกรณีที่มีกองกำลังไม่ทราบฝ่ายใช้อาวุธสงครามโจมตีใส่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ อสส.เคยส่งฟ้องไปแล้วในคดีก่อการร้ายด้วยหรือไม่ นายนันทศักดิ์ กล่าวว่า เราพิจารณาจากพยานหลักฐานที่ปรากฎในสำนวนที่ดีเอสไอส่งมาให้ ซึ่งไม่ได้มีการกล่าวถึงกองกำลังไม่ทราบฝ่ายเหล่านั้น แต่ก็เป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลแล้วจะไปหยิบพยานหลักฐานจากคดีอื่นมาประกอบการพิจารณาของศาล
เมื่อถามว่าหลังจาก อสส.สั่งฟ้องในคดีนี่้ไปแล้ว คดีสั่งสลายการชุมนุมโดยมิชอบที่ ป.ป.ช.ทำอยู่จะต้องหยุดเลยหรือไม่ เพราะเป็นกรรมเดียวกันแล้วมีพยานหลักฐานใกล้เคียงกัน นายนันทศักดิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ ป.ป.ช. แต่ตามหลักสากลแล้ว คน 1 คนจะถูกฟ้องดำเนินคดีในกรรมเดียวกันหลายครั้งไม่ได้ แม้จะถูกฟ้องในความผิดคนละฐาน ไม่เช่นนั้น 1 กรรมจะถูกฟ้องเป็น 100 ฐานก็๋ได้ แต่หาก ป.ป.ช.จะดำเนินการต่อ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ต้องหาจะใช้สิทธิในการโต้แย้งว่าความผิดกรรมนี่้มีการส่งฟ้องต่อศาลอาญาไปแล้ว
"ตามปกติแล้ว เมื่อกรรมนั้นถูกฟ้องในความผิดที่มีบทลงโทษแรงกกว่า ก็จะไม่มีการฟ้องในความผิดที่บทลงโทษแรงน้อยกว่า ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 เรื่องวิสามัญฆาตกรรม มีบทลงโทษแรงกว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เรื่องปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ" นายนันทศักดิ์กล่าว
เมื่อถามว่ามั่นใจในพยานหลักฐานในคดีนี้แค่ไหนว่าจะสามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ นายนันทศักดิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล เราไม่อาจก้าวล่วงได้
เมื่อถามว่าการมีคำสั่งฟ้องแกนนำฝ่ายค้านในเวลานี้เป็นส่วนหนึ่งของการบีบให้รับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่งด้วยหรือไม่ นายนันทศักดิ์ กล่าวว่า คณะทำงานของ อสส.ได้พิจารณาสำนวนคดีนี้ก่อนที่คณะักรรมาธิการวิสามัญจะแปรญัตติร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มาตรา 3 เสียอีก ดังนั้นจึงยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกัน และการสั่งคดีนี้ ไม่ได้มาจากแรงกดดันใดๆ ทางการเมือง
ภาพประกอบ - สุเทพ เทือกสุบรรณและอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ภาพจากเว็บไซต์ www.bangkokbiznews.com