ขึ้นทะเบียน“ซากดึกดำบรรพ์”30 ชิ้นอายุกว่า 130-240 ล้านปีพบใน 3 จังหวัด
กรมทรัพยากรธรณีประกาศขึ้นทะเบียนซากดึกดำบรรพ์ 30 ชิ้น สัตว์มีกระดูกสันหลัง อายุกว่า 130-240 ล้านปี พบในพื้นที่ภูพาน จ.สกลนคร กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ควนขนุน จ.พัทลุง เก็บในพิพิธภัณฑ์สิรินธร
(ภาพประกอบจาก tatedutour)
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ได้ประกาศให้ซากดึกดำบรรพ์ จำนวน ๓๐ชิ้น เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ขึ้นทะเบียน มีผล ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 19 ก.ย.2556) ประกอบด้วย
๑.ซากดึกดำบรรพ์ สยามมาเมีย นาคา(Siamamia naga ) ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัว อายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี สถานที่ที่พบ ภูพอก ตำบล กกปลาซิว อำเภอ ภูพาน จังหวัด สกลนคร จำนวน ๑๓ ชิ้น
๒.ซากดึกดำบรรพ์ เฟอร์กาโนเซอราโตดัส มาร์ตินี (Ferganoceratodus martini)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินภูกระดึงอายุ จูแรสซิกตอนปลาย ประมาณ ๑๕๐ ล้านปี ที่พบ ภูน้ำจั้น ตำบล เหล่าใหญ่อำเภอ กุฉินารายณ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ จำนวน ๗ ชิ้น
๓.ซากดึกดำบรรพ์ ไทยซอรัส จงลักษมณีอี (Thaisaurus chonglakmanii)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน หมวดหินชัยบุรี อายุ ไทรแอสซิกตอนต้น ประมาณ ๒๔๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐานกระดูกกะโหลก (skull) และกระดูกซี่โครง (ribs)สถานที่ที่พบ เขาทอง ตำบล มะกอกเหนืออำเภอ ควนขนุน จังหวัด พัทลุงชื่อผู้ค้นพบ นายจงพันธ์ จงลักษมณี และคณะ วันเดือนปีที่พบ พ.ศ. ๒๕๓๑ จำนวน ๑ ชิ้น
๔.ซากดึกดำบรรพ์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัวอายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี สถานที่ที่พบ บ้านนาไคร้ ตำบล กุดหว้าอำเภอ กุฉินารายณ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ จำนวน ๙ ชิ้น
โดยเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกาศ ณ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ปราณีต ร้อยบาง อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี
มีรายละเอียดดังนี้
๑.ชื่อซากดึกดำบรรพ์ สยามมาเมีย นาคา (Siamamia naga )สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัว อายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐาน กระดูกกะโหลก (semi-articulated skull) ขนาด กว้าง ๔.๐ ซม. ยาว ๘.๘ ซม. สูง ๓.๙ ซม. น้ำหนัก ๙๗.๙๑ กรัม สถานที่ที่พบ ภูพอก ตำบล กกปลาซิว อำเภอ ภูพาน จังหวัด สกลนคร ค้นพบเมื่อ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
๒.ชื่อซากดึกดำบรรพ์ สยามมาเมีย นาคา (Siamamia naga) สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัว อายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐาน กระดูกบริเวณกล่องหู “อีพิออคซิพิทอลข้างซ้าย (left epioccipital)” ค้นพบเมื่อ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
๓.ชื่อซากดึกดำบรรพ์ สยามมาเมีย นาคา (Siamamia naga)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัวอายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐาน กระดูกบริเวณกล่องหู “พรูติคข้างขวา (right prootic)” ค้นพบเมื่อ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
๔.ชื่อซากดึกดำบรรพ์ สยามมาเมีย นาคา (Siamamia naga)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัวอายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐาน กระดูกฐานกล่องสมอง “เบสิออคซิพิทอลและบางส่วนของพาราสฟีนอยด์ (Basioccipitaland part of parasphenoid)” ค้นพบเมื่อ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
๕.ชื่อซากดึกดำบรรพ์ สยามมาเมีย นาคา (Siamamia naga)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัวอายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐาน กระดูกฐานกล่องสมอง “เบสิออคซิพิทอลและบางส่วนของพาราสฟีนอยด์ (Basioccipitaland part of parasphenoid)” ค้นพบเมื่อ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
๖.ชื่อซากดึกดำบรรพ์สยามมาเมีย นาคา (Siamamia naga)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัวอายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐาน กระดูกฐานกล่องสมอง “เบสิออคซิพิทอลและพาราสฟีนอยด์ (Basioccipital and parasphenoid)” ค้นพบเมื่อ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗
๗.ชื่อซากดึกดำบรรพ์สยามมาเมีย นาคา (Siamamia naga)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัวอายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐาน กระดูกบริเวณกล่องหู “เอคซอคลิพิทอลข้างขวา (right exoccipital)”ค้นพบเมื่อ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
๘.ชื่อซากดึกดำบรรพ์ สยามมาเมีย นาคา (Siamamia naga)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัวอายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐานกระดูกบริเวณจมูก “ชิ้นส่วนกระดูกโวเมอร์ (fragment of vomer)” ค้นพบเมื่อ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔
๙.ชื่อซากดึกดำบรรพ์ สยามมาเมีย นาคา (Siamamia naga)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัวอายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐานกระดูกขากรรไกรด้านบน “พรีแมกซิลลาข้างขวา (Isolated right premaxilla)” ค้นพบเมื่อ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
๑๐.ชื่อซากดึกดำบรรพ์ สยามมาเมีย นาคา (Siamamia naga)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัวอายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐานกระดูกขากรรไกรด้านบน “ชิ้นส่วนของพรีแมกซิลลาข้างซ้าย (Incomplete isolated specimenof left premaxilla)” ค้นพบเมื่อ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
๑๑.ชื่อซากดึกดำบรรพ์ สยามมาเมีย นาคา (Siamamia naga)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัวอายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐานชิ้นส่วนกระดูกขากรรไกรด้านบนข้างซ้าย (Isolated fragment of left maxilla) ค้นพบเมื่อ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
๑๒.กระดูกขากรรไกรด้านบน “ควอเดร็ตข้างขวา (right quadrate)”ค้นพบเมื่อ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
๑๓.กระดูกบริเวณตา “ออร์บิโตสฟีนอยด์ข้างซ้าย ค้นพบเมื่อ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
๑๔.ชื่อซากดึกดำบรรพ์ เฟอร์กาโนเซอราโตดัส มาร์ตินี (Ferganoceratodus martini)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินภูกระดึงอายุ จูแรสซิกตอนปลาย ประมาณ ๑๕๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐานกระดูกกะโหลกด้านบน (skull roof) และแผ่นฟัน (tooth plates)ขนาด กว้าง ๘.๒ ซม. ยาว ๙.๐ ซม. หนา ๒.๔ ซม. น้ำหนัก ๖๐.๖๗ กรัมสถานที่ที่พบ ภูน้ำจั้น ตำบล เหล่าใหญ่อำเภอ กุฉินารายณ์ จังหวัด กาฬสินธุ์
๑๕.กระดูกกรามล่าง (mandible) ค้นพบเมื่อ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
๑๖.ชิ้นกระดูกบริเวณจมูก (a piece of hard snout) ค้นพบเมื่อ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
๑๗.กระดูกฐานกล่องสมอง “พาราสฟีนอยด์ (parasphenoid)”ค้นพบเมื่อ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
๑๘.กระดูกซี่โครง (ribs) ค้นพบเมื่อ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
๑๙.กระดูกบริเวณตา “เดอร์โมสฟีโนติคข้างขวา (right dermosphenotic)” ค้นพบเมื่อ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
๒๐.กระดูกบริเวณตา “เดอร์โมสฟีโนติคข้างซ้าย (left dermosphenotic)”ค้นพบเมื่อ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ลำดับที่ ๑-๒๐ นายวราวุธ สุธีธร และคณะ เป็นผู้ค้นพบ
๒๑.ชื่อซากดึกดำบรรพ์ ไทยซอรัส จงลักษมณีอี (Thaisaurus chonglakmanii)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน หมวดหินชัยบุรีอายุ ไทรแอสซิกตอนต้น ประมาณ ๒๔๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐานกระดูกกะโหลก (skull) และกระดูกซี่โครง (ribs)ขนาด กว้าง ๑๔.๘ ซม. ยาว ๒๑.๒ ซม. หนา - ซม. น้ำหนัก ๗,๖๖๐ กรัมสถานที่ที่พบ เขาทอง ตำบล มะกอกเหนืออำเภอ ควนขนุน จังหวัด พัทลุงชื่อผู้ค้นพบ นายจงพันธ์ จงลักษมณี และคณะ วันเดือนปีที่พบ พ.ศ. ๒๕๓๑
๒๒.ชื่อซากดึกดำบรรพ์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae)สกุล/ประเภท สัตว์มีกระดูกสันหลัง หน่วยหิน กลุ่มหินโคราช หมวดหินเสาขัวอายุ ครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ลักษณะ รูปพรรณ สัณฐานกระดูกหาง (caudal vertebra)ขนาด กว้าง ๗.๑ ซม. ยาว ๑๐.๓ ซม. สูง ๘.๘ ซม. น้ำหนัก ๕๗๒ กรัมสถานที่ที่พบ บ้านนาไคร้ ตำบล กุดหว้าอำเภอ กุฉินารายณ์ จังหวัด กาฬสินธุ์
๒๓.กระดูกหาง (caudal vertebra) ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
๒๔.กระดูกหาง (caudal vertebra) ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
๒๕.กระดูกหาง (caudal vertebra) ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
๒๖.กระดูกหาง (caudal vertebra) ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
๒๗.กระดูกหาง (caudal vertebra) ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
๒๘.กระดูกหาง (caudal vertebra) ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
๒๙.กระดูกหาง (caudal vertebra) ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
๓๐.กระดูกหาง (caudal vertebra) ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
ลำดับที่ ๒๒-๒๐ นายโส สุวรรณไตร และคณะเป็นผู้ค้นพบ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/121/36.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/121/44.PDF