TDRI ออก Factsheet ชี้ชัด ยังไม่มีเส้นทางไหน "คุ้มค่า" ลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูง
ก่อนเปิดประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป 1 สิงหาคมนี้ และสภาผู้แทนราษฎรจะมีการนำร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ (พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท) เข้าพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 นั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุด สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ออก Factsheet เพื่ออธิบาย ประเทศไทยควรมีรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ อ้างอิงข้อมูลมาจากงบประมาณจากร่างพ.ร.บ.กู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและคำชี้แจงประกอบร่าง พ.ร.บ. โดยมีการไล่เลียงปัจจัยที่ทำให้รถไฟความเร็วสูงคุ้มค่าที่จะลงทุน
- wrong sign ใช้เวลาเดินทาง 3 ชม. ระยะทาง 600-750 กม. (ยกเว้นสายเชียงใหม่ที่ผ่านเกณฑ์นี้)
- wrong sign ปริมาณผู้โดยสารปีแรกตั้งแต่ 9 ล้านเที่ยวขึ้นไป
- wrong sign เชื่อมโยงกับระบบรถไฟปกติ
- wrong sign มีองค์กรบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
และจากปัจจัยดังกล่าว ทีดีอาร์ไอ เห็นว่า ยังไม่มีเส้นทางไหนที่คุ้มค่าอย่างชัดเจน พร้อมออกข้อเสนอแนะให้ต้องศึกษาความคุ้มค่าของโครงการโดยหน่วยงานอิสระและเป็นที่เชื่อถือได้เสียก่อน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ดร. สุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการทีดีอาร์ไอ ได้ออกมาวิเคราะห์ให้เห็นรายละเอียดโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลว่า ยังไม่ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าการลงทุนรวมทั้งหมดยังไม่ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเลย โดยเฉพาะกรณีการสร้างระบบรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง รวมถึงผลประโยชน์ที่จะก่อให้เกิดกับประเทศในภาพรวม ขณะเดียวกันยังตั้งข้อสังเกตุด้วยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงอาจไม่มีผู้ใช้บริการเพียงพอที่จะให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน