ทีดีอาร์ไอถอดบทเรียนลงทุน 7 โครงการยักษ์ในอดีต คอร์รัปชั่น-ทิ้งงานอื้อ
ทีดีอาร์ไอถอดบทเรียนคอร์รัปชั่นใน 7 กรณีลงทุนขนาดใหญ่ กระทบความคุ้มค่าทางศก.-หนี้สาธารณะ โครงสร้างพื้นฐานไม่มีประสิทธิภาพ แนะโครงการลงทุนใหม่ต้องศึกษารัดกุม มีธรรมาภิบาล
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ศึกษาและถอดบทเรียน "คอร์รัปชั่นสู่โครงการลงทุนที่โปร่งใส" โดยชี้ให้เห็นถึงปัญหาคอร์รัปชั่นในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ว่า คอร์รัปชั่นจะส่งผลให้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เกิดความไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และอาจนำไปสู่ปัญหาหนี้สาธารณะในระดับสูงได้ นอกจากนี้ ปัญหาคอร์รัปชั่นยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และเบียดเบียนงบประมาณในการใช้จ่ายของรัฐในประเด็นอื่น ๆ อีกด้วย
นายอิสร์กุล อุณหเกตุ นักวิจัยทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การคอร์รัปชั่นในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่จะส่งผลให้การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เกิดความไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และอาจนำไปสู่ปัญหาหนี้สาธารณะในระดับสูงได้ นอกจากนี้ ปัญหาคอร์รัปชั่นยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานและเบียดเบียนงบประมาณในการใช้จ่ายของรัฐในประเด็นอื่น
ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้นำเสนอกรณีศึกษาปัญหาคอร์รัปชั่นในอดีต เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะโครงการลงทุนที่โปร่งใส อาทิ กรณีศึกษา คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ ฟรี กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าบางคล้า กรณีศึกษาศูนย์กลางระบบขนส่งมวลชนบริเวณสถานีขนส่งหมอชิตเดิม และกรณีอื่นๆที่ยังมีปัญหา โดยคณะผู้วิจัยนำเสนอข้อเสนอ เพื่อป้องกันปัญหาคอร์รัปชั่นว่า ควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) อย่างมีคุณภาพและน่าเชื่อถือ ควรมีการสร้างธรรมาภิบาลในโครงการลงทุน และควรมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความรัดกุมในการลงทุนมากขึ้น
คณะผู้วิจัยได้นำเสนอกรณีศึกษาปัญหาคอร์รัปชั่นในอดีตเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะโครงการลงทุนที่โปร่งใส อาทิเช่น กรณีศึกษา King Power Duty Free กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าบางคล้า กรณีศึกษาศูนย์กลางระบบขนส่งมวลชนทางบกบริเวณสถานีขนส่งหมอชิตเดิม กรณีศึกษาโรงบำบัดน้ำเสียคลองด่าน กรณีศึกษาสัปทานทางด่วนขั้นที่ 2 กรณีศึกษาโฮปเวลล์ และกรณีศึกษาเรือขุดหัวสว่าน
นายอิสร์กุล กล่าวต่อว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาเรื้อรังในระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยมาเป็นเวลานาน รูปแบบการคอร์รัปชั่นมีความซับซ้อนมากขึ้นเป็นลำดับ ยุทธศาสตร์ในการต่อต้านคอร์รัปชั่นจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน จากแบบเดิมที่เน้นการใช้กฎหมายซึ่งเป็นระบบ "จากบนลงล่าง" (top down approach) เป็นระบบ "จากล่างขึ้นบน" (bottom up approach) ซึ่งหมายความว่า การต่อต้านคอร์รัปชั่นจะต้องมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันจากภาคธุรกิจ สื่อมวลชน นักวิชาการและภาคประชาสังคม
สาเหตุที่ประชาชนควรให้ความสำคัญต่อการติดตามและตรวจสอบเรื่องคอร์รัปชั่นในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เนื่องจากคอร์รัปชั่นทำให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ในบางกรณีอาจทำให้โครงการไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง และทำให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ อีกทั้ง อาจนำไปสู่ปัญหาหนี้สาธารณะในระดับสูง และเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน เบียดบังงบประมาณในการใช้จ่ายภาครัฐในประเด็นอื่นๆ เช่น การศึกษา การสาธารณสุข รวมทั้งเพิ่มต้นทุนให้แก่ประชาชน เนื่องจากสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพต่ำ
จากเหตุผลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นส่งผลกระทบในวงกว้างและมีผลระยะยาวต่อการพัฒนาประเทศ คณะผู้วิจัยจึงนำเสนอตัวอย่างกรณีศึกษา 7 กรณี ดังนี้
แผนภาพแสดงกรณีศึกษาปัญหาคอร์รัปชั่นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในอดีต