“ยาต้านไวรัสเอดส์” ของ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ คว้ารางวัล “วิทยาศาตร์สู่ความเป็นเลิศ” 1 ใน 215 ผลงานวิทยาศาสตร์ วุฒิสภา เตรียมจัดพิธีกย่องเชิดชูผู้นำความรู้ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม
วันที่ 30 ตุลาคม ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา จัดแถลงข่าวเรื่องโครงการ“วิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ” โดยนางนิลวรรณ เพชระบูรณิณ ประธานกรรมการจัดงานมอบรางวัลโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ กล่าวถึงโครงการ “วิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือสร้างสรรค์ประโยชน์ทางสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยจะจัดพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณแก่บุคคลและองค์กรต่าง ๆ ในวันอังคารที่ 5 พ.ย. 2555 ระหว่าง 7:30 – 12:00 ณ ห้องประชุมรัฐสภา และจะมีการจัดนิทรรศการแสดงตัวอย่างผลงานที่บริเวณห้องโถงอาคารรัฐสภาด้วย
สำหรับผู้ผ่านการคัดเลือกแบ่งออกเป็น 1.บุคคลทั่วไป 2.นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ 3.ผู้ประกอบการใหม่ 4.องค์กรภาคเอกชน และ5.องค์กรภาครัฐ จำนวน 15 สาขา ได้แก่ เกษตรกรรม อาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน สิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ การศึกษา บริการภาครัฐ การสื่อสาร โทรคมนาคม ความมั่นคง การผลิต การบริการ ศิลปวัฒนธรรม และสาขาอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 215 ผลงาน แบ่งตามพื้นที่เป็น กรุงเทพมหานคร 106 ผลงาน ต่างจังหวัด 109 ผลงาน
นางนิลวรรณ กล่าวถึงหลักเกณฑ์การตรวจพิจารณาผลงานที่ได้รับรางวัลจะต้องมีผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิต ไม่ก่อผลเสียต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และสุขภาพ
สำหรับตัวอย่างผลงานที่ได้รับใบประกาศเกียรติคุณอาทิ
ประเภทบุคคล “ยาต้านไวรัสเอดส์” โดย เภสัชกรหญิง ศ. (พิเศษ) ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ,ผศ.ดร.จิรพล สินธุนาวา อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงาน การลดภาวะโลกร้อน
ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา ครูอาจารย์ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ผู้นำการศึกษาทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต (e-learning) มาใช้ในระบบการศึกษาไทย, คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา (ศ.ดร.ธนวัตน์ จารุพงษ์สกุล) ผลงาน ขุนสมุทรจีน 49A2 ต้นแบบการแก้ไขปัญหาน้ำทะลกัดเซาะหาดโคลน
ประเภทผู้ประกอบการใหม่ “เครื่องป้องกันทุจริตการสอบด้วยรีโมตคอนโทรล” โดย บริษัท ที-เน็ต จำกัด ใช้เทคโนโลยีเครื่องรบกวนสัญญาณวิทยุ ไปรบกวนสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีรัศมีทำการสูงสุดไม่ต่ำกว่า 200 เมตร
ประเภทองค์กรภาครัฐ “ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร” โดย สำนักการจราจรและขนส่ง โดยโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้า ปรับปรุงพัฒนาเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง และการเพิ่มพื้นผิวจราจร และใน
ประเภทองค์กรภาคเอกชน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มี 5 ผลงานที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณ เป็นต้น