แจ้งให้ทราบ
Current Item Layout Template is 'default-thaireform' does not exist
- Please correct this in the URL or in Content Type configuration.
- Using Template Layout: 'default'
ภาคปชช.เล็งขับเคลื่อน ทวงถามความรับผิดชอบ ‘สรยุทธ’ ต่อจริยธรรมสื่อ
มูลนิธิไทยพีบีเอส จับมือภาคปชช.หาแนวทางลงโทษทางสังคม กรณีจริยธรรมสื่อ ยก 'ไร่ส้ม' จุดประเด็นรวมตัวขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ ฉะ 'ครอบครัวข่าว' ต้องไม่หนุนคนผิด
เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิไทยพีบีเอส ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและและเสริมสร้างจริยธรรมของสื่อ ได้จัดการประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนประเด็นปัญหาจริยธรรมสื่อและการคอร์รัปชั่นขององค์กรสื่อ ปัญหาจริยธรรมของคนทำสื่อ และการทำ CSR ขององค์กรสื่อที่แสวงหาผลประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง ยกกรณีนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมการผู้จัดการบริษัทไร่ส้ม จำกัด ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ออกมาชี้มูลความผิดก่อหน้านี้เป็นกรณีศึกษา โดยมีผู้แทนเครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายสื่อเด็กและเยาวชน เครือข่ายผู้หญิง นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน องค์กรวิชาชีพสื่อ เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น เข้าร่วมเสนอแนวทาง ณ ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 34 สำนักงาน สสส. (อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์)
ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า กรณีของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นกรณีที่สัมผัสได้ มีข้อเท็จจริง และสามารถจุดประเด็นต่อแก่กรณีความผิดอื่นๆ ในสังคมได้ ซึ่งการขับเคลื่อนและเรียกร้องในครั้งนี้เพื่อให้นายสรยุทธ ในฐานะที่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ออกมาแสดงความรับผิดชอบ ไม่ควรปล่อยให้คนโกงหรือคนทำผิดไม่แสดงความรับผิดชอบและอาศัยคราบสื่อหาชื่อเสียง ไม่อย่างนั้นควรมีการการลงโทษทางสังคม (Social Sanction)
การเคลื่อนไหวหรือการลงโทษทางสังคม (Social Sanction) นั้น มี 2 ระดับ คือ 1.ทางธุรกิจ กลุ่มผู้สนับสนุน 2.ระดับสังคม กลุ่มผู้บริโภค หากจะทำให้ได้ผลทั้งสังคมต้องร่วมกันขับเคลื่อน โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ผู้สนับสนุนโฆษณาจะเป็นส่วนที่เคลื่อนไหวได้ผลมากที่สุด
ส่วนภาคประชาชน เป็นหน้าที่ของสื่อสารมวลชนในการสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักให้ประชาชนมองเห็นประเด็นความผิด ความไม่ถูกต้องในการทำผิดจริยธรรมสื่อ เช่น การโฆษณาแฝง การแจกของอันเป็นที่มาของรายได้บางประเภทที่ไม่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ว่าคนกลุ่มนี้ยังควรได้รับการสนับสนุนอยู่หรือไม่ ทั้งนี้ ไม่ได้คาดหวังให้กรณีนี้เปลี่ยนแปลงสังคมได้ทันที แต่จะเป็นกรณีที่จุดประเด็นอื่นๆ ที่ต้องอาศัยการขับเคลื่อนของสังคมได้
สำหรับรูปแบบของการเคลื่อนไหวที่สามารถทำได้ เพื่อเรียกร้องการแสดงความรับผิดชอบ มีหลายทาง ได้แก่ 1.ทางกฎหมาย 2.การทำโพลล์ 3.เครือข่ายภาคประชาชนหรือเอ็นจีโอ 4.สื่ออสารมวลชนอื่นๆ และโซเชียลมีเดีย ที่จะเริ่มมีการรวมตัว ขับเคลื่อน และเรียกร้องอย่างเป็นระบบให้เกิดผลต่อจากนี้
อาทิ แง่มุมทางกฎหมาย มีการกระทำของนายสรยุทธ์ ที่ยังส่งผลต่อปัจจุบัน โดยกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบ คือ ผู้ถือหุ้นในกลุ่มบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) สามารถร้องเรียนได้ ในกรณีการขายโฆษณา แจกสินค้าหรือโฆษณาแฝงในรายการหลายชิ้นที่นอกเหนือจากเวลาโฆษณาที่มีอยู่ โดยเฉพาะเมื่อช่อง 3 มีช่วงรายการที่มุ่งเน้นความเป็น "ครอบครัวข่าว" จึงไม่ควรให้คนหรือสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ์หรือมีความผิดมาทำรายการเสนอต่อครอบครัวหรือผู้บริโภค โดยไม่แสดงความรับผิดชอบ