เครือข่ายวิทยุขนาดเล็ก ค้านเกณฑ์ออกใบอนุญาต ดูแต่กำลังส่ง ไม่มองเนื้อหา
ศูนย์ศึกษา กม.สื่อฯ ร่วมกับเครือข่ายวิทยุชุมชน-ท้องถิ่น ยื่นจดหมายเปิดผนึก กสทช. ชี้เลือกปฏิบัติกำลังส่งคลื่นเล็ก-คลื่นหลัก ค้านเกณฑ์ออกใบอนุญาตที่ดูแต่กำลังส่งไม่มองเนื้อหา ร้องขอเปิดงบประชาพิจารณ์
เร็วๆนี้ ศูนย์ศึกษากฏหมายและนโยบายสื่อมวลชน เครือข่ายสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย (สวทท.) ทำจดหมายเปิดผนึกถึงประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ(กสทช.) ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) เรื่อง “ข้อเสนอประเด็นทิศทางของวิทยุกระจายเสียงขนาดเล็กในประเทศไทย”
ระบุว่าจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่กสทช.ร่างประกาศหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง โดยเฉพาะในการทำประชาพิจารณ์ร 20 ก.ค.55 ทำให้เกิดความกังวลอย่างยิ่งว่าร่างดังกล่าวขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน และไม่สะท้อนถึงหลักการพื้นฐานที่มีอยู่ในแผนแม่บทเรื่องความเป็นธรรมในการแข่งขันเสรี ความเป็นธรรมด้านการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และสิทธิภาคประชาชนที่จะได้ใช้คลื่นความถี่ อาจทำให้เกิดการคงสภาพปัญหาเดิมและไม่เอื้อต่อการปรับดัวของวิทยุขนาดเล็กในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่การออกใบอนุญาต
ทั้งนี้เครือข่ายได้ร่วมกันจัดเสวนา "ทิศทางวิทยุขนาดเล็ก: มองอนาคตผ่านนโยบายกสทช." เมื่วันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยระดมความเห็นจากตัวแทนผู้ประกอบการ นักวิชาการ สื่อมวลชน และ กสทช. และได้รวบรวมเป็นข้อเรียกร้องดังนี้ 1.การทำประชาพิจารณ์ของ กสทช.ควรเปิดเผยงบประมาณที่ใช้เพื่อพิจารณาว่าเปล่าประโยชน์หรือไม่ โดยประเมินประสิทธิภาพว่าภายหลงการจัดรับฟังความคิดเห็นแล้วนำมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายมากหรือน้อยเพียงใด 2.มาตรการเรื่องกำลังส่งที่ได้รับอนุญาตสำหรับผู้ประกอบการรายเดิม โดยในขณะที่ กสทช.กำสังจัดทำประกาศฯหสักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงเพื่อควบคุมกำสังส่งและการดำเนินงานของสถานีวิทยุขนาดเล็กนั้น ควรมีมาตรการควบคุมสถานีวิทยุหลักซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายเดิมให้ปฏิบัตตามเงื่อนไขเรื่องกำลังส่งที่ได้รับอนุญาตพร้อมกันไปโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ
3.องค์ประกอบเพื่อการพิจาณาออกใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กสทช.ควรพิจารณาให้ครอบคลุมทุกด้าน เช่น คุณภาพด้านเนื้อหา ความหนาแน่นของประชากร จำนวนที่เป็นไปได้ของคลื่นความถี่เพื่อให้การส่งกระจายเสียงมีประสิทธิภาพมีคุณภาพ ลักษณะภูมิประเทศ ไม่ใช่นำวิธีการกำหนดขนาดกำลังเครื่องส่งด้านเทคนิคมาเป็นตัวชี้วัดประการเดียว 4.การจัดคณะทำงานกำกับดูแลความเรียบร้อยในระดับพื้นที่ เพื่อกำกับดูแลสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทศน์(เคเบิ้ลทีวี)จำนวนมาก ควรจัดโครงสร้างองค์กรให้มีคณะทำงานที่ประกอบด้วย กสทช. ระดับจังหวัด หรือระดับภาค เพราะจะเข้าใจปัญหาในพื้นที่ได้ดีกว่าส่วนกลาง
5.การเปิดเผยข้อมูลด้านเทคโนโลยีในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับวิทยุขนาดเล็ก กสทช. ควรให้ข้อมูลความรู้รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลด้านเทคโนโลยีดิจิตอลในอนาคตที่เพียงพอเพื่อใช้ในการวางแผนงานของสถานีวิทยุขนาดเล็ก ที่ยังเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารด้านนี้ เพื่อป้องกันการหลอกลวงจากกลุ่มทุนที่แสวงหาประโยชน์จากการขายเครื่องส่งมาอย่างต่อเนื่อง .
::ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต