- Home
- Thaireform
- หลากมิติ
- ยุทธศาสตร์ชาติ
- สภาผ่านร่างความตกลงFATCA
สภาผ่านร่างความตกลงFATCA
วันที่ 4 ธันวาคม 2557 นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ระบุถึงกรณีสภาผ่านร่างความตกลง FATCA (Foreign Account Tax Compliance Act) ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐ ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวม.23 ซึ่งกฎหมายของสหรัฐแต่มีผลให้ไทยต้องลงนามและปฏิบัติตาม เป็นกฎหมายที่จะตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษีของ US Citizens และUS Residents ทั่วโลก ออกมาเพื่อบังคับสถาบันการเงินนอกสหรัฐทุกแห่งทั่วโลกให้มีหน้าที่รายงานธุรกรรมทางการเงินของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสัญชาติสหรัฐที่เป็นลูกค้าของสถาบันการเงินนั้นๆ ให้รายงานข้อมูลเพื่อตรวจสอบและป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีของคนสหรัฐและบริษัทอเมริกันที่มีรายได้จากนอกสหรัฐ โดยต้องรายงานตรงไปยังกรมสรรพากรสหรัฐ (Internal Revenue Service: IRS) โดยถือว่า ณ วันที่ 10 มิ.ย.2557 บัญชีที่น้อยกว่า50,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ กรมธรรม์ประกันชีวิตต่ำกว่า 250,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ไม่ต้องถูกตรวจสอบและไม่ต้องรายงาน
ถ้าสถาบันการเงินไม่ดำเนินการจะถูกลงโทษด้วยการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากรายได้ทุกประเภทที่ทำธุรกรรมในสหรัฐ ร้อยละ 30 เช่น การฝากเงิน การลงทุนหรือการปล่อยสินเชื่อ
สถาบันการเงินนี้ครอบคลุมเกือบทุกประเภท ทั้งธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุน บริษัทกองทุนรวม บริษัทประกัน กองทุนกบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯลฯ
ประเทศที่ลงนามข้อตกลงมี 101 ประเทศ ลงนามไปแล้ว 42 ประเทศ แถวอาเซียนที่ลงนามแล้วมีสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโด ฟิลิปปินส์ กัมพูชา
ไทยไม่มีสิทธิทำอย่างอื่น เพราะไม่สามารถปฏิเสธการทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงินสหรัฐได้
ในขณะนี้สถาบันการเงินไทยได้ลงนามในข้อตกลงกับสหรัฐหมดแล้ว
การที่ต้องจัดทำความตกลงในระดับรัฐบาลเพื่อแก้ไขข้อติดขัดทางกฎหมายและลดภาระในการดำเนินการที่จะเกิดขึ้นกับสถาบันการเงินไทย ในขณะที่กฎหมายไทยคือ กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินและกฎหมายข้อมูลข่าวสารไม่อนุญาตให้สถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูลลูกค้าเว้น แต่เปิดเผยเพื่อประโยชน์ตามที่กฎหมายบัญญัติหรือที่กำหนดไว้ในพรฎ.
อนึ่งไทยเคยทำข้อตกลงกับสหรัฐฉบับย่อไว้แล้วในปี 2556 ฉบับนี้จึงเป็นข้อตกลงฉบับเต็ม
และจะมีกฎหมายตามออกมาบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ให้เร็วที่สุด
เป็นความตกลงเพื่อความร่วมมือด้านภาษีอากรระหว่างประเทศด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็น Reciprocal โดยใช้ US TIN&THAI TIN) คือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรแทนบุคคล
สหรัฐก็ต้องรายงานให้ไทยในกรณีเจ้าของบัญชีในสหรัฐเป็นคนไทยมีถิ่นที่อยู่ในไทย มีดอกเบี้ยจ่ายเข้าบัญชีเกินกว่า 10 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ใน 1 ปี หรือมีแหล่งรายได้ที่โอนเข้าบัญชีอื่นๆนอกเหนือจากบัญชีเงินฝากและกฎหมายสหรัฐกำหนดให้ต้องรายงาน
เป็นประโยชน์ในการตามเก็บภาษีตามกฎหมายของไทยและเป็นช่องทางในการติดตามการโยกย้ายเงินในกรณีการฟอกเงินจากธุรกิจผิดกฎหมายจากไทยไปสหรัฐจากความตกลงฉบับนี้และจากประเทศอื่นๆที่เข้าร่วม โดยเฉพาะถ้าใช้ประโยชน์ร่วมกับกฎหมายฟอกเงิน แต่ไทยจะต้องมีเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญในปัญหานี้เพิ่มขึ้นอีกและรัฐบาลจะต้องจริงจังกับปัญหานี้