นักวิชาการ-ภาคพลเมือง ค้านการปรับเปลี่ยนช่อง MCOT Family
นักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาสังคม และพลเมืองที่ห่วงใยอนาคตของเด็กไทย จี้กสทช. พิจารณาการขอปรับเปลี่ยนเนื้อหาและนโยบายของช่อง MCOT Family ที่อาจขัดต่อกฎหมาย และเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคสื่อ พร้อมขอให้ อสมท ทบทวนถึงบทบาทและพันธกิจขององค์กรที่มีต่อสังคมไทย
เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาสังคม และพลเมือง ออกแถลงการณ์ เรื่อง ขอคัดค้านการปรับเปลี่ยนช่อง MCOT Family ดังนี้
ตามที่ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้ให้ข้อมูลปรากฏในสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ว่า อสมท มีนโยบายปรับเปลี่ยนช่อง MCOT Family สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เป็นช่อง MCOT 14 ที่เน้นรายการประเภทส่งเสริมธุรกิจ SMEs และการขายสินค้าผ่านระบบ e -commerce ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป โดยกำหนดสัดส่วนเนื้อหารายการของสถานีเป็นรายการประเภทวาไรตี้และขายสินค้า 65% คงเหลือเป็นเนื้อหาสำหรับเด็กและการ์ตูน 15% รายการกีฬาและข่าวอย่างละ 10% นั้น
ในฐานะนักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาสังคม และพลเมืองที่ห่วงใยอนาคตของเด็กไทย มองเห็นความสำคัญและคุณค่าของสื่อที่มีต่อเด็ก จึงขอคัดค้านการกระทำดังกล่าวของ อสมท และขอเรียกร้องให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะองค์กรกำกับดูแล ทำหน้าที่กำกับดูแลตามพันธกิจดังที่ควรจะเป็น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเด็กและคนไทยทุกคน
แม้ปัจจุบัน เด็กไทยจะมีโอกาสรับสื่อต่าง ๆ มากมาย แต่สื่อโทรทัศน์ก็ยังคงเป็นสื่อหลัก การมีรายการโทรทัศน์ที่ดี มีคุณค่า มุ่งตอบสนองการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่นานาอารยประเทศ “จำเป็นต้องมี” มิใช่เพียงแค่ “ควรจะมี” แต่น่าเศร้าที่การส่งเสริมและการกำกับดูแลเรื่องรายการโทรทัศน์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชนถูกละเลยและมองข้ามด้วยเหตุผลทางธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ในเมืองไทยมาตลอด
การเกิดขึ้นของสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีระบบดิจิตอล หมวดช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว จึงเป็นความหวังสำคัญของสังคมไทย การที่ อสมท เป็นหนึ่งในองค์กรที่ประมูลคลื่นความถี่และได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์หมวดดังกล่าว ทำให้เกิดความหวังว่า ประเทศไทยจะมีสื่อที่มีคุณภาพด้วยประสบการณ์และอุดมการณ์ของบุคลากร อสมท ที่หวังจะเห็นสังคมไทยเป็น “สังคมอุดมปัญญา” สอดคล้องกับบทบาทและพันธกิจที่ควรจะเป็นของสถานีโทรทัศน์หมวดช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว แต่ในวันนี้ อสมท กลับละทิ้งอุดมการณ์ในอดีตของตนเอง ไม่ใส่ใจต่อการสร้างสภาพแวดล้อมและสื่อที่ดีสำหรับเด็ก ซึ่งจะเติบโตขึ้นไปเป็นทรัพยากรของสังคมและประเทศชาติ
ยิ่งกว่านั้น การประมูลและได้รับใบอนุญาตดังกล่าวของ อสมท เป็นการประมูลในช่องหมวดเนื้อหาเฉพาะที่ระบุไว้ตั้งแต่ก่อนการประมูล เป็นอัตราการประมูลและค่าใบอนุญาตที่ต่ำกว่าสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีระบบดิจิตอลหมวดอื่น ๆ หาก กสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลอนุญาตให้ อสมท สามารถปรับเปลี่ยนนโยบายและเนื้อหาช่อง ผิดจากเจตนารมณ์ในการจัดแบ่งประเภทของใบอนุญาตได้ ก็เท่ากับ กสทช.ในฐานะผู้กำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย กลับละเมิดกฎหมาย บิดเบือนเจตนารมณ์ของการปฏิรูปสื่อที่ผ่านการต่อสู้ของผู้คนจำนวนมากมายาวนาน
พวกเราดังมีรายนามท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ จึงขอให้ กสทช. พิจารณาการขอปรับเปลี่ยนเนื้อหาและนโยบายของช่อง MCOT Family ที่อาจขัดต่อกฎหมาย และเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคสื่อ อีกทั้งขอให้ อสมท ทบทวนถึงบทบาทและพันธกิจขององค์กรที่มีต่อสังคมไทย เนื่องจาก อสมท เป็นองค์กรสื่อสารมวลชนที่ใช้คลื่นความถี่อันเป็น “สมบัติสาธารณะ” มิใช่เพียงแค่องค์กรธุรกิจ ดังนั้น การตัดสินใจใด ๆ ในการแก้ปัญหาเรื่องธุรกิจและความอยู่รอดขององค์กร จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสาธารณะ ภายใต้กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพของสื่อมวลชนด้วย
วันที่ 25 ตุลาคม 2560
ลงชื่อ
1. ผศ.มรรยาท อัครจันทโชติ (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
2. ผศ.เมธา เสรีธนาวงศ์ (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
3. อาจารย์สุภาพร โพธิ์แก้ว (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
4. ผศ.ณาณัฏฐ์ธัญ วงศ์บ้านดู่ (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
5. อาจารย์พักตร์พิไล คุปตะวาทิน (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
6. ผศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
7. ผศ.ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
8. ผศ.ดร.ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
9. อาจารย์ ดร.ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
10. อาจารย์ ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
11. อาจารย์ ดร.กฤษณะ พันธุ์เพ็ง (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
12. ชีวัน วิสาสะ (นักเขียนหนังสือเด็ก)
13. ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต (คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ นิด้า)
14. รศ.ดร.ลักษณา คล้ายแก้ว (คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต)
15. ผศ.นันทสิทธิ์ กิตติวรากูล (คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
16. อาจาย์ ดร.ศศิธร ยุวโกศล (วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
17. ผศ.ดร.นิษฐา หรุ่นเกษม (สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร)
18. ผศ.จิรภัทร กิตติวรากูล (คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ)
19. อาจารย์ ดร.มาโนช ชุ่มเมืองปัก (คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์)
20. อาจารย์ ดร.รดี ธนารักษ์ (สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์)
21. อาจารย์ญาณินี เพชรานันท์ (คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)
22. รณวิทย์ สิมะเสถียร (สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน)
23. สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน (สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน)
24. อัญญาอร พานิชพึ่งรัถ (เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ)
25. อิมรอน เชษฐวัฒน์ (เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ)
26. ดร.ชาญชัย ชัยสุขโกศล
27. อาจารย์อภิษฎา ทองสะอาด (สถาบันอาศรมศิลป์)
28. พรพรรณ ชัยนาม (ผู้ดำเนินรายการวิทยุสำหรับเด็ก)
29. อาจารย์ยุทธนา สุวรรณรัตน์ (คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม)
30. รัศมี มณีนิล (ผู้ดำเนินรายการวิทยุเพื่อเด็กและครอบครัว)
31. อาจารย์ ดร.นันทกา สุธรรมประเสริฐ (คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล)
32. ธัญพร เฮงวัฒนอาภา (ผู้ผลิตรายการวิทยุอิสระ)
33. นฤชิต เฮงวัฒนอาภา (ผู้ผลิตรายการวิทยุอิสระ)
34. ผศ.พิมพ์ณัฐชยา สัจจาศิลป์ (วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต)
35. ผศ.สกุลศรี ศรีสารคาม (คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์)
36. ผศ.ดร.ภัทรา บุรารักษ์ (คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา)
37. อาจารย์พิเชษฐ์ แตงอ่อน (คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ)
38. ผศ.ดร.วรัตต์ อินทสระ (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต)
39. ผศ.ดร.จตุรงค์ ดวงจินดา (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต)
40. ไวยิ่ง ทองบือ (ประธานเครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง)
41. อาจารย์ณิชาภา แก้วประดับ (มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา)
42. ชัญญา สกุลวรศิลป์ (ศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบจังหวัดเชียงใหม่)
43. อาจารย์ ดร. สรชัย กมลลิ้มสกุล (สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)
44. ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ (มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา)
45. สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์
46. วรินทร์เนตร เติมศิริกมล (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
47. รัฐชยุตม์ เติมศิริกมล (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
48. ฑิตฐิตา ธงปราริน (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
49. พิมพ์สิน ศิริโชติชำนาญ (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
50. นิภาพร ณ เชียงใหม่ (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
51. ขวัญใจ ภักดีวิเศษ (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
52. บรรจบ ไชยรัตน์ (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
53. ตุ๊กตา สบายจิตต์ (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
54. พงศ์ประวิตร ภัทรพิบูลศิริ (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
55. เกวลี ดวงเด่นงาม (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
56. ภาวินี แจ่มเจนศิลป์ (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
57. วิลาวัณย์ วัลลภธารี (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
58. กฤดิกมล เกิดโต (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
59. ชาญไชย วิกรวงษ์วนิช (เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ)
60. สมจิตต์ อมรเพชรกุล (เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ)
61. เข็มพร วิรุณราพันธ์ (สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน)
62. สารี อ๋องสมหวัง (มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค)
63. ชูวิทย์ จันทรส (เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์)
64. สุภาพร ถิ่นวัฒนากูล (เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือ)
65. จะเด็จ เชาวน์วิไล (มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล)
66. วีรพงษ์ เกรียงสินยศ (มูลนิธิสุขภาพไทย)
67. สุดใจ พรหมเกิด (ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน)
68. สุมณฑา ปลื้มสูงเนิน (กลุ่มไม้ขีดไฟ)
69. กัญญานันท์ ตาทิพย์ (เครือข่ายองค์กรงดเหล้า ภาคอีสานตอนล่าง)
70. กษิดิศ ขันธรัตน์ (เครือข่ายลดอุบัติเหตุ)
71. เชษฐา มั่นคง (มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก)
72. ฐาณิชชา ลิ้มพานิช (มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว)
73. เภสัชกรสงกรานต์ ภาคโชคดี (ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า)
74. ธีรภัทร์ คหะวงศ์ (เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่)
75. อมรรัตน์ พุฒเจริญ (เครือข่ายพุทธิกา)
76. ผศ. พรพรรณ เชยจิตร (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร)
77. พงศ์พิเชฐ ศิริโชติชำนาญ (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
78. พิชญ์สินี ศิริโชติชำนาญ (ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก)
79. คณะทำงานลงขันความคิดปฎิรูปประเทศไทย
80. พ.ญ.เบญจพร ตันตสูติ (จิตแพทย์เด็ก แอดมินเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา)