ขมวดปม! โชว์ตัวเลขสืบราคา สตง. มัด 'อบจ.ปทุมฯ' จัดซื้อเครื่องออกกำลังแพงเกินจริง 44 ล.
"...เมื่อนำราคาของเครื่องออกกำลังกายที่อบจ.ปทุมธานีจัดซื้อในปี 2555 – 2556 จำนวน 12 สัญญา รวมเครื่องออกกำลังกาย จำนวน 151 ชุด คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 74,118,500.-บาท เปรียบเทียบกับเครื่องออกกำลังกายที่ได้จากการสืบราคาคิดเป็นเงิน 29,544,487.86 บาท (195,658.86 x 151) อบจ.ปทุมธานีจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายในราคาสูงเกินกว่าความเป็นจริง เป็นเงิน 44,574,012.14 บาท (74,118,500 - 29,544,487.86)...พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเชื่อได้ว่าเป็นการทุจริตทำให้ราชการได้รับความเสียหาย..."
หากใครที่ติดตามข่าวการตรวจสอบโครงการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย จำนวน 12 สัญญา ในช่วงปีงบประมาณ 2555-2556 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ปทุมธานี วงเงิน 74 ล้านบาท ซึ่งถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบพบว่า มีการตั้งราคาจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายสูงเกินกว่าความเป็นจริงถึงกว่า 40 ล้านบาท และมีการส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับเรื่องไปไต่สวนข้อเท็จจริง อันเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ นายชาญ พวงเพ็ชร์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) ปทุมธานี ปรากฎชื่อเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่รัฐ 70 ราย ที่ถูก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ลงนามในคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 35/2560 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 9 (จำนวนเจ้าหน้าที่รัฐที่ปรากฎรายชื่อมีทั้งหมด 70 ราย) ต้องถูกระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่เป็นการชั่วคราว เพื่อเข้าสู่กระบวนการตั้งคณะกรรมการสอบสวนจากหน่วยงานตนสังกัดเป็นทางการ (อ่านประกอบ : ซื้อเครื่องออกกำลังสูงเกินจริง44ล.-ตั้งบ.ประมูลงาน!ชัดๆข้อกล่าวหา5นายกฯอบจ.ม.44ล็อต 9, ฉบับเต็ม!ผลสอบสตง.มัดนายกฯ อบจ.ปทุม-พวก ซื้อเครื่องออกกำลังสูงเกินจริง44ล.ส่งป.ป.ช.ฟัน )
คงจะทราบข้อมูลกันไปแล้วว่า ภายหลังสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ขยายผลการตรวจสอบการดำเนินงานโครงการนี้ พบข้อมูลใหม่ เพิ่มเติม คือ
1. บริษัทเอกชน ที่ปรากฎชื่อทำสัญญาซื้อขายเครื่องออกกำลังกายกับ อบจ. ปทุมธานี ทั้ง 12 สัญญา มี 2 ราย คือ บริษัท สไลเดอร์เวิลด์ซิสเต็มส์ จำกัด จำนวน 4 สัญญา และ บริษัท สมุปบาท จำกัด จำนวน 8 สัญญา และได้มีการเบิกจ่ายเงินให้กับผู้ขายไปแล้วทั้ง 12 สัญญา แจ้งใช้เบอร์โทรศัพท์ติดต่อเดียวกัน รวมถึงผู้รับมอบอำนาจ และพยานในการติดต่อราชการกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย จึงทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทเอกชนทั้ง 2 แห่ง แท้จริงแล้วอาจเป็นบริษัทกลุ่มเดียวกัน? (อ่านประกอบ : โชว์หราเว็บไซต์ใช้เบอร์เดียวกัน! เปิดตัว2บ.ขายเครื่องออกกำลังกายอบจ.ปทุมฯคดีม.44ล็อต9, ใช้ผู้รับมอบอำนาจ-พยานเดียวกัน! เปิดหลักฐานมัด2บ.เครื่องออกกำลังกายอบจ.ปทุมฯ44ล.)
2. ในจำนวน 12 สัญญา ขายเครื่องออกกำลังกายให้กับ อบจ.ปทุมธานี วงเงิน 74 ล้านบาทดังกล่าว มีหลายสัญญาที่ปรากฎชื่อ บริษัท สไลเดอร์เวิลด์ ซิสเต็มส์ จำกัด และ บริษัท สมุปบาท จำกัด เข้าร่วมเสนอราคาแข่งขันงานพร้อมกัน ซึ่งถ้าหากมีการตรวจสอบพบพฤติการณ์ของบริษัททั้งสองแห่งว่า มีลักษณะเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ให้เป็นผู้ชนะการแข่งขันได้งานไป จะถือว่าส่อเข้าข่ายกระทำความผิดฝ่าฝืนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว หรือไม่? (อ่านประกอบ : ชัดเลย! ยื่นซองแข่งงานพร้อมกัน-เจาะข้อมูลมัด2บ.ขายเครื่องออกกำลังกายอบจ.ปทุมฯ74ล.)
ขณะที่สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบพบข้อมูลว่า ในรายงานการตรวจสอบของ สตง. นั้น มีการระบุว่า ในขั้นตอนการจัดซื้อไม่ปรากฎข้อมูลว่ามีการดำเนินการสืบราคาจากบริษัทจำหน่ายตามท้องตลาดตามที่ปรากฏในรายงานขอซื้อแต่อย่างใด นอกจากนี้ราคาเครื่องออกกำลังกายในท้องตลาดอยู่ที่ ชุดละ 1.9 แสนบาท แต่ตั้งราคาจัดซื้อไว้ 5 แสนบาท ส่วนการจัดทำร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 และ 2556 ทางอบจ.ปทุมธานี ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (สจ.) ปทุมธานี เพื่อให้เสนอโครงการมาที่อบจ.ภายในวงเงินคนละ 5 ล้านบาท เฉพาะในส่วนวงเงินงบประมาณโครงการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายชุดละ 500,000.-บาท (อ่านประกอบ : จัดงบให้สจ.หัวละ5ล้าน! เบื้องหลังอบจ.ปทุมฯ ซื้อเครื่องออกกำลังกายแพงเกินจริง44ล.)
ทั้งนี้ ในส่วนของประเด็นเรื่องราคาเครื่องออกกำลังกายในท้องตลาดอยู่ที่ ชุดละ 1.9 แสนบาท แต่ตั้งราคาจัดซื้อไว้ 5 แสนบาท และนำไปสู่การตรวจสอบข้อมูลพบว่า อบจ.ปทุมธานี จัดซื้อของเพิ่มเกินราคาจริงไปจำนวนทั้งสิ้น 44 ล้านบาท นั้น
สำนักข่าวอิศรา พบว่า สตง.ได้สืบราคาการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานีในปี 2554 – 2556 จำนวน 14 หน่วยงาน มีรายละเอียดดังนี้
อปท. |
ผู้ขาย |
จำนวนเงิน (บาท) |
จำนวนชุด |
จำนวนเครื่องออกกำลังกาย (ตัว/ชุด) |
ปี 2554 |
|
|
|
|
1. อบต.ลาดสวาย ปัจจุบันยกฐานะ (ทม.ลาดสวาย) |
หจก.เพชรพิจิตร คอนสตรัคชั่น |
499,000.00 |
5 |
7
|
บริษัท สยาม อาร์ แอนด์ ดี อินเตอร์ จำกัด |
998,000.00 |
10 |
7
|
|
2. ทต.บางเตย |
บริษัท สรรวิทย์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด |
530,000.00 |
1 |
31
|
3. ทต.ธัญบุรี |
บริษัท สรรวิทย์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด |
1,968,000.00 |
5 |
20 |
ปี 2555 |
|
|
|
|
4. อบต.คูบางหลวง |
หจก.วี.อาร์.แอล.คอนสตรัคชั่น |
99,189.00 |
1 |
8 |
5. อบต.บ้านฉาง
|
ร้านธนพร |
95,400.00 |
1 |
7 |
ร้าน ตรีสุวรรณพานิชย์ |
100,000.00 |
1 |
6 |
|
|
|
|
|
|
6. ทต.บางเตย |
บริษัท สรรวิทย์เอ็นจิเนียริ่ง |
90,900.00 |
1 |
6 |
95,900.00 |
1 |
6 |
||
96,000.00 |
1 |
6 |
||
92,400.00 |
1 |
6 |
||
อปท. |
ผู้ขาย |
จำนวนเงิน (บาท) |
จำนวนชุด |
จำนวนเครื่องออกกำลังกาย (ตัว/ชุด)
|
ปี 2556 |
|
|
|
|
7. ทต.หลักหก |
บริษัท แกมมาโก้(ประเทศไทย)จำกัด |
299,400.00 |
2 |
4 |
299,500.00 |
2 |
4 |
||
8. ทต.สามโคก |
หจก.ไทยเสรี ไทยประดิษฐ์ |
70,000.00 |
1 |
8 |
70,000.00 |
1 |
8 |
||
70,000.00 |
1 |
8 |
||
70,000.00 |
1 |
8 |
||
9. อบต.เชียงรากใหญ่ |
ร้านเจริญการค้า |
790,400.00 |
8 |
8 |
10. ทต.ธัญบุรี |
หจก.เพชรพิจิตร คอนสตรัคชั่น |
1,498,000.00 |
5 |
20 |
11. อบต.คลองสี่ |
หจก.คงมิตรภาพ |
99,938.00 |
1 |
5 |
12. อบต.ลำลูกกา |
หจก.ไทยเสรีประดิษฐ์ |
968,000.00 |
10 |
7 |
13. ทต.ลำลูกกา |
ร้านเมอร์ริช เซอร์วิส แอนด์ |
496,500.00 |
2 |
8 |
หจก.อะโกลวเทคโนโลยีและวิศวกรรม |
497,000.00 |
2 |
8 |
|
บริษัท อินครีซ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด |
493,000.00 |
2 |
8 |
|
14. ทม.บึงยี่โถ |
หจก.เพชรพิจิตรคอนสตรัคชั่น |
1,052,000.00 |
8 |
5 |
นอกจากนี้ สตง.ยังได้สืบราคาเครื่องออกกำลังกายจากผู้จำหน่ายเครื่องออกกำลังกายในจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดใกล้เคียง เมื่อเดือนมีนาคม 2557 จำนวน 3 ราย โดยระบุความต้องการของเครื่องออกกำลังกายที่มีอุปกรณ์ออกกำลังกายประเภทและคุณลักษณะ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง ความหนาของเหล็ก และคุณภาพของสีที่ใกล้เคียงกับเครื่องออกกำลังกายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีที่จัดซื้อในปี 2555 – 2556 ได้รับแจ้งข้อมูลดังนี้
ชนิดอุปกรณ์ |
ราคาเครื่องออกกำลังกายของผู้จำหน่ายที่สืบราคา (บาท) |
ราคาช่วงกลางระหว่างราคาสูงสุดและต่ำสุด |
งบประมาณเครื่องออกกำลังกาย อบจ.ปทุมธานี |
||
บริษัท ด. (ชื่อย่อ) |
บริษัท น. (ชื่อย่อ) |
บริษัท ฟ. (ชื่อย่อ) |
|||
1.อุปกรณ์บริหารหน้าท้อง 2.อุปกรณ์ปั่นเท้า 3. อุปกรณ์บริหารหัวไหล่ 4. อุปกรณ์โยกบริหารแขน 5. อุปกรณ์บริหารหน้าท้องและแขน 6. อุปกรณ์บริหารส่วนเอวและส่วนขา 7. อุปกรณ์ผ่อนคลายส่วนเอวและหลัง 8. อุปกรณ์ฝึกเดิน |
20,000.- 20,000.- 20,000.- 20,000.- 20,000.- 20,000.- 20,000.- 20,000.- |
23,750.- 23,750.- 27,000.- 27,000.- 23,750.- 27,000.- 23,750.- 22,125.- |
26,543.76 26,543.76 26,916.65 30,559.20 22,341.87 26,025.34 27,389.59 23,665.19 |
23,750.00 23,750.00 26,916.65 27,000.00 22,341.87 26,025.34 23,750.00 22,125.00 |
- - - - - - - - |
รวมราคาทั้งหมด (1 ชุด) |
160,000.- |
198,125.- |
209,985.36 |
195,658.86 |
500,000.- |
เมื่อนำราคาของเครื่องออกกำลังกายในช่วงกลางระหว่างราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดที่ได้จากการสืบราคาจากทั้ง 3 บริษัท โดยเครื่องออกกำลังกาย 1 ชุด มีอุปกรณ์ออกกำลังกาย 8 ประเภท พบว่า เครื่องออกกำลังกายมีราคาชุดละ 195,658.86 บาท แต่องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีตั้งงบประมาณเพื่อจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายในราคาชุดละ 500,000.-บาท การตั้งงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีสูงกว่าการสืบราคาชุดละ 304,341.14 บาท (500,000-195,658.86) และเมื่อนำราคาของเครื่องออกกำลังกายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีจัดซื้อในปี 2555 – 2556 จำนวน 12 สัญญา รวมเครื่องออกกำลังกาย จำนวน 151 ชุด คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 74,118,500.-บาท เปรียบเทียบกับเครื่องออกกำลังกายที่ได้จากการสืบราคาคิดเป็นเงิน 29,544,487.86บาท (195,658.86 x 151) องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายในราคาสูงเกินกว่าความเป็นจริง เป็นเงิน 44,574,012.14 บาท (74,118,500 - 29,544,487.86) ตามรายละเอียดดังนี้
เลขที่สัญญา |
จำนวนชุด |
ราคาที่ อบจ.ปทุมธานีจัดซื้อ (บาท) |
ราคาจากการสืบราคา (บาท) |
อบจ.ปทุมธานีจัดซื้อราคา |
||
วงเงินตามสัญญา |
ราคา/ชุด |
ราคารวม |
ราคา/ชุด |
|||
5/2555 |
23 |
11,310,000.00 |
491,739.13 |
4,500,153.78 |
195,658.86 |
6,809,846.22 |
7/2555 |
31 |
15,253,000.00 |
492,032.25 |
6,065,424.66 |
195,658.86 |
9,187,575.34 |
12/2555 |
3 |
1,475,000.00 |
491,666.66 |
586,976.58 |
195,658.86 |
888,023.42 |
5/2556 |
2 |
989,000.00 |
494,500.00 |
391,317.72 |
195,658.86 |
597,682.28 |
6/2556 |
4 |
1,978,000.00 |
494,500.00 |
782,635.44 |
195,658.86 |
1,195,364.56 |
7/2556 |
20 |
9,924,000.00 |
486,200.00 |
3,913,177.20 |
195,658.86 |
6,010,822.80 |
8/2556 |
4 |
1,980,000.00 |
495,000.00 |
782,635.44 |
195,658.86 |
1,197,364.56 |
17/2556 |
13 |
6,361,000.00 |
489,307.69 |
2,543,565.18 |
195,658.86 |
3,817,434.82 |
21/2556 |
9 |
4,381,000.00 |
486,777.77 |
1,760,929.74 |
195,658.86 |
2,620,070.26 |
26/2556 |
11 |
5,365,000.00 |
487,727.27 |
2,152,247.46 |
195,658.86 |
3,212,752.54 |
27/255ต |
16 |
7,790,000.00 |
486,875.00 |
3,130,541.76 |
195,658.86 |
4,659,458.24 |
28/2556 |
15 |
7,312,500.00 |
487,500.00 |
2,934,882.90 |
195,658.86 |
4,377,617.10 |
รวมทั้งสิน |
151 |
74,118,500.00 |
|
29,544,487.86 |
|
44,574,012.14 |
ขณะที่ แหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้สัมภาษณ์ยืนยันสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ก่อนหน้านี้ ว่า ในปีงบประมาณ 2555 - 2556 อบจ.ปทุมธานี ได้จัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย จำนวน 12 สัญญา ในแต่ละสัญญาได้นำงบประมาณตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม รวมถึงงบประมาณที่มีการโอนเพื่อตั้งจ่ายเป็นรายการใหม่ซึ่งผ่านความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี โดยนำวงเงินตามงบประมาณในแต่ละโครงการมากำหนดเป็นราคาเริ่มต้นในการประมูล และในขั้นตอนการขออนุมัติจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม อบจ.ปทุมธานี ไม่ได้สืบราคาของเครื่องออกกำลังกายจากบริษัทที่จำหน่ายตามท้องตลาดและท้องถิ่นอื่นตามที่ปรากฏในรายงานขอซื้อแต่อย่างใด ต่อมา อบจ.ปทุมธานีได้ทำสัญญาซื้อขายเครื่องออกกำลังกายจากผู้ขายซึ่งประกอบด้วยบริษัท สไลเดอร์เวิลด์ซิสเต็มส์ จำกัด จำนวน 4 สัญญา และบริษัท สมุปบาท จำกัด จำนวน 8 สัญญา รวม 12 สัญญา เป็นเงินทั้งสิ้น 74,118,500บาท ซึ่งอบจ.ปทุมธานีได้มีการเบิกจ่ายเงินให้กับผู้ขายไปแล้วทั้ง 12 สัญญา
อย่างไรก็ตาม จากการสุ่มตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสตง.พบว่า ในปีงบประมาณ 2554 – 2556 มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานีจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายหลายหน่วยงาน แต่อบจ.ปทุมธานีก็ไม่ได้ดำเนินการสืบราคาจากหน่วยงานท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี อีกทั้ง ในรายงานขอซื้อเครื่องออกกำลังกายไม่ได้มีการระบุราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ ดังนั้น การจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายของอบจ.ปทุมธานี จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 20 (3)
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ สตง.ได้สืบราคาเครื่องออกกำลังกายจากผู้จำหน่ายเครื่องออกกำลังกายในจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดใกล้เคียง เมื่อเดือนมีนาคม 2557 จำนวน 3 ราย โดยระบุความต้องการของเครื่องออกกำลังกายที่มีอุปกรณ์ออกกำลังกายประเภทและคุณลักษณะ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง ความหนาของเหล็ก และคุณภาพของสีที่ใกล้เคียงกับเครื่องออกกำลังกายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีที่จัดซื้อในปี 2555 – 2556 โดยเครื่องออกกำลังกาย 1 ชุด มีอุปกรณ์ออกกำลังกาย 8 ประเภท เมื่อนำราคาของเครื่องออกกำลังกายในช่วงกลางระหว่างราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดที่ได้จากการสืบราคา พบว่า เครื่องออกกำลังกายมีราคาชุดละ 195,658.86 บาท แต่อบจ.ปทุมธานีตั้งงบประมาณเพื่อจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายในราคาชุดละ 500,000บาท การตั้งงบประมาณของ อบจ.สูงกว่าการสืบราคาชุดละ 304,341.14 บาท (500,000-195,658.86) และเมื่อนำราคาของเครื่องออกกำลังกายที่อบจ.ปทุมธานีจัดซื้อในปี 2555 – 2556 จำนวน 12 สัญญา รวมเครื่องออกกำลังกาย จำนวน 151 ชุด คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 74,118,500.-บาท เปรียบเทียบกับเครื่องออกกำลังกายที่ได้จากการสืบราคาคิดเป็นเงิน 29,544,487.86 บาท (195,658.86 x 151) อบจ.ปทุมธานีจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายในราคาสูงเกินกว่าความเป็นจริง เป็นเงิน 44,574,012.14 บาท (74,118,500 - 29,544,487.86)
และนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ สตง.เชื่อว่า เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการตั้งงบประมาณรวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายของอบจ.ปทุมธานีย่อมรู้หรือควรจะรู้ว่าจะต้องดำเนินการตามหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทย และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ตามความเป็นจริงแล้วเจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ได้มีการดำเนินการตามหนังสือสั่งการ และระเบียบดังกล่าวแต่อย่างใด พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเชื่อได้ว่าเป็นการทุจริตทำให้ราชการได้รับความเสียหาย
ส่วนป.ป.ช. จะขยายผลการตรวจสอบและพบข้อมูลอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ สาธารณชนต้องติดตามดูกันต่อไป แบบห้ามกระพริบตาโดยเด็ดขาด!