- Home
- Isranews
- ตะกร้าข่าว
- จุรินทร์ เด็ดขาด! จัดหน้ากากอนามัยบริหารรวมศูนย์ ส่งสธ.กระจาย รพ.วันละ 7 แสนชิ้น ที่เหลือสู่ร้านธงฟ้า
จุรินทร์ เด็ดขาด! จัดหน้ากากอนามัยบริหารรวมศูนย์ ส่งสธ.กระจาย รพ.วันละ 7 แสนชิ้น ที่เหลือสู่ร้านธงฟ้า
จุรินทร์ เด็ดขาด! จัดหน้ากากอนามัยบริหารรวมศูนย์ ส่งสธ.กระจาย โรงพยาบาลวันละ 7 แสนชิ้น ที่เหลือ วันละ 5 แสนชิ้นกระจายสู่ร้านธงฟ้า สนามบิน สายการบิน ให้ถึงประชาชนกลุ่มเสี่ยง
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 4มีนาคม2563 กรรมการเชิญผู้แทนของโรงงานหน้ากากอนามัยและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ไม่ได้เป็นกรรมการเข้ามาหารือด้วย และได้ข้อสรุปดังนี้ คือ
ภาพรวมของการผลิตหน้ากากอนามัยในประเทศ โดยหน้ากากที่เป็นที่ต้องการอยู่ขณะนี้คือหน้ากากสีเขียว มีโรงงานที่ผลิตได้ 11 โรง มีกำลังการผลิตเดือนละ 36 ล้านชิ้น หรือ 1.2 ล้านชิ้นต่อวัน โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกันกรมการค้าภายใน ได้แบ่งหน้ากาก 600,000 ชิ้น จากโรงงานผู้ผลิตมาบริหารจัดการร่วมกัน ส่วนอีกครึ่งหนึ่งนั้นกระจายออกตลาดโดยโรงงานผู้ผลิตเอง ซึ่งอาจจะทำให้ราคาแตกต่างกันในตลาด
" แต่ว่านับจากนี้ไปหน้ากากที่ผลิตได้จากโรงงานทั้งหมดจะถูกนำมาบริหารโดยศูนย์กระจายหน้ากากอนามัย ตามมติครม.และคำสั่ง กกร.โดยมีกระทรวงสาธารณสุขบริหารร่วมกันกับกระทรวงพาณิชย์ โดยมีตัวแทนคือ รองเลขาฯอย. องค์การเภสัชกรรม และผู้แทนจากโรงพยาบาลต่างๆ ศูนย์จึงมีหน้าที่บริหารจัดการหน้ากากทั้ง 1.2 ล้านชิ้นให้กระจายไปยังภาคส่าวนต่างๆ " นายจุรินทร์ กล่าว
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เมื่อวานนี้ได้มีการประชุมกันสรุปว่าจะจัดสรรให้กระทรวงสาธารสุข 700,000 ชิ้นโดยให้กระจายไปยังสถานพยาบาลทั้งหมดทั้งประเทศ ส่วนที่เหลือประมาณ 500,000 ชิ้น คน จะกระจายไปยังกลุ่มเสี่ยงอื่น รวมทั้งประชาชนทั้งประเทศ 60 ล้านคน เช่น ร้านขายยา หรือสายการบิน เช่น การบินไทย ร้านค้าส่งค้าปลีกต่างๆ รวมทั้งร้านธงฟ้า และอื่นๆ เป็นต้น โดยศูนย์กระจายหน้ากากอนามัยจะบริหารจัดการหน้ากาการ่วมกันทุกวัน เพื่อตรวจสอบการกระจายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดย 700,000 ชิ้นแรกจะเร่งไปเติมสต๊อกที่ขาดไปของโรงพยาบาลก่อน และจากนั้นจะได้บริหารจัดการอีกที ซึ่งครม.มีความเห็นชอบแล้วที่จะให้ขายหน้ากากอนายมัยที่ราคา 2.50 บาท โดยต้นทุนส่วนเกินรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระเอง
สำหรับหน้ากากนำเข้า จะมี 2 ส่วน
ส่วนแรกคือหน้ากากอนามัยที่มีสีเขียว ที่เราใช้อยู่ขณะนี้ ซึ่งจะมีอยู่ไม่มากนัก และหน้ากากทางเลือกที่จะมีรูปทรงแตกต่างกันไป
สำหรับหน้ากากทางเลือกนี้ กกร.มีความเห็นว่าราคาขายปลีกนนั้นไม่ควรจะเกินไปกว่าร้อยละ 60 ของต้นทุนนำเข้า ซึ่งร้อยละ 60 นี้จะรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆทั้งหมด เช่น ต้นทุนบริหาร ค่าขนส่ง และค่าตอบแทนต่างๆ นี่เป็นตัวแรกโดยประมาณ โดยผู้นำเข้าจะต้องแสดงต้นทุนนำเข้าว่าเป็นเท่าไหร่ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่
สำหรับหน้ากากที่ผลิตโดยโรงงานทั้ง 11 โรงงาน ที่ยังคงมีเหลือในประเทศ ที่ขายในราคาแตกต่างกันไป จะให้เวลาผู้ประกอบการ 3 วันในการเคลียร์สต๊อก จากวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม จะต้องจำหน่ายในราคา 2.50 บาทต่อชิ้น ข้อกำหนดข้างต้นนี้ไม่รวมหน้ากากผ้า ที่ ครม.มีมติจัดสรรงบให้ 225 ล้านบาทเพื่อการผลิตโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน้ากากผ้าชนิดอื่นๆ ที่จะถูกผลิตในอนาคต ที่กระทรวงสาธารณสุขรับรองแล้วว่ากันเชื้อโรคได้
นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับการส่งออก ขอเรียนว่าจะไม่มีการอนุมติให้มีการส่งออกโดยเด็ดขาด เนื่องจากหน้ากากที่ผลิตได้ในประเทศทั้ง 36 ล้านชิ้น ก็ไม่เพียงพอกับการใข้ในประเทศอยู่แล้ว แต่หากสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป ซึ่งที่ผ่านมา ไทยมีหน้ากากเพียงพอ เนื่องจากความต้องกสรยังไม่สูงขนาดนี้ และกรมการค้าภายในจะจัดรถโมบายออกไปจำหน่ายหน้ากากอนามัยแพ๊กละ 4 ชิ้น จำนวนรวม 111 คัน สำหรับ กทม มี 21 คัน สำหรับต่างจังหวัด 90 คัน โดยมุ่งเน้นชุมชนเมือง โดยในรถโมบายจะมีสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นอื่นๆ นำไปขายประชาชนด้วย เนื่องจากสินค้าเหล่านั้นอาจจะมีแนวโน้มขาดแคลน และจากนี้จะมีการประชุมคณะทำงานทุกวัน เพื่อประเมินสถานการณ์ต่อเนื่อง
เนื่องจากหน้ากากอนามัยเป็นสินค้าควบคุมแล้ว ผู้ที่มีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ จะถูกดำเนินคดีในการกักตุน ได้แก่ 1. เก็บสินค้าไว้ที่อื่นนอกเหนือจากที่ที่แจ้งเจ้าหน้าที่ 2. ไม่นำหน้ากากที่มีอยู่ออกมาจำหน่าย 3. ปฏิเสธการจำหน่าย 4. ประวิงการจำหน่าย 5. ส่งมอบหน้ากากอนามัยโดยที่ไม่มีเหตุผลสมควร ผู้กักตุนหรือขายที่ราคาสูงเกินสมควรที่มีเจตนาจะสร้างความปั่นป่วน (ผิดตามมาตรา 29) มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท โดยปริมาณการครอบครองสูงสุดยังไม่มีการกำหนด เนื่องจากจะเกรงว่าจะกระทบกับผู้บริสุทธิ์ทั่วไป ที่จำเป็นต้องเก็บหน้ากากอนามัยไว้สำหรับปฏิบัติภารกิจ เช่นสถานพยาบาล ซึ่งหากสถานกาณ์เปลี่ยนแปลงก็จะมีการเปลี่ยนคำสั่งอีก ทั้งนี้ ผู้ขายเกินราคา (แต่ไม่เกินสมควร) จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
สำหรับสถานพยาบาลจะถือว่าเป็นผู้ที่จะได้รับการจัดสรรเป็นลำดับต้น โดยกระทรวงสาธารณุขจะเป็นผู้บริหารจัดการให้กระจายไปให้ทั่วถึงมากที่สุด โดยไม่ให้มีสถานพยาบาลใดตกหล่น
สำหรับประกาศ กกร.จะมี 3 ฉบับ
ฉบับแรกคือประกาศราคาขายปลีกสูงสุดของหน้ากากอนามัย
ฉบับที่สองคือประกาศวิธีคิดต้นทุนในการกำหนดราคาขายหน้ากากนำเข้า แช
และประกาศที่สามเรื่องเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งการปรับราคาต้องขออนุญาตก่อน
"2-3วันที่ผ่านมานี้ ทางกระทรวงพาณิชย์ได้ส่งคนประจำโรงงานทั้ง 11 โรงแล้ว รวมทั้งจะมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปประจำแต่ละโรงงานด้วย เพื่อรายงานจำนวนผลผลิตจริง และจัดการการกระจายสินค้าไปยังส่วนอื่นๆ และสำหรับการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตหน้ากากอนามัย มีแนวโน้มนำเข้าได้ยากขึ้น แต่ยังพอเป็นไปได้คือจากอินโดนีเซียแต่ก็จะมีราคาที่สูงขึ้น ซึ่งได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ช่วยประสาน เพื่อหาแหล่งผลิตวัตถุดิบแล้ว"