- Home
- Isranews
- รายงาน-สกู๊ป
- 1 วันของชีวิตคนกรุงเทพฯ 24 HOURS IN BANGKOK ต้องเผชิญ
1 วันของชีวิตคนกรุงเทพฯ 24 HOURS IN BANGKOK ต้องเผชิญ
สิ่งที่กทม.คิด ได้แก่ จุดจอดแท็กซี่ อัจฉริยะที่รอวันทุบทิ้ง หรือโครงการจักรยานสาธารณะของกทม.ที่มีคนใช้น้อย
กรุงเทพมหานคร มีความพิเศษกว่าจังหวัดอื่นๆ เป็นหนึ่งใน 2 แห่งที่เลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตัวเองได้ มีอิสระในการบริหารจัดการกว่าที่อื่นๆ ที่ควรเป็นแบบอย่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ในเรื่องของการฟังเสียงความต้องการของประชาชนในพื้นที่
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันอนาคตไทยศึกษา เปิดรายงาน 10 ข้อเท็จจริงชีวิตคนกรุงเทพ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับการถกเถียงของประชาชนให้อยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงเพื่อให้คนกรุงเทพฯ ที่ต้องการเป็นพลเมืองที่มีความตื่นตัวทางการเมือง และต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายได้นำข้อมูลไปพัฒนาเป็นข้อเสนอและกำหนดเป็น “วาระของกรุงเทพฯ” ที่จะเป็นประโยชน์กับคนกรุงเทพฯ เอง และต่อผู้ว่าราชการ รวมถึงทีมผู้บริหารกรุงเทพมหานครทั้งชุดปัจจุบันและอนาคตต่อไป
สถาบันอนาคตไทยศึกษา ลำดับเวลา 1 วันของชีวิตคนกรุงเทพฯ 24 HOURS IN BANGKOK ต้องเผชิญ ให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้
05:00 น.
คนกรุงเทพเคยชินกับการตื่นแต่เช้า เพราะต้องเผื่อเวลาไว้สำหรับการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนที่รถติดแสนสาหัส การใช้เวลาเดินทางราว 3 ชม.ต่อวัน เพื่อไปกลับระหว่างบ้านและที่ทำงานกลายเป็นเรื่องธรรมดา เพราะรถยนต์สามารถทำความเร็วได้เท่ากับจักรยาน ยังไม่รวมพ่อแม่ที่จะต้องเผื่อเวลามากขึ้นเพื่อไปส่งลูกไปโรงเรียนไกลบ้าน เพราะไม่มั่นใจในคุณภาพโรงเรียนใกล้บ้าน
ยิ่งถ้าเลือกนั่งขนส่งมวลชน ก็ยิ่งต้องบวกเวลาเพิ่ม เพราะการจราจรติดขัดทำให้ตารางเวลารถไม่แน่นอน การขึ้นรถต่อเดียวไปทางานนับว่าเป็นโชคดี หลายคนต้องขึ้นมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ต่อรถสองแถว ไปขึ้นรถตู้ เพื่อไปขึ้นรถไฟฟ้าอีกต่อเรือและรถตู้กลายเป็นทางเลือกเพื่อย่นระยะเวลา
แต่เราก็ต้องยอมรับว่า สวัสดิภาพของคนที่ใช้บริการเรือนั้นไม่ดีสักเท่าไหร่ ทั้งเรื่องความปลอดภัย ความสกปรกเวลาที่น้ำจากคลองสาดเข้าเรือ เสียงเครื่องยนต์เรือที่ดังหนวกหู
ส่วนรถตู้ก็มีชื่อเสียงในด้านความเร็ว บรรทุกผู้โดยสารเกิน ปัญหาเรื่องจุดจอด คนที่โดยสารเรือด่วนเจ้าพระยา และเรือแสนแสบมีมากถึง 29 ล้านคนต่อปี ส่วนจำนวนผู้โดยสารรถตู้ถึงจะไม่เคยมีใครเก็บข้อมูลไว้แต่ก็มีจำนวนไม่น้อย
การที่ไม่มีข้อมูลยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าการจะตัดสินใจจะลงทุนด้านระบบขนส่งแต่ละอย่างไม่ได้ใช้ข้อมูลเป็นฐานในการตัดสินใจ
การแก้ปัญหาเรื่องขนส่งมวลชนที่เกิดขึ้นจากแนวคิดของประชาชน หรือเอกชนหลายอย่างตอบโจทย์กว่าวิธีที่รัฐใช้ ยกตัวอย่าง เช่น รถตู้ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือเรือด่วนต่างก็มีจุดกำเนิดจากเอกชนที่มองเห็นแนวทางที่แก้ปัญหาการเดินทางของคนทั่วไป
ในขณะที่สิ่งที่กทม.คิด ได้แก่ จุดจอดแท็กซี่อัจฉริยะที่รอวัน ทุบทิ้ง หรือโครงการจักรยานสาธารณะของกทม.ที่มีคนใช้น้อย
ความจริงข้อที่ 1(FACT) :มี 37 หน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจราจร 2 หน่วยงานทั้งหลายต่างก็ทำหน้าที่แก้ปัญหาจราจร เช่น สานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร กำหนดเส้นทางการเดินรถเมล์และรถไฟฟ้า ส่วนบีทีเอสเป็นกทม.ให้สัมปทาน กรุงเทพมหานครสร้างและซ่อมสัญญาณไฟจราจร แต่เป็นตำรวจจราจรที่คอยคุมสัญญาณไฟ จึงไม่น่าแปลกใจที่ปัญหาจราจรจึงแก้ไม่ได้เสียที
ความจริงข้อที่ 2 : ลงทุนสูงในระบบขนส่งมวลชนที่คนใช้ไม่มาก
แอร์พอร์ตลิงค์ ลงทุน 3.3 หมื่นล้าน มีผู้โดยสารปีละ 17 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นไม่ถึงครึ่งของที่คาดการณ์ 35 ล้านคนต่อปี การคาดการณ์ที่มากไปทำให้สุดท้ายต้องปิดบริการขบวนรถด่วน(Express line) BRT ลงทุน 2.8 พันล้าน มีผู้โดยสาร 6 ล้านคนต่อปี คิดเป็นแค่ครึ่งหนึ่งของที่คาดการณ์ 13 ล้านคน ทั้งๆที่ลดค่าโดยสารลงจาก 10 บาทเหลือ 5 บาท
ในขณะที่คนขึ้นเรือ นั่งรถตู้มีมากกว่า ทำไมเราใช้เงินไปลงทุนปรับปรุงในสิ่งที่คนใช้บริการมาก เช่น ปรับปรุงคุณภาพเรือ หรือสร้างป้ายรอรถตู้ที่มีหลังคากันแดด เป็นต้น
12:00 น.
ในย่านธุรกิจใจกลางกรุงเทพ พนักงานออฟฟิศอาจจะไม่ได้มีรายได้มากพอจะกินร้านอาหารในห้าง บางครั้งก็ต้องออกมาพึ่งร้านข้าวแกงแผงลอยข้างทาง ที่เป็นเหมือนสวัสดิการคนยากคอยบริการอาหารราคาถูก แต่สิ่งที่ต้องแลกคือเราต้องนั่งกินพร้อมกับเผชิญทั้งฝุ่นทั้งควันจากท้องถนน ทั้งที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่อากาศสกปรกเป็นอันดับ 5 ของเอเชีย ทำไมเราไม่จัดสถานที่สาหรับแผงลอยได้ขายอย่างเป็นกิจลักษณะที่ไม่ต้องดม ที่อย่างน้อยทุกอาคารออฟฟิศควรต้องมีเพื่อเป็นสวัสดิการพนักงาน
ระหว่างทางที่จะเดินไปกินข้าวกลางวัน ก็จะพบกับทางเท้าสภาพทรุดโทรม ที่บางครั้งมีน้ำขังอยู่ใต้อิฐบล็อก ต้องเดินหลบหลีกทั้งโต๊ะเก้าอี้แผงลอยร้านอื่นๆ ตู้โทรศัพท์สาธารณะ บางครั้งต้องหลบมอเตอร์ไซค์ที่ขึ้นมาวิ่งบนทางเท้า บางทีก็เป็นที่จอดรถ เวลาที่เจออะไรแบบนี้ ก็ชวนให้คิดว่าเทศกิจหายไปไหน
ความจริงข้อที่ 3 :กรุงเทพมหานครมีเจ้าหน้าที่เทศกิจมากถึง 3,200 คน แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักเทศกิจราว 200 คน และจากสำนักงานเขต 3,000 คน กทม.มีพื้นที่ 1,568 ตร.กม. เท่ากับว่าถ้าเทศกิจทุกคนลงพื้นที่ เราจะมีเจ้าหน้าที่เทศกิจ 2 คน ต่อพื้นที่กรุงเทพฯ 1 ตร.กม.
นอกจากนี้ เรายังต้องคอยเดินหลบป้าย ทั้งป้ายบอกทาง ป้ายชื่อสถานที่ ป้ายโฆษณา บางทีก็เป็นป้ายโฆษณาของกรุงเทพมหานครเอง สมแล้วที่กรุงเทพได้รับฉายา“เมืองบ้าป้าย” นอกจากจะอยู่บนทางเท้ากีดขวางคนเดินถนน ยังมีป้ายโฆษณาขึ้นไปอยู่บนตึก ตามสี่แยก บนทางด่วนที่เต็มไปด้วยป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดมลภาวะทางสายตาให้แก่ผู้พบเห็น
จากตัวเลขของกรุงเทพมหานคร พบว่า มีป้ายโฆษณากว่า 100,000 ป้ายต่อปี เฉพาะป้ายบิลบอร์ดมีราว 1,000 ป้ายทั่วกรุงเทพฯ แต่อย่าคิดว่ากรุงเทพมหานครจะได้รายได้เป็นกอบเป็นกาจากภาษีป้าย เพราะปีหนึ่งเก็บภาษีได้เพียง 778 ล้านบาทเท่านั้น
ทำไมเราไม่คุมกำเนิดป้ายลงได้ซักครึ่งหนึ่ง แลกกับการตัดงบประชาสัมพันธ์ 377 ล้านบาท เราจะสามารถสร้างจุดบริการด่วนมหานครได้เพิ่ม 100 จุด จ้างพนักงานกวาดถนนในแต่ละปีได้เพิ่ม 3,500 คน
ความจริงข้อที่ 4: งบประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครปีละ 377 ล้านบาท จากตัวเลขงบประมาณของสานักปลัดกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ ของกรุงเทพ เช่น “กรุงเทพฯ มหานครแห่งความสุข” (30 ล้าน) “รักกรุงเทพร่วมสร้างกรุงเทพ” (20 ล้าน) “กรุงเทพฯ มหานครแห่งอนาคต” (8 ล้าน)
18:00 น.
ช่วงเย็นเป็นช่วงที่คนมุ่งหน้าออกนอกเมือง ด้วยความกรุงเทพเป็นเมืองแสนแพงทำให้คนต้องออกไปอยู่นอกเมืองมากขึ้น ด้วยราคาที่ดินและบ้านที่ถีบตัวขึ้นสูงและเร็ว ถ้าเราเป็นมนุษย์ออฟฟิศกรุงเทพฯ ทั่วไป ที่ถึงแม้จะไม่มีหนี้ แต่เงินเก็บไม่ได้มากนัก ลำพังเงินเดือนของคนคนเดียวอาจจะไม่พอที่จะใช้ยื่นกู้ซื้อคอนโดห้องเล็กๆ ในกรุงเทพฯ หรือชานเมืองได้ด้วยซ้ำ แต่ถ้าแต่งงานแล้ว เงินเดือนของ 2 คน ถึงจะพอกู้ซื้อคอนโดไซส์เล็กในเขตกรุงเทพรอบนอกอย่างแถวอ่อนนุช อุดมสุข หรือคอนโดไซส์ใหญ่ขึ้นมาหน่อยในแถบชานเมืองอย่างรัตนาธิเบศร์หรือแจ้งวัฒนะ
แต่การอยู่นอกเมืองก็มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ไม่ใช่ถูกๆ ค่ารถไฟฟ้าในเมืองไทยนั้นก็ถือว่าแพงเมื่อเทียบกับรายได้และค่าครองชีพ
ความจริงข้อที่ 5: ชีวิตในกรุงเทพฯ แพงจนคนต้องออกไปอยู่ชานเมืองมากขึ้น ราคาที่ดิน และคอนโดมีเนียมในกรุงเทพฯและปริมณฑลเพิ่มปีละ 8% จากปี 2551-2558 สูงกว่าค่าจ้างเฉลี่ยแรงงานในกรุงเทพที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4% ต่อปี ทำให้แม้แต่ครัวเรือนที่มีรายได้เท่ากับรายได้เฉลี่ย ก็สามารถซื้อคอนโดได้ตั้งแต่เขตรอบนอกเป็นต้นไป และยิ่งอาศัยอยู่ไกลออกไป ค่าใช้จ่ายในการเดินทางก็ยิ่งมากขึ้น ค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้นแพงกว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าในเมืองอื่นๆ เช่น โตเกียว (1.4 เท่า) ฮ่องกง (1.7 เท่า) และเซี่ยงไฮ้ (4 เท่า)เมื่อเทียบกับรายได้และค่าครองชีพ
อีกปัญหาที่กระทบการเดินทางของคนกรุงคือฤดูฝน ยิ่งฝนตกติดต่อกันหลายชั่วโมง ก็ต้องลุ้นกันว่าน้าจะท่วมขังหรือเปล่า จนบางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่าอุโมงค์ระบายน้าที่มีอยู่ 7 อุโมงค์นั้นกาลังทางานอยู่หรือไม่ หรือเป็นเพราะเราอยู่นอกพื้นที่ แต่กทม.ก็มีแผนจะสร้างอุโมงค์ยักษ์เพิ่มอีก 5 อุโมงค์
น้าท่วมขังอาจจะเกิดจากขยะที่อุดตันท่อระบายน้า แต่จะโทษใครได้ คนกรุงเทพผลิตขยะมากถึงวันละกว่าหมื่นตัน ส่วนขยะที่ได้ถูกนาไปรีไซเคิล หรือหมักเป็นปุ๋ยได้น้อยมากแค่ 13% ทำให้ต้องนำส่วนที่เหลือไปฝังกลบ และต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยขนไปฝังในจังหวัดใกล้เคียงอย่างนครปฐม และฉะเชิงเทรา ทำไมเราหันมารณรงค์เรื่องการคัดแยกขยะให้มากขึ้น เพื่อให้ปริมาณขยะลดลง และสามารถจัดการขยะได้อย่างประสิทธิภาพขึ้น
21:00 น.
ตกกลางคืนบางพื้นที่ในกรุงเทพอาจจะไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยพอที่เราจะเดินไปไหนมาไหนได้อย่างสบายใจ เพราะกังวลกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เมื่อกลับถึงบ้านเวลาที่ควรจะเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนอาจจะกลับมานอนฟังเสียงเพลงจากร้านคาราโอเกะ หรือสถานบันเทิงที่เปิดอยู่หลังบ้าน ที่เป็นผลมาจากการจัดระเบียบผังเมือง รวมไปถึงกฎหมายที่อ่อนการบังคับใช้จริง
วันพักผ่อน เสาร์- อาทิตย์
เรามีตัวเลือกสถานที่สาหรับพักผ่อนนอกบ้านน้อยมาก นอกจากห้างสรรพสินค้าก็แทบไม่มีพื้นที่ให้คนจะใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่าง สวนสาธารณะ ห้องสมุด ลานพักผ่อน กรุงเทพมหานครเองก็มีนโยบายมหานครสีเขียว พยายามเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กรุงเทพ
แต่ถ้าเราไปดูรายละเอียดจะพบว่า กรุงเทพมหานครนับรวมว่าเกาะกลางถนนเป็นพื้นที่สีเขียวด้วย แต่คงไม่มีใครไปนั่งปิกนิกที่เกาะกลางถนนแน่ๆ
ความจริงข้อที่ 6: กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวที่เข้าถึงได้และใช้ได้จริงมีเพียง 2.2 ตร.ม.ต่อประชากร ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่กรุงเทพมหานครประกาศไว้ ในเว็บไซต์ของสานักสิ่งแวดล้อมมีการรวบรวม และแจกแจงพื้นที่สีเขียวในแต่ละเขตทั้ง 50 เขต รวมพื้นที่ราว 34 ล้านตร.ม. พร้อมระบุว่ากรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียว 5 ตร.ม.ต่อคน
แต่จำนวนประชากรที่กรุงเทพมหานครนำมาเฉลี่ยคือประชากรตามทะเบียนราษฎร์ ที่มีเพียง 5 ล้านคน กรุงเทพฯมีคนอาศัยอยู่ตามสำมะโนประชากรเกือบ 9 ล้านคน
นอกจากนี้ พื้นที่ที่กทม.นับว่าเป็นพื้นที่สีเขียว 22% “ใช้ไม่ได้จริง” เพราะเป็นเกาะกลางถนน ต้นไม้ริมถนน และกำแพงต้นไม้ อีก 21% “เข้าถึงไม่ได้” เพราะเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น สวนหน้าบ้านสวนหย่อมบริษัทเอกชน หรือหมู่บ้านจัดสรร เท่ากับว่ามีพื้นที่สีเขียวที่เข้าถึงได้และใช้ได้จริงๆ เพียง 19 ล้านตร.ม.เท่านั้น เฉลี่ย 2 ตร.ม.ต่อคนเท่านั้น
นี่คือชีวิตหนึ่งวันในกรุงเทพที่คนทั่วไปต้องเจอจนกลายเป็นเรื่องปกติ แล้วเราจะอยู่กันไปแบบนี้จริงๆ หรือ เราไม่ควรจะคาดหวังถึงความเปลี่ยนแปลงไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้หรือ
ปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไม่ได้เสียทีก็มีที่มาจากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือเรื่องการบริหารจัดการ ไม่ใช่เพราะไม่มีเงิน หรือเพราะขาดคนที่จะมาทำงบประมาณกทม.ในแต่ละปีตก 8 หมื่นล้านบาท จำนวนข้าราชการรวมกับลูกจ้างก็มีไม่น้อย
ความจริงข้อที่ 7: กรุงเทพมหานครมีข้าราชการและลูกจ้าง กว่า 97,000 คน 14 คิดเป็น 2 เท่าของจานวนเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นของโซล และ 1.5 เท่าของจาการ์ต้าซึ่งทั้งสองเมืองมีประชากรราว 10 ล้านคนมากกว่ากรุงเทพที่มี 9 ล้านคน โดยจากจำนวนข้าราชการและลูกจ้าง 97,000 คน มีราว 30,000 คนที่เราพอจะเห็นภาพว่า พวกเขาทำหน้าที่ให้บริการประเภทใดบ้าง แล้วจานวนที่เหลือ ?
คนย้ายถิ่นฐานสู่กรุงเทพเพื่อแสวงหาชีวิต และโอกาสที่ดีขึ้น สิ่งที่จะตอบโจทย์ให้ได้คือการศึกษาที่มีคุณภาพของลูก แต่ถ้าดูผลการดำเนินงานโรงเรียนในสังกัดกทม. 438 โรงเรียน มีครูในสังกัดราว 14,000 คน และเจ้าหน้าที่อีกราว 6,000 คน กลับพบว่าผลการเรียนเด็กนักเรียนในสังกัดกทม.สู้เด็กจากโรงเรียนสังกัดเทศบาล อบต.ทั่วประเทศอื่นๆ ไม่ได้
ความจริงข้อที่ 8: เกือบ 2 ใน 3 ของเด็กนักเรียนสังกัดกทม. ตกวิชาเลขที่จัดสอบโดย PISA การจัดสอบวัดผลระดับนานาชาติที่เรียกว่า PISA จะกาหนดเกณฑ์ความรู้พื้นฐานขั้นต่าที่นักเรียนควรรู้ไว้ ผลคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ ปี 2555 พบว่า 65% ของนักเรียนสังกัดกทม. ได้คะแนนต่ากว่าเกณฑ์ โดยสัดส่วนนี้สูงกว่าของโรงเรียนอื่นๆ ในสังกัดเทศบาล อบต.ทั่วประเทศ (57%) คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนสังกัดกทม. เท่ากับ 400 คะแนนใกล้เคียงกับเด็กจากเม็กซิโก และมอนเตเนโกร
ในขณะที่ผลการเรียนเด็กเป็นแบบนี้ รวมไปถึงคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ ที่พูดมาของคนกรุงเทพเป็นแบบนี้ แต่ในทุกหน่วยงานของสังกัดกรุงเทพมหานคร กลับผ่านการประเมินผลการประเมินการปฏิบัติราชการ ได้รับโบนัสกันถ้วนหน้า และยังได้รับจัดสรรงบพัฒนาบุคลากรอื่นๆ เพื่อส่งคนไปฝึกอบรม และดูงานต่างประเทศทุกๆ ปี
ความจริงข้อที่ 9 :ทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีผลการประเมินการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับ “ดีมาก” ได้รับการจัดสรรงบโบนัส 2.3 พันล้านบาท สำหรับการจ่ายเงินรางวัลหรือโบนัสเป็นเพราะทุกหน่วยงานในสังกัดมีผลการประเมินการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับดีมาก จึงได้โบนัส 1.5 เดือนทุกหน่วยงาน นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรงบราว 200 ล้านบาทต่อปีในการจัดอบรมเจ้าหน้าที่ ซึ่งรวมถึงงบดูงานทั้งในและต่างประเทศ 66 ล้านบาท
ด้วยความที่ต้องรองรับข้าราชการและลูกจ้างที่มีอยู่จำนวนมาก จึงต้องการสำนักงานที่ใหญ่พอจะจุคนได้หมด ถ้าเราผ่านไปแถวดินแดง อาจจะเห็นอาคารศาลาว่าการแห่งใหม่ที่เป็นตึกสูง 37 ชั้น กระจกสีฟ้าที่ตั้งอยู่มานาน แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าอาคารแห่งนี้ยังไม่ได้เปิดใช้งาน
ความจริงข้อที่ 10: ค่าก่อสร้างต่อตร.ม.ของอาคารศาลาว่าการกทม. 2 สูงกว่าค่าก่อสร้างอาคารมหานคร ตึกที่สูงที่สุดในกรุงเทพ ที่ตั้งของ Ritz-Carlton เรสซิเดนเซส
โครงการก่อสร้างอาคารศาลาว่าการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ ประกอบด้วยอาคารสูง 37 ชั้น (Tower 1) อาคารสูง 31 ชั้น อีก 2 อาคาร (Tower 2 และ 3) และอาคารห้องประชุมสภากทม. ซึ่งในปัจจุบันอาคารหลักสูง 37 ชั้น ก็ยังไม่เสร็จพร้อมที่จะใช้งานแม้ว่าจะดำเนินการมากว่า 20 ปีแล้ว มีการจัดสรรงบประมาณโครงการก่อสร้างทั้งหมดสาหรับ 3 อาคาร (Tower 1, 2 และ 3) รวมเป็นเงิน 9,957 ล้านบาท สำหรับพื้นที่ใช้สอย 97,000 ตร.ม. เฉลี่ย 103,717 บาทต่อตร.ม.พื้นที่ใช้สอย สูงกว่ามูลค่าการก่อสร้างโครงการอาคารมหานคร ซึ่งอยู่ที่ 86,855 บาทต่อตร.ม.พื้นที่ใช้สอย
รายงาน 10 ข้อเท็จจริงชีวิตคนกรุงเทพ อาจเป็นคำตอบของโจทย์ที่ว่า ทำไมกรุงเทพฯ ซึ่งได้รับการโหวตโดยนักท่องเที่ยวให้เป็นเมืองน่าเที่ยวที่สุดของโลก 4 ปีซ้อน แต่กลับถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองน่าอยู่อันดับ 102 จาก 140 เมืองทั่วโลก กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองน่าเที่ยวแต่ไม่น่าอยู่ ก็เพราะสารพัดปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของชาวเมืองใช่หรือไม่