- Home
- Isranews
- รายงาน-สกู๊ป
- รู้ไหม! เลขาฯ ป.ป.ช. เคยถูกฟ้องคดีบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน เรียกชดใช้ค่าเสียหายพันล.
รู้ไหม! เลขาฯ ป.ป.ช. เคยถูกฟ้องคดีบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน เรียกชดใช้ค่าเสียหายพันล.
"...มีข้อมูลอีกชุดหนึ่งเกี่ยวกับคดีนี้ ที่ยังไม่เคยถูกเปิดเผยเป็นทางการมาก่อน คือ เลขาธิการคณะกรรมการปีองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เคยถูกฟ้องร้องจากเอกชน ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิขอบกลางเป็นคดีอาญา พร้อมขอให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งเป็นจำนวนเงินกว่า 1 พันล้านบาท จากการส่งเรื่องให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินสอบสวนเส้นทางเงิน ตามอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน..."
นับเป็นอีกหนึ่งมหากาพย์คดีทุจริตสำคัญของประเทศไทย สำหรับคดีฉ้อโกงซื้อที่ดินและสัญญาโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย อำเภอคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ วงเงินนับหมื่นล้านบาท
โดยความคืบหน้าในส่วนคดีความ ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ย.2562 ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาชี้คำสั่งกรมควบคุมมลพิษที่ให้ นายวัฒนา อัศวเหม อดีตนักการเมืองชื่อดังของประเทศไทย ได้รับฉายา "เจ้าพ่อปากน้ำ" เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่กรมควบคุมมลพิษในส่วนค่าจัดซื้อที่ดินโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียคลองด่านในอัตราร้อยละ 80 ของค่าเสียหาย (เป็นเงินจำนวน 729,600,000 บาท) และในส่วนของการดำเนินการตามโครงการที่มีการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างไปแล้วในอัตราร้อยละ 30 (เป็นเงินจำนวน 4,560,164,927.40 บาท และ 36,403,166.157 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,107,438,914 บาท (นับรวมจำนวนเงิน 2 ยอด ทั้งสิ้น 5,666,603,841.40 บาท) เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ส่วนนายวัฒนา ปัจจุบันอยู่ระหว่างหลบหนีการจับกุมตัวจากประเทศไทยไปอยู่ที่ไหนไม่มีใครรู้ เบาะแสล่าสุดมีการยืนยันข้อมูลว่า ในช่วงปี 2561 ที่ผ่านมา นายวัฒนา อัศวเหม ได้ไปปรากฎตัวที่ วัดเหมอัศวาราม (วัดม้าทอง) ตั้งอยู่ที่เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน เพื่อฉลองครบรอบวันเกิดอายุ 85 ปี (อ่านประกอบ : เบาะแส 'วัฒนา อัศวเหม' โผล่ฉลองวันเกิด วัดม้าทอง เมืองจีน)
แต่มีข้อมูลอีกชุดหนึ่งเกี่ยวกับคดีนี้ ที่ยังไม่เคยถูกเปิดเผยเป็นทางการมาก่อน คือ เลขาธิการคณะกรรมการปีองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เคยถูกฟ้องร้องจากเอกชน ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิขอบกลางเป็นคดีอาญา พร้อมขอให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งเป็นจำนวนเงินกว่า 1 พันล้านบาท จากการส่งเรื่องให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินสอบสวนเส้นทางเงิน ตามอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน
ก่อนที่ศาลฯ จะมีคำพิพากษายกฟ้องในภายหลัง
ปรากฎรายละเอียดเนื้อหาสรรุปคดี ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อท. 240/2460, คดีหมายเลขแดงที่ อท. 210/2560 ดังนี้
การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และจำเลยที่ 2 ในฐานะรักษาการเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีหนังสือขอส่งข้อมูลเพิ่มเติมไปถึงเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
โดยระบุในทำนองว่าโจทก์ทั้งหกเป็นเอกชนกลุ่มกิจการร่วมค้าที่ร่วมกันกระทำความผิด โดยปกปิด บิดเบือนข้อเท็จจริงในการประกวดราคา โดยทุจริตและขัดต่อกฎหมาย ทำให้ราชการเสียหาย ทั้งมีพฤติการณ์ส่อแสดงว่ามีการวางแผนเพื่อเอื้อประโยชน์เป็นคู่สัญญาชือขายที่ดินและสัญญาก่อสร้างโครงการกับกรมควบคุมมลพิษ และระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ขอให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2442 โดยอ้างคำวินิจฉัยคดีหมายเลขแดงที่ อม.2/2441 ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และคดีหมายเลขแดงที่ 4197/2448 ของศาลอาญา
แม้โจทก์ทั้ง 6 จะมิได้เป็นคู่ความทั้งสองคดีข้างต้น และตามรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไม่ได้ชี้มูลความผิดแก่โจทก์ทั้งหกว่าสนับสนุนเจ้าพนักงานในการกระทำความผิดทั้งสองคดีข้างต้นก็ตาม
แต่เมื่อคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4197/2448 ซึ่งพิพากษาในภายหลังได้ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มกิจการร่วมค้าของโจทก์ทั้งหก และกลุ่มเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับกรมควบคุมมลพิษ โดยมีการทุจริตทุกขั้นตอน และเป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่ต้น ทำให้ราชการได้รับความเสียหายเป็นมูลค่าหลายล้านบาท
จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องรีบเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายกับบุคคลที่ร่วมกระทำการทุจริตในโครงการดังกล่าว รวมทั้งปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ
เมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีฐานะเป็นนิติบุคคล เทียบเท่ากรม มีภารกิจหลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การกระทำของจำเลยที่ 1 ใน ฐานะเลขาธิการฯ และจำเลยที่ 2 ในฐานะรักษาการเลขาธิการ ฯ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งหก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 157 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 125 และขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 1,000,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งหก
ศาลฯ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า กรมควบคุมมลพิษตกลงทำสัญญาจ้างกลุ่ม กิจการร่วมค้า NVPSKG และ NWWI ดำเนินการก่อสร้างโครงการจัดการนํ้าเสียในเขตควบคุม มลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ สัญญาที่ถูกทำขึ้นโดยทางราชการสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมตกเป็นโมฆะ
โจทก์ทั้งหกได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการสำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม ต่อมาคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้กรมควบคุมมลพิษชำระเงินค่าจ้าง ค่าเสียหาย รวมดอกเบี้ยตามข้อเรียกร้อง ภายหลังโจทก์ทั้งหกและกรมควบคุมมลพิษต่างฝ่ายต่าง ฟ้องอีกฝ่ายหนึ่งต่อศาลปกครองกลาง โดยโจทก์ทั้งหกฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของ อนุญาโตตุลาการ
ส่วนกรมควบคุมมลพิษฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขึ้ขาดของคณะ อนุญาโตตุลาการและยกคำร้องของกรมควบคุมมลพิษ หนังสือที่ จำเลยที่ 1 มีไปถึงเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทุจริตในโครงการออกแบบรวมก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดนํ้าเสียเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ
สรุปได้ความว่าออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบจำนวน 1,900 ไร่ ทับที่คลองสาธารณประโยชน์และที่ทิ้งขยะ ซึ่งเป็นที่หวงห้ามเพื่อนำไปขายให้กรมควบคุมมลพิษตามมาตรา 148 และ 147 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาและให้เพิกถอนโฉนดที่ดินจำนวนห้าแปลงเนื้อที่ 1,348 ไร่ ที่กลุ่มกิจการ ร่วมค้า NVPSKG เสนอขายให้แก่กรมควบคุมมลพิษ ตามคดีหมายเลขแดง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2444 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติชี้มูลความผิดฐานร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตและปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐและประชาชน ทำให้รัฐจัดซื้อที่ดินที่ออกโดยมิชอบต้องจ่ายค่าที่ดินและค่าก่อสร้างโครงการ และไม่สามารถดำเนินโครงการเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จในการก่อสร้างก่อให้เกิดปัญหา ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม มืมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 141, 147
ต่อมาศาลอาญาพิพากษาตามคดีหมายเลขแดง ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2448 นอกจากนั้นในเอกสารดังกล่าวยังระบุคำวินิจฉัยของคำพิพากษาคดีทั้งสองดังกล่าวในประเด็นเป็นสัญญาที่ไมชอบด้วยกฎหมายทำให้ทางราชการเสียหาย
สรุปได้ความว่า กลุ่มที่จัดหาที่ดินเพื่อขายให้แก่กรมควบคุมมลพิษกับกลุ่มบริษัทดำเนินการก่อสร้างโครงการจัดถารนำเสีย (โจทก์ทั้งหก) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
ส่วนหนังสือของจำเลยที่ 2 ที่มีไปถึงเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ระบุข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าของโครงการฯ ที่กิจการร่วมค้า NVPSKG (โจทก์ทั้งหก) ทำ สัญญากับกรมควบคุมมลพิษ การเบิกจ่ายเงินของโครงการ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และคำวินิจฉัยของศาลโดยย่อในประเด็นเกี่ยวกับการทุจริตในโครงการและพฤติการณ์การกระทำควานผิดของกิจการร่วมค้า NVPSKG (โจทก์ทั้งหก) พร้อมทั้งแนบส่งสำเนาคำพิพากษาทั้งสองคดีข้างต้นไปด้วย
แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้เป็นคู่ความทั้งสองคดีข้างด้น และตามรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไม่ได้ชี้มูลความผิดแก่โจทก์ทั้งหกว่าสนับสนุนเจ้าพนักงานในการกระทำความผิดทั้งสองคดีข้างต้นก็ตาม
แต่เมื่อคำพิพากษาคดีอาญา ซึ่งพิพากษาในภายหลังได้ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำทุจริต ของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะเอื้อประโยชน์ให้แก่กิจการร่วมค้า NVPSKG และ กลุ่มเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับกรมควบคุมมลพิษ โดยมีการทุจริตทุกขั้นตอน และเป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่ต้น ทำให้ราชการได้รับความเสียหายเป็นมูลค่าหลายล้านบาท จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องรีบเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการตามกฎหมายลับบุคคลที่ร่วมกระทำการทุจริตในโครงการดังกล่าว รวมทั้งปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ
เมื่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีฐานะเป็นนิติบุคคลเทียบเท่ากรม มีภารกิจหลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2442 โดย มีจำเลยที่ 1 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรับผิดชอบ การปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำเลยที่ 1 ย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน การกระทำของจำเลยที่ในฐานะ เลขาธิการฯ และจำเลยที่ 2 ในฐานะรักษาการเลขาธิการ ฯ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 147 และไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งหก
พิพากษายกฟ้องและยกคำขอในส่วนแพ่ง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ทั้งหมดนี่ เป็นข้อมูลอีกชุดเกี่ยวกับมหากาพย์คดีทุจริตโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย อำเภอคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ ในแง่มุมการปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช. ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบปัญหาการทุจริตของประเทศ อย่างตรงไปตรงมาก ไม่เลือกปฎิบัติ ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจใคร เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/