- Home
- Isranews
- รายงาน-สกู๊ป
- ถึงคิว!เปิดมติป.ป.ช.ชี้มูลคดีทุจริต3แบงก์รัฐ 'ปลอมชื่อขอกู้-โอนเงินธ.จ่ายหนี้ตัวเอง'
ถึงคิว!เปิดมติป.ป.ช.ชี้มูลคดีทุจริต3แบงก์รัฐ 'ปลอมชื่อขอกู้-โอนเงินธ.จ่ายหนี้ตัวเอง'
"...ในบรรดาคดีทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดผู้ถูกกล่าวหาเป็นทางการล่าสุดนั้น มีคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่พนักงานธนาคารรัฐ และบริษัทเอกชน รวมอยู่ด้วยหลายคดี อาทิ คดีนำชื่อบุคคลภายนอกมาขอกู้สินเชื่อกับธนาคารแล้วอำนวยสินเชื่อให้โดยทุจริต คดีโอนเงินของธนาคารไปชำระหนี้ของตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ หรือคดีปลอมลายมือชื่อผู้กู้และ ผู้ค้ำประกัน ในเอกสารการกู้เงิน แล้วเบิกเงินตามสัญญา ไปเป็น ประโยชน์ส่วนตน..."
ในตอนที่แล้ว สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำข้อมูลรายละเอียดการลงมติชี้มูลความผิดคดีทุจริต อดีตข้าราชการระดับสูง ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และพวก ที่มีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ล่าสุด มานำเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบไปแล้ว (อ่านประกอบ : เช็คชื่อ'นายกอบจ.-อบต.-เทศมนตรี-พวก' ใครบ้างป.ป.ช.เชือดคดีทุจริต ยกเข่งส่งอัยการฟันอาญา)
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบข้อมูลพบว่า ในบรรดาคดีทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดผู้ถูกกล่าวหาเป็นทางการล่าสุดนั้น มีคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่พนักงานธนาคารรัฐ และบริษัทเอกชน รวมอยู่ด้วยหลายคดี อาทิ คดีนำชื่อบุคคลภายนอกมาขอ กู้สินเชื่อกับธนาคารแล้วอำนวยสินเชื่อให้โดยทุจริต คดีโอนเงินของธนาคารไปชำระหนี้ของตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ หรือคดีปลอมลายมือชื่อผู้กู้และ ผู้ค้ำประกัน ในเอกสารการกู้เงิน แล้วเบิกเงินตามสัญญา ไปเป็น ประโยชน์ส่วนตน ปรากฎข้อมูลรายละเอียดดังต่อไปนี้
@ นางสาววัลลักษณ์ สังฆรักษ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง พนักงานปฏิบัติการ 4 ธนาคารออมสินสาขาชัยภูมิ เขตชัยภูมิ ภาค 9
คดีนำชื่อบุคคลภายนอกมาขอ กู้สินเชื่อกับธนาคารแล้วอำนวยสินเชื่อให้โดยทุจริต
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ระบุว่า นางสาววัลลักษณ์ หรือทิพยรัตน์ สังฆรักษ์ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไป ตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน ข้อบังคับ หรือคำสั่งของธนาคาร ฐานไม่ปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ ของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และฐานกระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามระเบียบธนาคารออมสิน ฉบับที่ 353 ว่าด้วยวินัยของพนักงานธนาคารออมสิน ข้อ 6 ข้อ 8 และข้อ 9 และมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจ ในหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นการเสียหาย แก่องค์การ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และฐาน เป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 และมาตรา 11
สำหรับความผิดทางวินัย เนื่องจากธนาคารออมสิน ได้มีคำสั่งที่ กม.1-15/2552 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2552 ลงโทษไล่นางสาววัลลักษณ์ หรือ ทิพยรัตน์ สังฆรักษ์ ออกจากตำแหน่ง และงดจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพทุกประเภท ของธนาคารในการกระทำความผิดนี้ เหมาะสมแก่กรณีแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะ ต้องส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษ ทางวินัย ตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.2552 มาตรา 92 ซ้ำอีก ให้แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ผู้บังคับบัญชาทราบต่อไป
สถานะคดี : ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็น ไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญา แล้วเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 60
@ นายเอกชัย สังฆโณ เจ้าหน้าที่บริการลูกค้า , นายสุกิจ กุนทีกาญจน์ ผู้จัดการสาขาอาวุโส , นายมานิตย์ ชัยพันธ์ รองผู้จัดการบริการลูกค้า , นางปิยะนันท์ ทิพยโภคิน เจ้าหน้าที่อาวุโสบริการลูกค้า , นางสาวจุไรรัตน์ แก้วประกอบ เจ้าหน้าที่บริการลูกค้า , นางสุภาพร ขุนจันทร์ เจ้าหน้าที่บริการลูกค้า ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ นางพิมพ์พา สุวรรณขาว
คดีโอนเงินของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ไปชำระหนี้ของตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ระบุว่า นายเอกชัย สังฆโณ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ ฐานจงใจก่อ ให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคาร อย่างร้ายแรง ฐานมีพฤติกรรม แสวงหาผลประโยชน์จากธนาคารหรือ บุคคลภายนอกเพื่อตนเองหรือผู้อื่น และทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หมวด 6 ข้อ 3.1.1 ข้อ 3.1.4 และ ข้อ 3.1.8 และ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่องค์การ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และฐานเป็นพนักงานปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดของพนักงานใน องค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 8 และมาตรา 11
ส่วน นายสุกิจ กุนทีกาญจน์ นางปิยะนันท์ ทิพยโภคิน นางสาวจุไรรัตน์ แก้วประกอบ และนางสุภาภรณ์ ขุนจันทร์ มีมูลความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง ฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่การงาน ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และ คำสั่งของธนาคารให้เกิดผลดี หรือ ความก้าวหน้าแก่ธนาคารด้วย ความเอาใจใส่ ระมัดระวังรักษา ผลประโยชน์ของธนาคาร ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หมวด 6 ข้อ 1.3
นางพิมพ์พา สุวรรณขาว มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่องค์การ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และฐานเป็นผู้สนับสนุนพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด ของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงาน ของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 8 และ มาตรา 11 ประกอบ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
นายมานิตย์ ชัยพันธ์ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่ง โดยชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบ ของธนาคาร หรือสั่งเพื่อรักษาผลประโยชน์ ของธนาคาร และการขัดคำสั่งนั้นเป็นเหตุ นำไปสู่ความเสียหายแก่ธนาคาร ตามคำสั่ง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่ ธ. 645/2550 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 เรื่อง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เนื่องจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีคำสั่งที่ ธ. 903/2551 ลงวันที่ 19 กันยายน 2551 ลงโทษทางวินัยร้ายแรง โดยให้ไล่นายเอกชัย สังฆโณ ออกจากการเป็นพนักงานของธนาคารแล้ว ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นไป มีคำสั่งที่ ธ. 905/2551 ลงวันที่ 19 กันยายน 2551 ลงโทษ ทางวินัยไม่ร้ายแรงแก่นางปิยะนันท์ ทิพยโภคิน ให้ภาคทัณฑ์ไว้มีกำหนด 2 ปี มีคำสั่งที่ ธ. 906/2551 ลงวันที่ 19 กันยายน 2551 ลงโทษทางวินัย ไม่ร้ายแรงแก่ นายสุกิจ กุนทีกาญจน์ ให้ภาคทัณฑ์ไว้มีกำหนด 1 ปี และมีคำสั่งที่ ธ. 907/2551 ลงวันที่ 19 กันยายน 2551 ลงโทษทางวินัยไม่ร้ายแรงแก่ นางสาวจุไรรัตน์ แก้วประกอบ ให้ภาคทัณฑ์ไว้มีกำหนด 1 ปี ในการกระทำความผิดนี้เหมาะสม แก่กรณีแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้อง ส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชา พิจารณาโทษทางวินัยกับผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 ซ้ำอีก
สถานะคดี : ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็น ไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณา โทษทางวินัยและไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญา แล้ว เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 60
@ นางกรองแก้ว สินารักษ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
คดีปลอมลายมือชื่อผู้กู้และ ผู้ค้ำประกัน ในเอกสารการกู้เงิน แล้วเบิกเงินตามสัญญา ไปเป็น ประโยชน์ส่วนตน
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ระบุว่า นางกรองแก้ว สินารักษ์ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไป ตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน ข้อบังคับ หรือคำสั่งของธนาคาร เป็นเหตุให้ธนาคารเสียหายอย่างร้ายแรง ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม อาศัยหรือยอมให้ ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ของตนไม่ว่า จะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อหา ประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ ประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และฐานกระทำการอันได้ชื่อว่าเป็น ผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามระเบียบการ- ธนาคารออมสิน ฉบับที่ 353 ว่าด้วยวินัยของพนักงานธนาคารออมสิน ข้อ 6 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 11 และ และ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจในหน้าที่ โดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่ องค์การบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และฐานเป็นพนักงาน ปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของ พนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 และมาตรา 11 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 - สำหรับความผิดทางวินัย เนื่องจาก ธนาคารออมสิน ได้มีคำสั่งที่ กม. 1 - 15/2548 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2548 ลงโทษไล่ นางกรองแก้ว สินารักษ์ ออกจากตำแหน่ง และงดจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพทุกประเภท ของธนาคารฯ ในการกระทำความผิดนี้ เหมาะสมแก่กรณีแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องส่ง เรื่องให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 ซ้ำอีก ให้แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ผู้บังคับบัญชาทราบต่อไป
สถานะคดี : ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็น ไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญา แล้วเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2560
@ นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขา อาวุโส ธนาคารเพื่อการส่งออกและ นำเข้าแห่งประเทศไทย สาขารังสิต นายศตวรรษ จิตราคนี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้จัดการด้านธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย สาขารังสิต นายวิรัช เอี่ยมเตชะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้จัดการ ด้านสินเชื่อ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สาขารังสิต บริษัท ก.สยาม จำกัด นายสมร โครวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ก.สยาม จำกัด บริษัท เอ็ม.บี.อาร์. จำกัด นายวรรณชัย อาศรมเกษร กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็ม.บี.อาร์. จำกัด และนายเมธิวัจน์ เมธาเรื่องพงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็ม.บี.อาร์. จำกัด
คดีรับซื้อเอกสารการส่งออก ภายใต้เลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C) ซึ่งเป็นเอกสารปลอม หลีกเลี่ยง การทบทวนวงเงินสินเชื่อ และ ปิดบังผลการใช้วงเงิน สินเชื่อที่ผิดปกติ
มติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ระบุว่า นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี และนายศตวรรษ จิตราคนี มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ธนาคาร และ ไม่เอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของธนาคาร ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่การงาน ของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น ฐานกระทำการ หรือยอมให้ ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจเป็นทาง ให้เสียความเที่ยงธรรมของตำแหน่งหน้าที่ของตนหรือ ของธนาคาร ฐานทุจริตต่อหน้าที่ และฐานจงใจ หรือประมาทเลินเล่อในหน้าที่ เป็นเหตุให้เสียหายแก่งาน ทรัพย์สินหรือชื่อเสียงของธนาคารอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ. 2550 ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ข้อ 18 ข้อ 22 ข้อ 25 และข้อ 31 (3), (5) และ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือ รักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่องค์การ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล หรือหน่วยงานที่เรียกชื่อ อย่างอื่น และฐานเป็นพนักงาน ปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิด ความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 และ มาตรา 11 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 และมาตรา 91
นายวิรัช เอี่ยมเตชะ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ธนาคาร และ ไม่เอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของธนาคาร ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่การงาน ของตน ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม หาประโยชน์ ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น ฐานกระทำการ หรือยอม ให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจเป็น ทางให้เสียความเที่ยงธรรมของตำแหน่งหน้าที่ ของตนหรือของธนาคาร ฐานทุจริตต่อหน้าที่ และฐานจงใจหรือประมาทเลินเล่อในหน้าที่ เป็นเหตุให้เสียหายแก่งาน ทรัพย์สินหรือชื่อเสียง ของธนาคารอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับว่าด้วย การพนักงาน พ.ศ. 2550 ของธนาคารเพื่อการ ส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ข้อ 18 ข้อ 22 ข้อ 25 และข้อ 31 (3), (5) และมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และฐานเป็นผู้สนับสนุนนายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี และนายศตวรรษ จิตราคนี กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด ของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 และ มาตรา 11 ประกอบ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 มาตรา 90 และมาตรา 91
บริษัท ก.สยาม จำกัด และ นายสมร โครวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ก.สยาม จำกัด มีมูลความผิดทางอาญา ฐานใช้เอกสารปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 และ ฐานเป็นผู้สนับสนุนนายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี และ นายศตวรรษ จิตราคนี กระทำความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 และมาตรา 11 ประกอบ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 มาตรา 90 และมาตรา 91
นายวรรณชัย อาศรมเกษร หรือ นายเมธิวัจน์ เมธาเรืองพงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็ม.บี.อาร์ จำกัด มีมูลความผิดทางอาญา ฐานปลอมเอกสารและฐานใช้เอกสารปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ มาตรา 268 และฐานเป็นผู้สนับสนุน นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี และนายศตวรรษ จิตราคนี กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด ของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 และมาตรา 11 ประกอบ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 มาตรา 90 และมาตรา 91 สำหรับความผิดทางวินัยของนายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี นายศตวรรษ จิตราคนี และนายวิรัช เอี่ยมเตชะ เนื่องจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง ประเทศไทย ได้มีคำสั่งที่ 074/2551 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 ลงโทษไล่นายสมบูรณ์ วงศ์ภักดี นายศตวรรษ จิตราคนี และนายวิรัช เอี่ยมเตชะ ออกจากงาน ในการกระทำความผิดนี้ เหมาะสม แก่กรณีแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องส่งเรื่องให้ ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 ซ้ำอีก ให้แจ้งผลการพิจารณา ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ผู้บังคับบัญชาทราบต่อไป
สถานะคดี : ส่งสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง ไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาแล้ว
สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า สำหรับสถานะ บริษัท ก.สยาม จำกัด นั้น ปัจจุบันถูกศาลล้มละลายกลางได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 ให้ บริษัท ก. สยาม จำกัด ล้มละลาย คดีหมายเลขแดงที่ ล.3233/2554
ส่วน บริษัท เอ็ม.บี.อาร์ จำกัด ปจจุบันเป็นบริษัทร้างซึ่งนายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนแล้ว ตามความในมาตรา 1273/3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2558
อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ พนักงานธนาคาร และเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในทุกคดีที่ถูกป.ป.ช. ชี้มูลความผิดไปแล้ว ยังมีโอกาสต่อสู้คดีในชั้นศาล เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธ์ของตนเองต่อไป