ถอดรหัส-ขั้นตอน 'จ.ส.อ.' เงินกู้ อทบ.1.5 ล.ซื้อบ้านจัดสรร ก่อนเกิดค่านายหน้า 5 หมื่น?
"..เมื่อตรวจสอบหลักเกณฑ์การกู้เงิน อทบ. ที่เกี่ยวกับการ เงินกู้ เพื่อการเคหสงเคราะห์ พบว่า มีการกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขสำคัญไว้หลายข้อ อาทิ ต้องรับราชการมาไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีเงิน อทบ.ฝาก นำโฉนดที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด มาเป็นหลักประกันเงินกู้ ส่วนตำแหน่ง จ.ส.อ. วงเงินกู้อยู่ที่ 1,500,000 บาท ซึ่งตรงกับข้อมูล ที่มีการระบุว่า จุดเริ่มการซื้อบ้านของ จ.ส.อ.จักรพันธ์ มาจากการนำบ้านพักตัวเองไปค้ำประกัน ยื่นกู้เงินออมทรัพย์พิเศษ กับกองการออมทรัพย์ กรมสวัสดิการทหารบก และคาดว่า จ.ส.อ.จักรพันธ์ ยื่นขอกู้เงินเป็นจำนวน 1.5 ล้านบาท นำมาซื้อบ้าน พร้อมตกแต่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ จนเหลือเงินส่วนต่าง ..."
กรณี จ.ส.อ.จักรพันธ์ ถมมา อายุ 32 ปี นายทหารสังกัดกองสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ กองทัพภาคที่ 2 ก่อเหตุสะเทือนขวัญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนถึง 30 ราย และบาดเจ็บจำนวนมาก มีการสันนิษฐานว่า เกิดจากการที่ผู้ก่อเหตุไปทวงเงินค่านายหน้าซื้อขายที่ดินบ้านจัดสรร แต่ตกลงกันไม่ได้
เบื้องต้น มีคำชี้แจงจาก นางพรลภัทร์ มิตรจันทร์ ภรรยาของ พ.อ.อนันต์ฐโรจน์ ต่อสาธารณชนว่า ตนเองขอเรียนชี้แจงปมทั้งหมดที่สังคมวิพากษ์วิจารณ์ ว่า ปมเกิดจากสาเหตุที่มีการโกงเงินนั้น ขอเรียนว่าตัวเองและครอบครัวไม่ได้ยักยอกโกงเงิน ของจ่าจักรพันธ์ แต่อย่างใด ซึ่งจ่าจักรพันธ์ซื้อบ้านตามโครงการสวัสดิการทหาร ราคา 1.5 ล้านบาท ซึ่งผู้เป็นแม่ของตนเอง คือ นางอนงค์ จะมีหน้าที่เรื่องทำเอกสาร เมื่อมีการยื่นเรื่องกู้ เหลือส่วนต่าง 5 หมื่นบาท ก็จะต้องคืนจ่าจักรพันธ์ แต่ทาง นางอนงค์ ได้ฝากเงินให้กับนายหน้าโครงการ ซึ่งนายหน้าต้องคืนจ่าจักรพันธ์ แต่ไม่ยอมคืน ทางด้านพ.อ.อนันทโรจน์ จึงเป็นตัวกลาง ก็เลยเอานายหน้ามาคุยกับจ่าจักรพันธ์ นางอนงค์ยืนยันว่าเงินอยู่กับนายหน้า และระหว่างการนั่งคุยกัน นายจักรพันธ์ได้ถามว่าเงินอยู่ที่ใคร แต่นายหน้าอ้างว่าเงิน 5 หมื่นยังให้จ่ายไม่ได้ ตัวพ.อ.อนันทโรจน์ บอกว่าทำไมไม่ได้ โดยนายหน้าบอกว่าเอาเงินไปเลี้ยงดู ไปกินไปเที่ยวผู้หญิงหมดแล้ว (อ้างอิงข้อมูลข่าวส่วนนี้ จาก https://www.dailynews.co.th/crime/756726)
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลอีกส่วนระบุว่า จุดเริ่มการซื้อบ้านของ จ.ส.อ.จักรพันธ์ มาจากการนำบ้านพักตัวเองไปค้ำประกัน ยื่นกู้เงินออมทรัพย์พิเศษ กับกองการออมทรัพย์ กรมสวัสดิการทหารบก และคาดว่า จ.ส.อ.จักรพันธ์ ยื่นขอกู้เงินเป็นจำนวน 1.5 ล้านบาท นำมาซื้อบ้าน พร้อมตกแต่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ จนเหลือเงินส่วนต่าง
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบข้อมูลเรื่องการเงิน กองการออมทรัพย์ กรมสวัสดิการทหารบก จากเว็บไซต์ http://www.oomsub.com/Default.aspx พบว่ามีการกำหนดเงื่อนไขเรื่องการเงินไว้ดังนี้
1. การฝากเงิน
1.1 อทบ.ฝาก เริ่มฝากเมื่อบรรจุเข้ารับราชการ โดยมีอัตราการฝาก
ชั้นประทวน เดือนละ 50 บาท
ชั้นนายร้อย เดือนละ 100 บาท
ชั้นนายพัน เดือนละ 200 บาท
ชั้นพันเอก ( พ. ) เดือนละ 300 บาท
1.2 อทบ.ฝากสมทบ คือการฝากเงิน อทบ.เพิ่มเติมเป็นหลักร้อยตลอดปีงบประมาณหน่วยหักฝากรวมกับ อทบ. ฝากตามขั้นยศ (ฝากตั้งแต่ ต.ค.- ก.ย. ของปีต่อไป ) โดยให้หน่วยเสนอรายละเอืยดการฝากสมทบเพิ่มลดเป็นรายบุคคลของกำลังพล ส่งให้ สก.ทบ. ภายในเดือน ก.ค. ของ,ทุกปีดอกเบี้ยเงิน อทบ.ฝาก และฝากสมทบ ร้อยละ 4 ต่อปี ( เปลี่ยนแปลงตามภาวะเศรษฐกิจ)
2. การถอนเงิน
การถอนเงิน อทบ.ฝาก จะทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้
2.1 ย้ายออกนอกสังกัด ทบ.
2.2 ออกจากประจำการ
2.3 ถึงแก่กรรม
2.4 ก่อนเกษียณอายุราชการ 1 ปี
2.5 ถูกสั่งพักราชการ กรณีข้าราชการผู้นั้นได้กู้เงิน อทบ.บำบัดทุกข์ และยังผ่อนชำระไม่ครบ
- กรณี ข้อ 2.1,2.2 และ2.5 ให้ผู้ฝากยื่นคำร้องขอถอนเงอน อทบ.ฝากที่หน่อยต้นสังกัดที่รับเงินเดือนครั้งสุดท้าย
- กรณี ข้อ 2.3 และ 2.4 ให้ทายาทผู้มีชื่อรับเงิน อทบ.ฝาก ยื่นคำร้องขอถอนเงินที่หน่วยต้นสังกัดที่รับเงินเดือนครั้งสุดท้าย
- กรณี ข้อ 2.1- ข้อ 2.5 หากมีหนี้เงินกู้ อทบ.บำบัดทุกข์, พิเศษ หรือ เคหะสงเคราะห์ ให้หักเงิน อทบ.ฝากเพื่อชำระหนี้เงินกู้
- กรณี ข้อ 5 ให้หน่วยถอนเงิน อทบ.ฝาก ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีคำสั่งพักราชการ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ อทบ.บำบัดทุกข์
3. การเงินกู้ การเงินกู้ มี 3 ประเภท คือ
3.1 อทบ.บำบัดทุกข์ คือ การกู้เพื่อใช้จ่ายในการดำรงค์ชีพ โดยมีเงิน อทบ.ฝาก เป็นหลักประกัน
3.2 อทบ.พิเศษ คือ การกู้เพื่อใช้จ่ายในการดำรงค์ชีพ หรือ ซื้อที่ดินเป็นของตนเองโดยมีที่ดินเป็นหลักประกันเงินกู้
3.3 อทบ.เพื่อการเคหะสงเคราะห์ คือการกู้เพื่อ
3.3.1 ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน
3.3.2 ซื้ออาคารหรือห้องชุด
3.3.3 ปลูกบ้านพักอาศัยในที่ดินของตนเอง
3.3.4 ไถ่ถอนจำนอง จากสถาบันการเงินอื่น
4. กรณีเกษียณอายุราชการ,ลาออก หรือ ย้ายออกนอกสังกัด ทบ. ถ้ายังมีหนี้เงินกู้ อทบ.พิเศษ หรือ อทบ.เพื่อการเคหะสงเคราะห์ ต้องปฏิบัติดังนี้
4.1 ชำระหนี้จาก อทบ.ฝาก
4.2 ผ่อนชำระหนี้ด้วยเงินบำนาญ โดยทำความตกลงการผ่อนชำระหนี้ที่ สก.ทบ. โดยทำหนังสือยินยอมฝห้หักเงินบำนาญ
โดยมีหลักฐานประกอบดังนี้
4.2.1 สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก ธนาคารทหารไทย (บัญชีที่รับเงินบำนาญ)
4.2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
กรณีเสียชีวิต ทายาทต้องดำเนินการดังนี้
- ติดต่อ สก.ทบ. หรือหน่วยต้นสังกัด
- ยื่นคำร้องต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อจัดการเรื่องโฉนด
- ในระหว่างรอเงินบำหน็จตกทอด เพื่อไม่ให้มีหนี้ ค้างชำระ ทายาทสามารถผ่อนชำระหนี้โดยตรงกับ สก.ทบ. ได้
5.ขั้นตอนการขอกู้เงิน อทบ. ของ ยย.ทบ.
5.1 ข้าราชการต้องการกู้เงินก็จะมาสอบถามยอดเงินกู้จากเจ้าหน้าที่ อทบ. ที่แผนกสวัสดิการ กบร.ยย.ทบ.
5.2 เจ้าหน้าที่ อทบ. ผสก.กบร.ยย.ทบ. ตรวจสอบใบเงินเดือน และเขียนใบรายรับรายจ่าย เมื่อกู้แล้ว ดูยอดเงินเดือนว่ามีเงินเหลือ 1 ใน 3 ของเงินเดือนเต็มจำนวน
5.3 ผู้ขอกู้เงิน อทบ. กรอกข้อมูลในสัญญา(อ.4) และ(อ.5) และนำเรียนตามสายการบังคับบัญชา ผ่าน ผกง.ยย.ทบ.เพื่อตรวจ
สอบหนี้สิน
5.4 เจ้าหน้าที่ อทบ. แผนกสวัสดิการ กบร.ยย.ทบ. รวบรวมเอกสาร ส่งเรื่องขอกู้เงินไปยัง สก.ทบ. ภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน
5.5 เมื่อ สก.ทบ. ดำเนินการเขียนเช็ค เพื่อนำเรียน รอง จก.ยย.ทบ. (2) เป็นผู้ลงนามในเช็คสั่งจ่าย โดยสั่งจ่ายที่ ธนาคารทหารไทยสาขางามวงศ์วาน
เมื่อตรวจสอบหลักเกณฑ์การกู้เงิน อทบ. ที่เกี่ยวกับเงินกู้ เพื่อการเคหสงเคราะห์
พบว่า มีการกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขสำคัญไว้หลายข้อ อาทิ ต้องรับราชการมาไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ มีเงิน อทบ.ฝาก นำโฉนดที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด มาเป็นหลักประกันเงินกู้ ตำแหน่ง จ.ส.อ. วงเงินกู้อยู่ที่ 1,500,000 บาท (ดูข้อมูลในภาพประกอบ) ซึ่งตรงกับข้อมูล ที่มีการระบุว่า จุดเริ่มการซื้อบ้านของ จ.ส.อ.จักรพันธ์ มาจากการนำบ้านพักตัวเองไปค้ำประกัน ยื่นกู้เงินออมทรัพย์พิเศษ กับกองการออมทรัพย์ กรมสวัสดิการทหารบก และคาดว่า จ.ส.อ.จักรพันธ์ ยื่นขอกู้เงินเป็นจำนวน 1.5 ล้านบาท นำมาซื้อบ้าน พร้อมตกแต่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ จนเหลือเงินส่วนต่าง
และมีจุดที่น่าสนใจอยู่ตรงที่ข้อกำหนดการจ่ายเงินกู้ ที่ระบุว่า การปลูกสร้างอาคาร จ่ายเงินเป็น 3 งวด อัตรา 2:1:1 รับเงินที่ กอท.สก.ทบ.เท่านั้น
ขณะที่ นางพรลภัทร์ มิตรจันทร์ ภรรยาของ พ.อ.อนันต์ฐโรจน์ ออกมาระบุว่า จ่าจักรพันธ์ ซื้อบ้านตามโครงการสวัสดิการทหาร ราคา 1.5 ล้านบาท ซึ่งผู้เป็นแม่ของตนเอง คือ นางอนงค์ จะมีหน้าที่เรื่องทำเอกสาร เมื่อมีการยื่นเรื่องกู้ เหลือส่วนต่าง 5 หมื่นบาท ก็จะต้องคืนจ่าจักรพันธ์ แต่ทาง นางอนงค์ ได้ฝากเงินให้กับนายหน้าโครงการ ซึ่งนายหน้าต้องคืนจ่าจักรพันธ์
ทั้งที่ ขั้นตอนการขอกู้เงิน อทบ. ของ ยย.ทบ. ระบุไว้ชัดเจนว่า
- ข้าราชการต้องการกู้เงินก็จะมาสอบถามยอดเงินกู้จากเจ้าหน้าที่ อทบ. ที่แผนกสวัสดิการ กบร.ยย.ทบ.
- เจ้าหน้าที่ อทบ. ผสก.กบร.ยย.ทบ. ตรวจสอบใบเงินเดือน และเขียนใบรายรับรายจ่าย เมื่อกู้แล้ว ดูยอดเงินเดือนว่ามีเงินเหลือ 1 ใน 3 ของเงินเดือนเต็มจำนวน
- ผู้ขอกู้เงิน อทบ. กรอกข้อมูลในสัญญา(อ.4) และ(อ.5) และนำเรียนตามสายการบังคับบัญชา ผ่าน ผกง.ยย.ทบ.เพื่อตรวจ สอบหนี้สิน
- เจ้าหน้าที่ อทบ. แผนกสวัสดิการ กบร.ยย.ทบ. รวบรวมเอกสาร ส่งเรื่องขอกู้เงินไปยัง สก.ทบ. ภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน
- เมื่อ สก.ทบ. ดำเนินการเขียนเช็ค เพื่อนำเรียน รอง จก.ยย.ทบ. (2) เป็นผู้ลงนามในเช็คสั่งจ่าย โดยสั่งจ่ายที่ ธนาคารทหารไทยสาขางามวงศ์วาน
รวมไปถึงข้อกำหนดการจ่ายเงินกู้ อยู่ตรงที่การปลูกสร้างอาคารจ่ายเงินเป็น 3 งวด อัตรา 2:1:1 รับเงินที่ กอท.สก.ทบ.เท่านั้น?
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/
อ่านประกอบ : ซื้อถูกแต่ขายแพงให้ลูกน้อง! กลุ่มธรรมาภิบาลโคราช จี้กองทัพสอบปมนายหน้าบ้านจัดสรรทหาร