ลดความแออัด ยธ.เล็ง เพิ่มพื้นที่นอนห้องขังเป็น 2 ชั้น - จัดหากำไล EM 30,000 เครื่อง รองรับการคุมประพฤติ- พักโทษ
วันที่ 28 มกราคม คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสถานการณ์และแนวทางการลดความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ โดยให้กระทรวงยุติธรรม (สำนักงานกิจการยุติธรรม) นำกรอบแนวทางฯ เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติพิจารณาก่อนดำเนินการต่อไป โดยให้กระทรวงยุติธรรม (สำนักงานกิจการยุติธรรม) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย โดยดำเนินการให้สอดคล้องเป็นไปตามแผนแม่บทฯ รวมทั้ง การกำหนดกรอบแนวทางดังกล่าวควรคำนึงให้ครอบคลุมถึงมาตรการรองรับการลดจำนวนผู้ต้องขังทั่วประเทศในระยะยาวต่อไป
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดหาเครื่องมือติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM) เพื่อรองรับการดำเนินการตามแนวทางการลดความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ เห็นควรให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยคำนึงถึงการจัดหาในปริมาณที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการใช้งานจริง ประสิทธิภาพการใช้งานความคุ้มค่า ความเหมาะสมของราคา รวมทั้งความโปร่งใสในการดำเนินการด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงยุติธรรม เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบสถานการณ์และแนวทางการลดความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ โดยมีสาระสำคัญครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น
1) สถานการณ์จำนวนผู้ต้องขังในประเทศไทย ที่ปัจจุบันมีผู้อยู่ในเรือนจำทั่วประเทศ จำนวน 374,052 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2562) รวมถึงผู้ต้องราชทัณฑ์ จำนวน 364,488 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องราชทัณฑ์ที่มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติด/สารระเหย (288,648 คน)
2) สถานการณ์ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำทั่วประเทศเกี่ยวกับพื้นที่เรือนนอนของผู้ต้องขังที่เกินความจุที่เรือนจำรองรับผู้ต้องขังได้ (เกินประมาณ 115,698 คน) ส่งผลให้เกิดปัญหาความแออัดในเรือนจำสรุปได้ ดังนี้
ดังนั้น กระทรวงยุติธรรมจึงได้จัดทำแนวทางการลดความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ ประกอบด้วย 5 กรอบการดำเนินงาน สรุปได้ ดังนี้
ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมแจ้งว่า เรื่องที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการเพื่อการแก้ไขปัญหาข้างต้น จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้
1) การปรับปรุงเพิ่มพื้นที่นอนในห้องขังทั่วประเทศให้เป็น 2 ชั้น จำนวน 94 แห่ง (รวม 1,906 ห้อง คิดเป็นพื้นที่ที่จะปรับปรุง 103,731.50 ตารางเมตร ซึ่งสามารถรองรับการใช้พื้นที่เรือนนอนของผู้ต้องขังได้ จำนวน 86,442 คน) เพื่อบรรเทาความแออัดในระยะเริ่มแรก
2) การจัดหาเครื่องมือติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring : EM) จำนวน 30,000 เครื่อง เพื่อรองรับการคุมประพฤติและการพักการลงโทษ
และเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว กระทรวงยุติธรรมเห็นควรมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดแนวทางการลดความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 ได้รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว