เปิดคลังคำ ที่ไม่ควรใช้เรียกกลุ่ม LGBT
เราจะเรียกบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศว่าอย่างไร รวมไปถึงคำไหนควรใช้ คำไหนไม่ควรใช้ คำไหนเป็นคำที่ตีตรา สร้างอคติด้านลบ สร้างความรุนแรงผ่านภาษา และละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ การตีตราเพศอื่นๆ ว่า เป็นของเทียม ของปลอม การตีตราว่า เพศอื่นที่ไม่ใช่ชาย หญิง เป็นความผิดปกติ
แนวคิดเรื่อง 'เพศ' ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นับว่า ซับซ้อนกว่าคำว่า 'เพศ' ที่เรารู้จักในสังคมไทย ซึ่งต่างจากคำภาษาอังกฤษที่มีอยู่หลายคำ เช่น Sex หมายถึงเพศทางร่างกาย Gender ที่แปลเป็นไทยว่า เพศสภาพ หรือเพศสภาวะ และ Sexuality หรือ Sexual Orientation ที่หมายถึงเพศที่เกี่ยวข้องกับกามารมณ์ ความรู้สึกดึงดูด อารมณ์ปรารถนาทางเพศ ความรักใคร่ชอบพอ มักแปลเป็นไทยว่า เพศวิถี
ล่าสุด โครงการกลไกเฝ้าระวังสื่อในการนำเสนอประเด็นความหลากหลายทางเพศ 4 ภาค กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เปิดตัวคู่มือการปฏิบัติงานสื่อในการนำเสนอประเด็นความหลากหลายทางเพศ เพื่อเป็นแนวทางการนำเสนอประเด็นความหลากหลายทางเพศผ่านสื่อที่เคารพสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
รูปเล่ม การจัดหน้า การนำเสนอเนื้อหาที่กระชับ พร้อมอินโฟกราฟฟิก มีความน่าสนใจ โดยเฉพาะเนื้อหาภายในเล่ม ที่เริ่มต้นด้วยการสร้างความเข้าใจตั้งแต่ คู่มือนี้เหมาะกับใคร เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยคำที่ถูกต้อง เพราะคำว่า เพศ ทุกวันนี้ ไม่ได้ยึดโยงเพียงแค่เพศที่เป็นอวัยวะร่างกายหรือเพศตามคำนำหน้าชื่อ แต่ยังมีคำใช้เรียกบุคคลที่ไม่ได้แสดงออก เป็นหญิง หรือชายตรงเพศกำเนิดเกิดขึ้นมากมาย เช่น เกย์ กะเทย ทอม ดี้ หญิงข้ามเพศ ชายข้ามเพศ เป็นต้น
รวมถึง เราจะเรียกบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศว่าอย่างไร คำไหนควรใช้ คำไหนไม่ควรใช้ คำไหนเป็นคำที่ตีตรา สร้างอคติด้านลบ สร้างความรุนแรงผ่านภาษา และละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ
ขณะที่คำที่ใช้เพื่อตีตราเพศอื่นๆ ว่า เป็นของเทียม ของปลอม การตีตราว่า เพศอื่นที่ไม่ใช่ชาย หญิง เป็นความผิดปกติ การจัดลำดับความสำคัญของเพศ แสดงถึงความไม่เท่าเทียมทางเพศ และสื่อถึงความหมกมุ่นในกามารมณ์
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำเฉพาะส่วนของคำที่ไม่ควรใช้ และต้องเลิกใช้ เรียกกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ มานำเสนอ...
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:นักวิชาการชี้สื่อไม่เข้าใจคำว่า เพศสภาพ-เพศวิถี ต้นเหตุนำข่าวเชิงล้อเลียน
ผู้ใดสนใจสามารถดาวน์โหลดคู่มือฯได้ที่https://drive.google.com/drive/folders/1s7SxcunzWBumLl8Wy9Z9C1PumNMoIGwC
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/