หวั่นวิกฤตสุขภาพ! โพลพบเยาวชน 1 ใน 3 อยากลอง 'บุหรี่ไฟฟ้า' เกือบครึ่งเชื่ออันตรายน้อย
ศจย.เผยวิกฤตสุขภาพจากบุหรี่ไฟฟ้า หลังพบผู้ป่วยรายเเรกในไทย ปอดอักเสบเฉียบพลัน ระบบหายใจล้มเหลว จับมือศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาฯ จัดตั้ง “ระบบเฝ้าระวังการเจ็บป่วยฯ” แห่งแรก หวังจัดเก็บข้อมูล ให้คำแนะนำ ปรึกษาครบวงจร ขณะที่โพลพบเยาวชน 1 ใน 3 อยากลอง เกือบครึ่งมีทัศนคติดี ลดเสี่ยงมะเร็งปอด
วันที่ 11 ธ.ค.2562 ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดแถลงข่าว “วิกฤตสุขภาพเยาวชนไทย จากภัยบุหรี่ ไฟฟ้า” ณ โรงเเรม เดอะ สุโกศล
ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์ของบุหรี่ไฟฟ้าทั่วโลก จัดเป็นวิกฤตโลกทางด้านสาธารณสุข ดังจะเห็นได้จากเมื่อ พ.ย.2562 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาประกาศเตือนใหุ้หยุดสูบบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิด หลังพบผู้เสียชีวิตและป่วยปอดอักเสบรุนแรงจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า เสียชีวิต 48 ราย ป่วย 2,291 ราย โดยในยุโรปที่ประเทศอังกฤษและเบลเยี่ยมมีการพบผู้เสียชีวิตจากบุหรี่ไฟฟ้าเเล้ว
ขณะที่ล่าสุดประเทศไทยพบผู้ป่วยรายแรกจากบุหรี่ไฟฟ้าเกิดปอดอักเสบเฉียบพลันและระบบหายใจล้มเหลว
ทั้งนี้ ปัจจบุันพบว่ามีรายงานการตายและป่วยจากบุหรี่ไฟฟ้าในหลายประเทศ โดยมีข้อสังเกตทางการแพทยที่น่าตกใจคือ เมื่อสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว สามารถป่วยและตายได้ในช่วงเวลาแค่ไม่กี่เดือน
“บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นภัยคุกคามของทุกประเทศทั่วโลก จึงสนับสนุนให้ประเทศไทย ควรมีระบบเฝ้าระวังการเจ็บป่วยจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและบังคับใช้กฎหมายห้ามบุหรี่ไฟฟ้าจริงจัง เพื่อเตรียมการรับมือกับความเจ็บป่วย ที่อาจเกิดขึ้นฉุกเฉินจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องควรเร่งดำเนินการอย่างยิ่ง หากไม่ดำเนินการอะไร ไทยอาจจะมีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และควรเร่งสื่อสารข้อเท็จจริงถึงอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อแก้ไ้ขปัญหา ความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน ที่เป็นพลังสำคัญของชาติ" ศ.นพ.รณชัย กลา่ว
ด้าน นายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการกองทุน สสส.และกรรมการกำกับทิศของ ศจย. กล่าวว่า หลายประเทศทั่วโลกกำลังตื่นตัวเเละเตรียมทบทวนการควบคุมของบุหรี่ไีฟฟ้าอย่างเร่งด่วน ซึ่งมีการห้ามบุหรี่ไ่ีฟฟ้าเเล้วในหลายประเทศ โดยล่าสุดเมื่อ พ.ย. 2562 ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ประกาศห้ามบุหรี่ไฟฟ้า และบังคลาเทศมีแผนห้ามบุหรี่ไฟฟ้าทั้งหมด เพราะหวั่นผลกระทบต่อเยาวชนและสุขภาพของคนในประเทศ
ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยบุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ห้ามนำเข้า ขาย บริการ เเละครอบครอง ซึ่งมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น ในเดือน ต.ค. 2562 ที่ผ่านมา มีการจับกุมผู้ลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าทางออนไลน์ ส่งสินค้าทางไปรษณีย์ ที่ย่านตลิ่งชัน มลูค่าของกลางกว่า 7 ล้านบาท และจับกุมผู้ลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าที่ย่านคลองถมเซ็นเตอร์ จากการเข้าตรวจค้นกว่า 15 ร้านค้า พบผู้ต้องหาคนไทย 7 คน คนต่างด้าว 3 คน และพบของกลางจำนวนมาก อาทิ บุหรี่ไีฟฟ้า 566 ตัว น้ำ ยาสำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้า 5,158 ขวด อุปกรณ์ 1,362 ชิ้น หัวบุหรี่ไฟฟ้า 402 หัว มูลค่าของกลางกว่า 12 ล้านบาท
ขณะที่ น.ส.ช่อผกา วิริยานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทเอยูคอมมินิเคชั่น เปิดผลโพลล่าสุดของ ศจย. ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนในกรุงเทพฯ ผลโพลพบสัญญาณอันตรายหลายประเด็น คือ นักศึกษาเกือบ 100% รู้จักบุหรี่ไฟฟ้า โดย 1 ใน 3 อยากลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า และเกือบครึ่งมีทัศนคติที่ดีต่อบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อเทียบกับบุหรี่ธรรมดา คือ เป็นอันตรายน้อยกว่า ลดความเสี่ยงมะเร็งปอด ช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ธรรมดาได้และเชื่อว่าไม่ทำให้ติด เพราะไม่มีนิโคติน และแม้จะมีข่าวดังทั่วโลกว่ามีคนตายจากบุหรี่ไฟฟา้แล้วในสหรัฐอเมริกา แต่มีนักศึกษาประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ทราบข่าวนี้และจำนวน 1 ใน 6 ยังเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นอันตราย
ทั้งนี้ ผลโพลตอกย้ำว่า สถานการณ์บุหรี่ไฟฟ้าในเยาวชนไทยน่าเป็นห่วง โดยเยาวชนยังมีความสับสนเรื่องข้อมูลของบุหรี่ไฟฟ้า โดยเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย ซึ่งทั้งหมดนี้คือสัญญาณอันตรายอย่างมากที่เกิดขึ้นเเล้วในประเทศไทย
สุดท้าย ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่าบุหรี่ไฟฟ้าในตลาดมากกว่า 95% มีนิโคตินที่เป็นสารเสพติด ผู้เสพสามารถเพิ่มสารนิโคตินในการสูบแต่ละครั้งสูงกว่าบุหรี่ธรรมดากว่า 3-10 เท่า นอกจากนี้สารโคตินยังทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูง ความดันโลหิตสูง มีภาวะหลอดเลือดสมองหดตัวเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง และสารเคมีในบุหรี่ไฟฟ้าประกอบไปด้วยโลหะหนักต่าง ๆ ที่มีพิษต่อปอด แคดเมียมที่มีพิษต่อไต สารก่อมะเร็ง เช่น เบนซีน อะเซตตัลดีไฮด์ มีการปลดปล่อยอนุภาคขนาดเล็กมาก PM 2.5 และอนุภาคนาโนที่เเทรกซึมเข้าร่างกายเป็นการสะสมพิษไปก่ออันตรายในอวัยวะต่างๆ ได้ท้่ัวร่างกาย ดังนั้นบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก
“จากข้อมูลอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าและสถานการณ์ผู้เสียชีวิตและป่วยจากบุหรี่ไฟฟ้าทั่วโลกข้างต้น ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องมี ‘ระบบเฝ้าระวังการเจ็บป่วยจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า’ โดยที่ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับศูนย์วิจัยเเละจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กำลังทำระบบเฝ้าระวังดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ได้มีการรวบข้อมูลที่เกี่ยวกับสารเคมีในบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อที่จะใหบริการข้อมูลให้คำปรึกษา คำเเนะนำ วิธีวินิจฉัย ในการรักษาผู้ป่วยภาวะเป็นพิษจากบุหรี่ไฟฟ้า และโรงพยาบาลรามาธิบดีได้ เตรียมการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในการดูเเลผู้ป่วยผู้บาดเจ็บจากบุหรี่ไฟฟ้า โดยจะจัดทำระบบรับเเจ้งเหตุที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า จากศูนย์รับเเจ้งเหตุห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้บาดเจ็บจากบุหรี่ไฟฟ้าได้รับการดูเเลที่ดีมีประสิทธิภาพ ตั้งเเต่จุดเกิดเหตุจนถึงโรงพยาบาล เเละจัดทำฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบ ในการเฝ้าติดตามระวังสถานการณ์เหตเุกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า” ศ.นพ.วินัยกล่าว
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/