พาณิชย์เปิดผลศึกษาค่าแรง กระทบ 'ราคาสินค้า' ไม่ถึง 1%
เว็บไซต์ www.bangkokbiznews.com รายงานว่า นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฯได้ศึกษาผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขึ้นต่ำ 5-6 บาทต่อวันทั่วประเทศและมีผลบังคับใช้ วันที่ 1 ม.ค. 2563 ว่าจะส่งผลให้ต้นทุนราคาสินค้าปรับเพิ่มขึ้น 0.0061%- 0.6041%
โดยเครื่องแบบนักเรียนได้รับผลกระทบด้านต้นทุนสูงสุด0.6041% เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานจำนวนมาก และที่ได้รับผลกระทบน้อยสุดส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าอุปโภคทั่วไปที่ใช้เครื่องจักร โดยเฉพาะยาสีฟันที่กระทบต้นทุนเพียง 0.0061%อย่างไรก็ตาม ต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้นไม่ถือว่าสูงมากและกรมการค้าภายในจะไม่อนุญาติให้ผู้ประกอบการปรับราคาสินค้าด้วยการอ้างค่าแรงขั้นต่ำแน่นอน
สำหรับรายละเอียดสินค้าที่ได้รับผลกระทบค่าแรงที่เพิ่มขึ้นต่อต้นทุนราคาขายปลีกไม่รวมภาษี พบว่า หมวดอาหารและเครื่องดื่ม กระทบ 0.0085 – 0.2171%โดยกลุ่มนี้ที่ได้รับผลกระทบสูงสุดคือน้ำส้มสายชู และที่ได้รับผลกระทบต่ำสุด นมผง
หมวดของใช้ชีวิตประจำวัน กระทบ 0.0061-0.0973%โดยกลุ่มนี้แป้งเด็กกระทบมากที่สุดและยาสีฟันกระทบน้อยสุด,หมวดกระดาษและผลิตภัณฑ์กระทบ 0.0452%,หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า กระทบ 0.0387-0.1597%โดยหลอดไฟฟ้ากระทบสูงสุดและตู้เย็นกระทบน้อยสุด, หมวดบริภัณฑ์ขนส่ง กระทบ 0.0232-0.1903%โดยยางรถยนต์นั่งกระทบหนักสุด และรถยนต์บรรทุกเล็กกระทบน้อยสุด
หมวดวัสดุก่อสร้างกระทบ 0.0146-0.2705%โดยกลุ่มนี้พบว่าปูนซิเมนต์กระทบมากที่สุด และเหล็กแผ่นรีดร้อน กระทบน้อยสุด, หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม กระทบ 0.0897-0.1297%โดยกลุ่มนี้พบว่าถุงพลาสติกกระทบหนักสุดและน้ำมันหล่อลื่นกระทบน้อยสุด, หมวดปัจจัยทางการเกษตร กระทบ 0.0206-0.00675%โดยกลุ่มนี้พบว่าปุ๋ยเคมีกระทบมากที่สุด และ อาหารสัตว์กระทบน้อยสุด และ หมวดทั่วไป กระทบ 0.1679-0.6041%โดยเครื่องแบบนักนักเรียนกระทบหนักสุดและรองเท้านักเรียนกระทบน้อยสุด
ส่วนของอาหารตามสั่ง ข้าวราดแกงและก๋วยเตี๋ยวนั้นการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 5-6 บาทกระทบต่อต้นทุนประมาณ 10 สต.ต่อถ้วยหรือต่อจาน ซึ่งก็ไม่กระทบ อย่างไรก็ตามในภาพรวมถือว่าการปรับขึ้นค่าจ้างครั้งนี้ไม่กระทบต่อราคาสินค้ามากนัก
นอกจากนี้ได้สั่งการให้พาณิชย์จังหวัดลงพื้นที่ตรวจสอบร้านค้าอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสของผู้ประกอบการ ทั้งนี้จะยังไม่มีการเรียกผู้ผลิต มาหารือ เพราะกระทบต่อราคาไม่ถึง1% ซึ่งยังไม่มีนัยสำคัญ และถึงผู้ผลิตขอปรับราคามากรมก็ยังไม่อนุญาตให้ขึ้นราคาโดยเด็ดขาดหากพบกสนฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาสินค้าก็จะความผิด
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)วันที่ 11 ธ.ค.นี้จะนำเรื่องการประกันราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เข้าสู่การพิจารณาหากได้รับความเห็นชอบจะทำให้จ่ายส่วนต่างเกษตรกรได้ทันทีวันที่ 20 ธ.ค. นี้
นอกจากนี้ เตรียมเสนอครม.ให้พิจารณามาตรการเสริมในการดูแลเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อยกระดับราคาควบคู่กับนโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เช่น เช่น มาตรการชะลอขายข้าวสำหรับตัวเกษตรกรถ้าชะลอขายในช่วงระยะเวลา1-5เดือนก็จะมีเงินช่วยเหลือจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.)ตันละ1500บาท และยังสามารถนำข้าวไปเป็นประกันขอสินเชื่อ กับ ธ.ก.ส. ได้ 80%ของราคาข้าวในตลาดโดยไม่มีภาระดอกเบี้ยควบคู่ไปด้วยได้
ส่วนที่สอง หากเป็นสถาบันเกษตรกรหรือสหกรณ์ ชะลอขาย1-5เดือนก็จะได้รับเงินช่วยเหลือตันละ1500บาทเหมือนกันโดยแบ่งเป็นสองก้อนก้อนที่หนึ่งให้สถาบันเกษตรกร1,000บาท ก้อนที่สอง500บาทให้กับตัวเกษตรกรและในส่วนของโรงสีหากซื้อข้าวมาเก็บได้ในช่วง2-6เดือนก็จะมีเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยได้ 3%เป้าหมายเพื่อลดปริมาณข้าวที่จะออกสู่ตลาด