(คลิป) ตะลุยโรงงาน Siemens ออสเตรีย ดูขั้นตอนผลิต รฟฟ.ทำกันอย่างไร?
เปิดภาพชุด-คลิปวีดีโอ ‘อิศรา’ ตะลุยโรงงานบริษัท Siemens ณ กรุงเวียนนา ออสเตรีย ผู้ผลิตรถไฟฟ้าส่ง BEM ดูกันชัด ๆ ขั้นตอนตั้งแต่ทาสี ยันประกอบเสร็จ เขาทำกันอย่างไร ?
“สำหรับขบวนรถทั้งหมด 35 ขบวน สเปกต่าง ๆ คล้ายของเดิม แต่มีการเพิ่มเติมเทคโนโลยีบางส่วนให้ทันสมัยมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ Operator โดยสิ่งที่ผู้โดยสารจะเห็นได้ชัดขึ้นคือการติดจอระบุพิกัดว่าตอนนี้อยู่สถานีอะไร สถานีหน้าคืออะไร มีระบบ CCTV ในรถ เป็นต้น”
คือคำยืนยันของนายวิทูรย์ หทัยรัตนา รัตนา รองกรรมการผู้จัดการสายปฏิบัติการระบบราง บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM พร้อมด้วยทีมงาน ที่พาคณะผู้สื่อข่าวเดินทางไปยังประเทศออสเตรีย เพื่อดูขั้นตอนการผลิตรถไฟฟ้าที่ BEM จะนำมาใช้ในประเทศไทยแบบใกล้ชิด ชนิดที่เรียกว่ากลิ่นสียังไม่ทันจาง
สำหรับการจัดซื้อรถไฟฟ้าดังกล่าว ดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงปี 2560 โดยจัดซื้อทั้งหมด 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ โดยบริษัท Siemens ส่งและ BEM รับมอบไปแล้ว 18 ขบวน นำไปทดสอบระบบแล้ว 16 ขบวน และอยู่ระหว่างรอนำไปทดสอบระบบ 2 ขบวน ส่วนที่เหลือจะทยอยจัดส่งให้ครบ หลังจากนั้นวันที่ 31 มี.ค. 2562 จึงเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ อย่างไรก็ดีในช่วงต้นเดือน พ.ย. 2562 ที่ผ่านมา ได้เริ่มดำเนินการทดสอบระบบแล้ว คาดว่าหลังจากนี้อาจเปิดให้ผู้โดยสารทดลองใช้ หรือที่เรียกว่า Demo Run โดยเบื้องต้นต้องรอให้ได้ใบเซอร์ระบบอาณัติสัญญาณจากวิศวกรอิสระจากบริษัท Siemens ก่อน
ส่วนกระบวนการผลิตรถไฟฟ้าของบริษัท Siemens ในส่วนตัวตู้ขบวน ผลิตที่บริษัท Siemens สาขาประเทศตุรกี ส่วนเครื่องยนต์และระบบทั้งหมดผลิตที่เมืองกราซ ก่อนที่จะนำ 2 ส่วนเข้ามาที่กรุงเวียนนา เพื่อประกอบเป็นตู้ขบวน (อ่านประกอบ : BEM เผยโฉม รฟฟ.ใหม่จาก Siemens ปรับสเปกทันสมัย-รับอัตราเติบโต 4-5% ต่อปี)
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำภาพชุด และคลิปวีดีโอกระบวนการผลิตรถไฟฟ้าดังกล่าวแบบเห็นกันชัด ๆ มานำเสนอให้สาธารณชนรับทราบ ดังนี้
(คณะผู้บริหารบริษัท Siemens สาขากรุงเวียนนา อธิบายถึงขั้นตอนการผลิตรถไฟฟ้าขายแก่หลายประเทศทั่วโลก)
(รูปจำลอง 3 มิติในการออกแบบรถไฟฟ้าที่จะผลิตให้แก่บริษัท BEM เพื่อนำมาใช้ในโครงการสายสีน้ำเงิน)
(ทางเข้าโรงงาน และโกดังเก็บสินค้าของบริษัท Siemens สาขากรุงเวียนนา)
(โครงเปล่าของรถไฟฟ้าซึ่งถูกผลิตที่บริษัท Siemens สาขาประเทศตุรกี ก่อนส่งมาทาสีที่สาขากรุงเวียนนา)
(โครงเปล่าที่ทาสีเสร็จแล้ว รอติดตั้งระบบเครื่องยนต์ โดยเครื่องยนต์ผลิตที่ Siemens สาขาเมืองกราซ ประเทศออสเตรีย)
(ช่างของบริษัท Siemens สาขากรุงเวียนนา ตรวจสอบความพร้อมโครงสร้างครั้งสุดท้าย ก่อนนำไปประกอบเครื่องยนต์ ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งเครื่องยนต์เป็นความลับ มิได้อนุญาตให้สื่อถ่ายภาพ)
(ประกอบเครื่องเรียบร้อย รอทดสอบระบบอีกครั้ง ก่อนจะส่งมอบให้ BEM นำมาเปิดใช้บริการในไทยต่อไป)
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/