เกรอโนเบิ้ล เมืองนวัตกรรม ใจกลางเทือกเขาแอลป์ ประเทศฝรั่งเศส
นิตยสาร Forbes จัดให้ เกรอโนเบิ้ล เป็นเมืองที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นอันดับ 5 ของโลก มุ่งเน้นการสร้างความเลิศด้านการพัฒนานวัตกรรม ในสาขาต่างๆ ทั้งโมโครและนาโนเทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ชีวศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ
“ฝรั่งเศส” เป็นหนึ่งในประเทศที่มีแนวคิดการพัฒนาเมือง ผ่านการวางรากฐานด้านการวิจัยและการศึกษาเป็นตัวนำ โดยเฉพาะที่เมืองเกรอโนเบิ้ล หรือเกรอน็อบส์ (Grenoble) ในจังหวัดอีแซร์ (Isere) ตั้งอยู่ในหุบเขาและมีพื้นที่ติดกับเทือกเขาแอลป์ จนได้รับฉายา เมืองหลวงของเทือกเขาแอลป์ (capital of the Alps)
เมืองนี้มีความน่าสนใจ...
- คนในเมืองเกรอโนเบิ้ล 1 ใน 5 จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาด้านนวัตกรรม และการวิจัย และทำงานเกี่ยวข้องกับด้านนี้
- แต่ละปีมีนักศึกษาไม่ต่ำกว่า 62,000 คน เลือกมาเรียนที่นี่ ในจำนวนนี้ 9,000 คนเป็นนักศึกษาต่างชาติ และ 41% เรียนสายวิทยาศาสตร์
- มีงานวิจัยมากกว่า 10,000 ชิ้น เกิดขึ้นเมืองเกรอโนเบิ้ล
- ไม่ต่ำกว่า 700 ชิ้นต่อปี คือ ตัวเลขของการยื่นขอจดสิทธิบัตร
- ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา สามารถสร้างสตาร์ทอัพแล้วมากกว่า 460 บริษัท
- สร้างงานในภาคอุตสาหกรรมได้มากกว่า 10,000 คน
- ไม่ต่ำกว่า 40 บริษัท ตั้งอยู่ในพื้นที่นี้ รวมถึงศูนย์นวัตกรรม (Research and Development) ของบริษัท Schneider Electric บริษัทด้านการจัดการพลังงานด้วย
นายเอริค เพิล (Eric Piolle) นายกเทศมนตรี เมืองเกรอโนเบิ้ล
ภาพมุมสูง เมือง Grenoble
กระเช้าลอยฟ้า Grenoble-Bastill Cable ขึ้นไปสู่จุดชมวิวเมือง
เดิมที เกรอโนเบิ้ล (ค.ศ.1956) เป็นเมืองอุตสาหกรรมหนัก ก่อนจะค่อยๆ พัฒนาเมืองเป็นไปในเชิงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตควบคู่กันไป กระทั่งสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง เพิ่มพื้นที่สีเขียว กลายเป็นเมืองติดอันดับเมืองน่าอยู่ของฝรั่งเศส -ระดับโลก และยังเป็นศูนย์กลางงานวิจัยอันดับ 2 ของฝรั่งเศส ซึ่งทั้งหมดผ่านการวางแผนจากความร่วมมือกันระหว่างผู้บริหารเมือง ผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารจากภาคอุตสาหกรรมที่มีวิสัยทัศน์ มาไม่ต่ำกว่า 50 ปี
ขณะที่นิตยสาร Forbes จัดให้ เกรอโนเบิ้ล เป็นเมืองที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นอันดับ 5 ของโลก มุ่งเน้นการสร้างความเลิศด้านการพัฒนานวัตกรรม ในสาขาต่างๆ ทั้งโมโครและนาโนเทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ชีวศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ
หนึ่งเมือง เชื่อมกับโลก
เกรอโนเบิ้ล นอกจากเป็นเมืองท่องเที่ยวทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศสที่มีทัศนียภาพสวยงามแล้ว
อีกจุดเด่นที่น่าจับตามอง คือการเป็นเมืองนวัตกรรมแบบก้าวกระโดด พื้นที่ 250 เฮคเตอร์ ที่ตั้งของ GIANT (Grenoble Innovation for Advanced New Technologies) แหล่งรวมศูนย์วิจัยและพัฒนา ที่ตั้งของสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคอุตสาหกรรม ร้านค้า และที่อยู่อาศัยครบวงจร โดยสัดส่วนการลงทุนใน GIANT นั้น มาจาก 5 ภาคส่วน 1.รัฐ 19% 2.รัฐบาลท้องถิ่น 24% 3.หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสหภาพยุโรป (European Large Infrastructure) 19% 4.CEA (Commissariat à l'énergie atomique et aux énergies alternatives) 5% และ 5.หน่วยงานเอกชน 15%
จนวันนี้ GIANT สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจปีละไม่ต่ำกว่า 4.1 ล้านยูโร โดยเป็น 1 ใน 3 ของจีดีพี เมืองเกรอโนเบิ้ล
ผลงานของ GIANT โดดเด่น ในด้านพลังงาน และระบบคมนาคมที่ลดการปล่อยก๊าซคอร์บอนไดออกไซด์ เช่น รถไฟ รถราง (tramways) จักรยาน รถยนต์พลังานไฟฟ้า ซึ่งอนาคตเมืองนี้มีแผนพัฒนารถรางลอยฟ้า (Cable car) ช่วยจะช่วยรองรับจำนวนคนที่จะเข้ามาทำงานและอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น
และจากการบริหารจัดการ เลือกใช้เทคโนโลยีขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (green transportation ) สู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ที่ GIANT ยังมี Smart Grid Labs ของมหาวิทยาลัยเกรอโนเบิ้ล G2ELab (Grenoble Energy-Teaching Research) มีนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ระบบ Smart Grid มีห้องทดลองสำหรับการศึกษาและพัฒนาระบบพลังงานอัจฉริยะ มีการส่งเสริมการวิจัย ด้วยการเป็นหุ้นส่วนกับภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนาและขยายเครือข่ายระบบ Smart Grid ภายในเมือง โดยสร้างความเชื่อมโยงระบบระบบพลังงานระหว่างอาคารต่างๆ
รวมไปถึงแนวคิด Smart Building เพื่อรวมเข้ากับ Smart Grid แล้วเชื่อมโยงท้องถิ่นและคนภายในเมืองทั้งหมด
จากการเยี่ยมชม เราจะเห็นนักศึกษาและนักวิจัยจากหลากหลายชาติ ใช้ห้องทดลองที่นี่ เพื่อทดสอบกลยุทธ์การจัดการพลังงาน ผ่านระบบอัจฉริยะเพื่อการพัฒนาเมือง
GreEn-ER (Grenoble Energy-Teaching Research)
เมื่อเดือนมิถุนายน 2562 นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.
นำสื่อมวลชน ศึกษาดูงานการจัดการเมืองอัจฉริยะ เมือง Grenoble ประเทศฝรั่งเศส
Frédéric Wurtz นักวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส CNRS ·- G2ELAB
กับงานวิจัย Smart Grid สำหรับการจัดการพลังงานในอาคาร (Micro Smart Grid for Building Energy Management)
นักศึกษาจากหลากหลายชาติ
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ตามดูระบบบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ จากเวียนนา-เอสเพน ประเทศออสเตรีย
"วิทวัส สวัสดิ์-ชูโต" ฉายภาพ ปตท.กับการออกแบบ New Business S-curve
ปตท.เล็งถอดโมเดล Grenoble เมืองอัจฉริยะ ฝรั่งเศส ปรับใช้ EECI ที่ระยอง
EECI-เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจ ปตท.คาดภายใน 5 ปีเกิดจุดสตาร์ท