ชะตากรรม"สื่อใหม่-สื่อเล็ก"ถูกตีกรอบลงโทษโดยกฎหมายจากกรณี"ประชาไทถึงวิทยุชุมชน"
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ(คปส.) จัดงานสัมมนา "กฎหมายกับสื่อทางเลือกภายใต้สถานการณ์ทางการเมือง : จากเว็บไซต์ประชาไทถึงวิทยุชุมชนแปลงยาว" ที่ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท นาย ตฤณ ใหม่เอี่ยม หัวหน้าสถานีวิทยุชุมชนแปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา และนายศิลป์ฟ้า ตันศราวุธ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเกี่ยวกับสื่อ
น.ส.จีรนุช กล่าวถึงปัญหาในฐานะสื่อที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากพ.ร.ก.ฉุกเฉินปิดเว็บไซต์ ประชาไทและถูกจับกุมเมื่อวันที่ 24 กันยายนหลังจากเดินทางกลับจากต่างประเทศเป็นเหตุที่ไม่คาดฝัน จนถึงวันนี้ทุกครั้งที่เดินทางออกนอกประเทศแล้วกลับเข้ามาประเทศที่เราคิด ว่ากลับบ้านเกิดความระทึกขวัญล่าสุดที่เดินทางกลับจากต่างประเทศรู้สึกกังวล ที่ต้องระแวดระวัง แต่ประสบการณ์ถูกจับกุมที่สนามบินเป็นประสบการณ์ล้ำค่า เพียงเพราะมีคนโพสต์ข้อความในเว็บไซต์ประชาไทเมื่อ 2 ปีที่แล้วมีคนไปร้องทุกข์กล่าวโทษไว้ที่ สภอ.ข่อนแก่น มีหมายจับเมื่อหนึ่งปีที่ผ่านมาและถูกจับกุมหลังเหตุการณ์เกิดไปแล้ว 2 ปี
"มองว่ากฎหมายในปัจจุบันมีทั้งกฎหมายใหม่และ กฎหมายเก่ามีทั้งหมด 3 ฉบับ กฎหมายใหม่ คือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เกี่ยวกับภาระการรับผิดของผู้ให้บริการเป็นเรื่องที่น่า สนใจว่าเป็นการกำหนดภาระความรับผิดชอบให้ตัวกลาง ฐานความผิดทางอาญา จำคุกสูงสุด 5 ปี กรณีข้อความมีการโพสต์ข้อความจำนวน 10 กระทู้ ต่อ 1 กรรม ที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญาที่ถูกนำมาใช้ในการจำกัดเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความ คิดเห็นเป็นกฎหมายเดิม ในมาตรา 112 ว่าด้วยผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และมาตรา 116 (2) มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อ ความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี" น.ส.จีรนุช กล่าว
น.ส.จีรนุช กล่าวว่า กรณีถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เป็นกรณีแรกที่ไม่ได้มีการกระทำการเผยแพร่ข้อความเหล่านั้นด้วยตัวเราเอง เพราะว่าบทสัมภาษณ์ที่ประชาไทลงเผยแพร่ไม่มีปัญหาแต่มีปัญหาเรื่องคนโพสต์ ข้อความซึ่งกฎหมายระบุต้องดำเนินคดีกับตัวการไม่ใช่ตัวกลาง เหตุการณ์เกิดตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 เจ้าหน้าที่ตำรวจมาดำเนินคดีเมื่อเดือน เมษายน ปี 2551 และมารับทราบการแจ้งข้อกล่าวหาเมื่อวันที่ 24 กันยายน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองทำหน้าที่จับกุมนำตัวส่ง สภ.ข่อนแก่น ถูกควบคุมตัวไปที่ข่อนแก่นออกจากสนามบินสุวรรณภูมิ 5 โมงเย็นถึงข่อนแก่น 5ทุ่ม 15 นาที และได้ประกันตัวเสร็จเรียบร้อยตอนเวลาตี 2
"ส่วนตัวคิดว่ามันมีกฎหมายที่มี ลักษณะการบังคับใช้ออกมาในลักษณะควบคุมปราบปรามมากกว่าแต่ที่บังคับใช้เพื่อ การคุ้มครองไม่ค่อยได้ผล ซึ่งเว็บไซต์ประชาไทยึดมั่นและทำหน้าที่คือยึดมั่นในการทำหน้าที่อิสระไม่ ได้มีนักการเมืองแอบแฝง เรื่องความเป็นกลางเรื่องความรอบด้านคิดว่าเป็นมหากาพย์เรื่องยาวของสื่อ เมื่อเวลาผ่านไปมาพูดถึงความเป็นกลางไม่สามารถวัดได้ดเพราะเรายังไม่รู้ว่า ปลายแคต่ละด้านอยู่ตรงไหนเพราะสังคมยังไม่มีเส้นตรงกลาง" น.ส.จีรนุช กล่าว
ทางด้านนายตฤณ กล่าวว่า วิทยุชุมชนแปลงยาวก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ออกอากาศได้ 2 เดือนประชาชนเริ่มให้ความสนใจร่วมกันระดมทุนได้เงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อไปซื้อเครื่องออกกาศและเสาสัญญาณออกอากาศครั้งแรก คือ หอกระจายข่าว โดยสถานีวิทยุตั้งอยู่ภายในวัดมีการยื่นจดทะเบียนเป็นวิทยุชุมชนจาก คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้สามารถออกอากาศได้ และมีหลักเกณฑ์ว่าห้ามไปหาโฆษณาเพราะวิทยุชุมชนแปลงยาวได้รับเงินทุนจาก ประชาชนให้มาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเนื่องจากวัดเป็นคนรับผิดชอบเรื่องค่าน้ำ ค่าไฟ ในที่สุดก็ถูกปิดวันที่ 4 พ.ค.บอกว่าไม่มีใบอนุญาตให้เปิดสถานี มีเจ้าหน้าที่ ศอฉ. และเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางมาที่สถานี
"ผมจึงบอกกับทางเจ้าอาวาสว่าให้เจ้าหน้าที่รอตรวจสอบใบอนุญาตก่อนเพราะ เรามีใบเหลืองให้ออกอากาศได้แต่เมื่อนำมายื่นแล้วเจ้าหน้าที่กลับบอกว่าเรา มีความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2489 ข้อาหามีใช้เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์คมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน กับตั้งสถานีโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ไม่มีความผิดเรื่องคลื่นที่ออกอากาศตามพ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่พ.ศ.2551 ไม่ผิด เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวผมไปที่โรงพักคิดว่าจะได้รับการประกันตัวในวันเดียวกัน จึงขอใบรับรองตำแหน่ง อตบ.ไปด้วยแต่ปรากฏว่าไม่ได้รับการประกันตัวที่สภ.แปลงยาว ผมถูกนำตัวส่งต่อที่กองปราบปรามพร้อมอุปกรณ์เครื่องส่งวิทยุของชุมชนถูกยึด หมด และผมต้องนอนคุก 1 คืน เจ้าพนักงานไม่ได้ให้ประกันตัว และวันรุ่งขึ้นชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ช่วยกันระดมเงินประกันตัวผมออกมาได้ใน ที่สุดเพราะเงินตำแหน่งทางอบต.ไม่พอ" นายตฤณ กล่าว
นายตฤณ กล่าวต่อว่า ได้ยอมรับสารภาพว่ามีใช้และตั้งสถานีโดยไม่ได้รับอนุญาตศาลปรับ 8 พันบาท จำคุก 1 ปีโทษรอลงอาญา 2 ปี ระหว่างนั้นชาวบ้านมีการระดมทุนอีกครั้งเพื่อซื้ออุปกรณ์ที่ถูกทางการยึดไป แต่เมื่อเราไปขอใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมายกลับถูกให้ชะลอไม่สามารถออกไป อนุญาตได้ทั้งที่วิทยุชุมชนของเราไม่ได้มีเนื้อหาที่กระทบกับความมั่นคง เพียงแค่กระจายข่าวในชุมชนเท่านั้นเอง
ขณะที่นายศิลป์ฟ้า ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย กล่าวว่า รัฐธรรมนูญการจะร่างกฎหมายที่ก้าวหน้าไปกว่าประเทศไม่ได้เพราะถ้ารัฐธรรมนูญ ฉบับประชาราษฎร์ 2540 ยังไม่ได้รองรับอิสระเสรีภาพของประชาชนมากมายขนาดนั้น เรื่องคลื่นความถี่พอกฎหมายบอกว่าคลื่นเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเป็น สมบัติของสาธารณทุกคนจะคิดว่าเป็นของตัวเอง ความผิดพลาด คือ กทช.ตั้งไม่ได้เพราะไม่มีพื้นฐานรองรับ ซึ่งต้องมีการจัดสรรไม่เช่นนั้นคลื่นจะทับกันเพราะถ้าคนที่มีกำลังส่ง เครื่องกำลังแรงมากกว่าจะทับเครื่องส่งที่มีกำลังน้อยกว่า ถ้าทุกคนซื้อเครื่องส่งแล้วออกอากาศได้ทุกคนจะไม่ได้ประโยชน์เพราะมันจะทับ ซ้อนกัน ดังนั้นเครื่องส่งจะอยู่ที่กฎหมายตัวเก่าแต่คลื่นความถี่จะเป็นกฎหมายใหม่ ที่ต้องมีการจัดสรร
"คอมพิวเตอร์เป็นช่องทางที่ทำให้ผิดมากและส่วนใหญ่เป็นพวกนิรนามแต่เจ้า หน้าที่ตามตรวจสอบได้ ในมาตรา 14 ของพ.ร.บ.คอมฯอาจจะไม่ได้เขียนด้วยซ้ำแต่เป็นผู้รับแล้วส่งต่อให้เพื่อนและ ทันทีที่ส่งต่อให้เพื่อนก็มีโทษเหมือนกระทำความผิดเอง พ.ร.บ.คอมฯ แบ่งความผิดเป็นเกี่ยวกับความผิดโดยตรง ส่วนมาตรา 14-15 มีปัญหาที่สุด ม. 14 ที่เอาความผิดที่เป็นความผิดกฎหมายอื่นอยู่แล้วมาใส่ในกฎหมายคอมพิวเตอร์ คำว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มันเป็นลักษณะแรกความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร กฎหมายฉบับใดก็แล้วแต่ที่รวมเรื่องความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราช อาณาจักรจะหมายถึง หมิ่นพระบรมราชานุภาพด้วย" นายศิลป์ฟ้า กล่าว
นายศิลป์ฟ้า กล่าวว่า ความผิดที่มีลักษณะหมิ่นเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ควรส่งต่อทางมือ ไม่ใช่ทางอินเตอร์เน็ต หากส่งต่อทางอินเตอร์เน็ตจะมีความผิดทันทีเรื่องนี้ต้องให้การศึกษากับ ประชาชนว่ามันมีความผิดและมีโทษที่เหมือนกับคนเขียนข้อความคนแรก
จากนั้น น.ส.จีรนุช กล่าวต่อว่า ในแง่ พ.ร.บ.คอมฯถูกกล่าวหาหรือดำเนินคดีได้เฝ้าติดตามดูพ.ร.บ.ฉบับนี้ตั้งแต่ต้น และได้แสดงความห่วงใยในประเด็นที่จะปิดกั้นการแสดงออกอยู่แล้ว คำถาม คือ การตีความและการบังคับใช้เป็นปัญหาใหญ่มากเพราะทุกหน่วยงานอยากจะนำมาใช้ เหมือนกับเป็นเครื่องมือใหม่ในการปราบปรามอาชญากรรม นำมาใช้เป็นเครื่องมือใหม่ แต่ความพร้อมของเจ้าหน้าที่มาบังคับใช้ยังไม่พร้อมหลายสิ่งหลายอย่างเจ้า หน้าที่ไม่รู้ไม่เข้าใจรายละเอียดของสิ่งเหล่านั้้นด้วยซ้ำไป มีคนตั้งคำถามว่าสื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วแต่เข้าใจได้ว่าเรื่องโอกาส ที่จะเกิดคดีมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ในฐานะสื่อใหม่นำมาซึ่งวิธีปฏิบัติที่ต่างออกไป วิธีการบังคับใช้สื่อใหม่ ไม่มีใครโดนหมายจับหรือถูกจับกุมในสำนักงานหรือสนามบิน วิธีการเลือกบังคับใช้เลือกออกเป็นหมายจับแทนที่จะเป็นหมายเรียก โดยไม่คำนึงถึงสิทธิของประชาชนคนหนึ่งที่จะพิสูจน์ความเป็นธรรมเมื่อออกหมาย จับแล้วมันยุ่งยากมากต่อชีวิตคนคนหนึ่ง กระบวนการเรื่องการประกันตัวต้องเพิ่มภาระหาเงินประกันตัว เจ้าหน้าที่จะต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา ควรจะมีการตั้งคำถามในดุลยพินิจการบังคับใช้กฎหมาย
"การดำเนินคดี พ.ร.บ.คอมฯ มักจะเชื่อมโยงกับ ม.112 เอาผิดทั้ง 2 กรณี ซึ่งตัวบทกฎหมายที่ทำให้เจ้าหน้าที่ตีความได้กว้างขวาง ทำไมสื่อทางเลือกสื่อเล็กๆถูกคุกคาม สื่อใหม่ๆยังเกิดขึ้นภายใต้สื่อชุมชนและวัฒนธรรมใหม่ๆ และคนเพิ่งจะเริ่มใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นประจำได้ไม่นานเป็นวิถีชีวิตแบบ ใหม่ เราอาจจะไม่ได้ทำความเข้าใจเพียงพอหรือให้อำนาจสูงสุดกับรัฐในการกำกับดูแล เรื่องการสื่อสารไม่ควรให้อำนาจรัฐในการกำกับดูแลเพราะรัฐอาจจะชี้ถูกชี้ผิด เองก็ได้ เราจะทำให้รัฐและสังคมเข้าใจได้อย่างไรว่าการกำกับดูแลยสื่อไม่ใช้หน้าที่ ของรัฐ สิ่งสำคัญ คือ สิทธิของสื่อใหม่กับสิทธิของประชาชนแทบจะอยู่บนเส้นทับเดียวกัน สื่อ ใหม่ที่เปิดบล็อกขึ้นมาความเป็นพลเมืองของเขากับการทำหน้าที่สื่อซ้อนทับกัน แยกไม่ออกจากกัน การที่สื่อใหม่ต้องพิจารณาว่าเราจะคุ้มครองสื่อใหม่อย่างไรก็เป็นเรื่อง เดียวกับที่ว่าจะคุ้มครองพลเมืองอย่างไร" น.ส.จีรนุช กล่าว
นายตฤณ กล่าวว่า ขออิสระให้พวกเราบ้างใน การนำเสนอข้อมูลของชุมชนให้โอกาสได้เสนอข้อมูลในกลุ่มประชาชนบางคนไม่รู้ ด้วยซ้ำว่าชุมชนมียาเสพติดในหมู่บ้านของตัวเอง เราเป็นสื่อเล็กๆที่สามารถขับเคลื่อยสิ่งดีๆต่อชุมชมได้ขอโอกาสเราออกอากาศ
นายศิลป์ฟ้า กล่าวว่า การปิดวิทยุชุมชนมันเกี่ยวกับข้องกับ สถานการณ์ในขณะนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลขณะนี้มีทหารสนับสนุน เพราะถ้าการเมืองไม่วุ่นวายขนาดนี้การบังคับกฎหมายอาจจะไม่เข้มงวดขนาดนี้ หากบรรยากาศการเมืองเป็นแบบนี้ทางเจ้าหน้าที่ยังต้องฟ้องอยู่ดี บรรยากาาศทางการเมืองมีส่วนมากในการบังคับใช้กฎหมายที่ให้โทษฝ่ายใดฝ่าย หนึ่ง ส่วนกรณีการไม่ให้อำนาจรัฐควบคุมสื่อมองว่าไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยตราบใดที่ ช่อง 3,5,7,9,11ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมประชาสัมพันธ์กับทหาร ฉะนั้นอย่ามาพูดเรื่องการปฏิรูปสื่อ .
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1286962294&grpid=01&catid=