5,000 ล้าน! ย้อนบทเรียนความเสียหาย คดีทุจริตคืนภาษี นำเข้า ส่งออกแร่โลหะ กรมสรรพากร
"...ในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2560 ได้เกิดการรทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มโดยกลุ่มอิทธิพลร่วมกันกระทำการอย่างเป็นระบบครั้งใหญ่ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อรายได้แผ่นดิน จำนวนมหาศาล ได้แก่ กรณีกลุ่มผู้ประกอบการรับซื้อจำหน่าย นำเข้าและส่งออกแร่โลหะทุกชนิด และกรณีกลุ่มบุคคลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มิได้ประกอบการจริงหรือประกอบการจริงเพียงบางส่วนโดยทั้งสองกรณีนี้มีลักษณะการกระทำผิดที่ใกล้เคียงกันและมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอยู่บางประการด้วย..."
ในตอนที่แล้ว สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org นำข้อมูลมาเสนอไปแล้วว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่ข้อมูลผลวิจัยการศึกษากลุ่มอิทธิพล ซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ (Organized Corruption) จำแนกตามภาคเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย จัดทำโดยทีมวิจัยที่มีนางสาววัชรา ไชยสาร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงาน ป.ป.ช. พบว่า ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันโดยกลุ่มอิทธิพลร่วมกันกระทำการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรอย่างเป็นระบบในลักษณะองค์กรอาชญากรรม
โดยในงานวิจัยเรื่องนี้ ระบุว่า สำหรับลักษณะความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงและความร่วมมือของกลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตอย่างเป็นระบบ พบว่า ความสัมพันธ์ของกลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากร มักเริ่มจากความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ แล้วพัฒนาความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบจนถึงกับมีลักษณะเป็นองค์กรที่มุ่งกระทำการทุจริตทางภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากร โดยมีการวางแผนงาน วางแผนคน แบ่งงานกันทำแบบเครือข่ายที่มีความเชื่อมโยงและความร่วมมือกัน ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ข้าราชการและนักการเมือง) ร่วมกับกลุ่มผู้มีอิทธิพลหรือ กลุ่มบุคคลอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันในเชิงธุรกิจ หรือมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างกันกระทำการทุจริตทางภาษีอากร หรือทำการทุจริตภาษีในเชิงนโยบาย (เช่น การกำหนดนโยบาย/กฎหมายเกี่ยวกับการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ เป็นต้น) และกระทำการทุจริตในการไม่ชำระค่าภาษีหรือหลีกเลี่ยงค่าภาษีในเขตปลอดอากร (อ่านประกอบ : องค์ความรู้ใหม่ 'ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์' จุดเริ่มต้นทุจริตคืนภาษีVAT- ภาษีศุลกากร ในไทย)
ทั้งนี้ ในงานวิจัยเรื่องนี้ ได้มีการหยิบยกตัวอย่าง คดีทุจริตภาษี ตั้งแต่ยุคอดีต จนถึงยุคปัจจุบัน เพื่อมาใช้อธิบายถึงกระบวนการและวิธีการทุจริตประกอบการทำเสนอข้อมูลเชิงลึกให้เห็นภาพชัดเจนด้วย ซึ่งมีข้อมูลส่วนหนึ่งเชื่อมโยงไปถึง คดีทุจริตคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ของกรมสรรพากร วงเงินหลายพันล้านบาท ที่สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ขยายผลการสอบสวนนำไปสู่การสอบสวนดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องทั้งในส่วนข้าราชการกรมสรรพากร และกลุ่มเอกชนที่เกี่ยวข้องนับสิบราย ลักษณะการกระทำความผิดปรากฎในรูปแบบบุคคลกลุ่มหนึ่งจดทะเบียนตั้งบริษัทขึ้นมา ใช้ห้องเช่าเป็นสำนักงาน อ้างว่าทำธุรกิจส่งออกไปต่างประเทศ ใช้ชื่อชาวบ้านถือหุ้นและเป็นกรรมการ (ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ จ.พิจิตร) อ้างว่ามีต้นทุนจากการซื้อขายสินค้า แต่ไม่ได้ส่งออกจริง แล้วมาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร ซึ่งนับเป็นหนึ่งในผลงานข่าวของสำนักข่าวอิศรา ที่แสดงออกถึงบริบทการทำหน้าที่สื่อมวลชน ในการตรวจสอบปัญหาความไม่ชอบมาพากลเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์สาธารณะ ด้วย (อ่านประกอบ : เจาะทุจริตคืนภาษี 4.3 พันล. ถึงเปิดโปงกลุ่มใหม่ 2 พันล. หน้าที่ปกติ ‘สื่อ-อิศรา’)
สำนักข่าวอิศรา นำข้อมูลคดีทุจริตคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ปรากฎในงานวิจัยชิ้นนี้มานำเสนอ ณ ที่นี้
ในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2560 ได้เกิดการรทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มโดยกลุ่มอิทธิพลร่วมกันกระทำการอย่างเป็นระบบครั้งใหญ่ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อรายได้แผ่นดิน จำนวนมหาศาล ได้แก่ กรณีกลุ่มผู้ประกอบการรับซื้อจำหน่าย นำเข้าและส่งออกแร่โลหะทุกชนิด และกรณีกลุ่มบุคคลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มิได้ประกอบการจริงหรือประกอบการจริงเพียงบางส่วน
โดยทั้งสองกรณีนี้มีลักษณะการกระทำผิดที่ใกล้เคียงกันและมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอยู่บางประการด้วย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
@ กรณีกลุ่มผู้ประกอบการรับซื้อ จำหน่าย นำเข้าและส่งออกแร่โลหะทุกชนิด
เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2556 สำนักตรวจสอบภาษีกลาง (ตส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายในกรมสรรพากร 20 ได้รายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้นเสนออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อพิจารณาและสั่งการว่า จากการสุ่มตรวจกลุ่มผู้ส่งออกเศษเหล็กในหลายพื้นที่ทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มผิดปกติ ณ ขณะนั้น คิดเป็นมูลค่าจำนวน 2,600 ล้านบาท แต่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ตส. ยุติการตรวจสอบภาษีกลุ่มนี้โดยให้เหตุผลว่าไม่ต้องการให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อนกับสำนักงานสรรพากรภาค 5
แต่ต่อมาเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้ส่งจดหมายร้องเรียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการคลัง รองปลัดกระทรวงการคลัง กลุ่มภารกิจด้านรายได้ (ในขณะนั้น) ขอให้ตรวจสอบผู้บริหารระดับสูงของกรมสรรพากรบางคนส่อพฤติกรรมเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้ส่งออกเศษเหล็กให้ได้รับเงินภาษีมูลค่าเพิ่มคืนเป็นจำนวนเงินหลายพันล้านบาท และนอกจากนั้น ยังได้ส่งเรื่องร้องเรียนไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษและสำนักงาน ป.ป.ช. รวมทั้งสื่อมวลชน ทำให้ได้รับความสนใจจนนำไปสู่การสืบสวนสอบสวนในเชิงลึกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน
โดยตามข้อเท็จจริงนั้น ในช่วงเดือนพฤษภาคม - เดือนธันวาคม พ.ศ.2555 กลุ่มบุคคลนำโดยนาย WS ได้ร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำนวน 30 แห่ง พื้นที่เขตบางรัก กรุงเทพมหำนคร ซึ่งมีทุนจดทะเบียนแห่งละ 1 ล้านถึง 5 ล้านบาท ซึ่งบริษัทดังกล่าวอ้างว่า ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันทั้งหมด คือ รับซื้อ จำหน่า นำเข้าและส่งออกแร่โลหะทุกชนิด ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่ำเพิ่ม เพื่อให้ได้สิทธิในการขอคืนภาษี เนื่องจากกรณีการส่งออกสินค้ำประเภทเศษโลหะจะมีอัตราภาษีเป็นศูนย์ซึ่งผู้ส่งออกจะสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร คิดเป็นร้อยละ 7 จากราคาซื้อสินค้า โดยที่กลุ่มบริษัทกดังกล่าว ใช้อาคารหรือห้องเช่าในพื้นที่ สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งสำนักงาน ซึ่งสำนักงานนั้น มีลักษณะเป็นห้องโล่ง ๆ ไม่ได้ตกแต่งหรือมีลักษณะเป็นสำนักงานประกอบธุรกิจแต่อย่างใด
และยังใช้หมายเลขโทรศัพท์เดียวกันด้วย กับทั้งในการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลนั้นมีการใช้ชื่อบุคคลคนเดียว เป็นกรรมการในบริษัทประมาณ 2 บริษัท นอกจากนั้น ยังปรากฎหลักฐานว่า บุคคลที่มีชื่อเป็นกรรมการในแต่ละบริษัทได้ทำหนังสือมอบอำนาจที่มีที่มีรูปแบบเหมือนกัน ให้นาย SM เป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรุงเทพมหานคร และเมื่อตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคลยังพบว่า มีรายชื่อ บุคคลที่เป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
โดยกลุ่มบริษัทดังกล่าวอ้างว่า มีต้นทุนจากการซื้อขายสินค้า แต่ไม่ได้ประกอบการจริง แล้วมาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 22 และ กรมสรรพากรได้คืนเงินภาษี ในช่วงปี พ.ศ. 2555 ถึง 2556 ให้กับบริษัท 25 แห่งใน 30 แห่ง ดังกล่าวหลังจากที่บริษัทก่อตั้งเป็นเวลาไม่กี่เดือน รวมมูลค่า 3,000 กว่าล้านบาท
นอกจากบริษัทนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในพื้นที่ เขตบางรักข้างต้นแล้ว ยังตรวจสอบเพิ่มเติมพบนิติบุคคลหรือบริษัทที่จดทะเบียนในลักษณะเดียวกันในพื้นที่อื่น ๆ ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ อีกจำนวน 28 บริษัท โดยที่ตั้งของบริษัทในพื้นที่ดังกล่าว เป็นห้องเช่าที่มีลักษณะเป็นอาคารร้าง หรือบ้านร้างเช่นเดียวกัน
ต่อมาพบข้อมูลเพิ่มเติมอีกจำนวน 5 บริษัท รวมจำนวน ทั้งสิ้นประมาณ 63 บริษัท โดยในการอนุมัติคืนภาษีมูลค่ำเพิ่มของกรมสรรพากรให้แก่บริษัทในกลุ่มนี้นั้น รวมมูลค่าความเสียหายจากการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวนมากกว่า 4,000 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็นสำนักงานนสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 22 (สีลม) ได้จ่ายเช็คคืนเงินภาษี จำนวน 108 ฉบับ จากผู้ขอคืนภาษีทั้งหมดจำนวน 25 ราย มูลค่ารวมจำนวนมากกว่า 3,000 ล้านบาท และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สมุทรปราการ 1 จ่ายเช็คคืนเงินภาษี จำนวน 60 ฉบับ จากผู้ขอคืนภาษีทัั้งหมด 7 ราย มูลค่ารวมจำนวนมากกว่า 1,000 ล้านบาท
การจัดตั้งบริษัทเพื่อมาขอคืนภาษีของผู้ส่งออกเศษเหล็กกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไม่เกิน 2 ปี โดยปีแรกขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเงินไม่มากนัก แต่ในปีที่ 2 จะเริ่มขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งเมื่อบริษัทเหล่านี้ ได้เงินภาษีคืนไปแล้วก็จะไปแจ้งเลิกกิจการชำระบัญชีกับกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งข้อมูลที่กรมสอบสวนคดีพิเศษร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้ขยายผลการตรวจสอบภาษีพบว่ากลุ่มผู้ส่งออกเศษเหล็กมีเครือข่ายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มส่งออกเศษเหล็ก (ผู้ซื้อ) เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นผู้ส่งออก ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีภาษีขาย ผู้ส่งออกกลุ่มนี้จึงนำภาษีซื้อจากกลุ่มบริษัทผู้ขายสินค้าในประเทศมาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร และกลุ่มบริษัทผู้ขายในประเทศ กลุ่มนี้ขายสินค้าให้กับกลุ่มแรก ซึ่งมีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ จึงมีการนำ VAT มาจ่ายให้กับกรมสรรพกรทุกเดือน ตลอด 2-3 ปีที่ผานมา
อนึ่ง จากการตรวจสอบในเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ กรมศุลกากร พบว่า ผู้ส่งออกกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทร้าง ไม่ได้ประกอบการจริง แต่บริษัทผู้ส่งออกกลุ่มนี้แจ้งว่า มีการส่งออกเศษเหล็กมีมูลค่ารวมกันหลายหมื่นล้านบาท และกรมสรรพากรได้คืนภาษีมูลค่ำเพิ่มไปแล้วหลายพันล้านบาท และเมื่อนำภาพ X - Ray ตู้คอนเทนเนอร์มาตรวจสอบ พบว่าบางล็อต มีการส่งออกเศษเหล็กจริง แต่โดยภาพรวมของมูลค่าการส่งออกเศษเหล็กทั้งหมดที่ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วมีมูลค่าน้อยกว่าที่แจ้งไว้มาก
กรณีการขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มของเอกชนกลุ่มนี้ ตรวจสอบพบว่ามีการเร่งรัดให้คืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเร็วผิดปกติ โดยไม่มีการสอบยันผู้ขายสินค้า มีการเอื้อประโยชน์ต่อการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการกลุ่มที่ขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีความน่าเชื่อถือตามเกณฑ์ที่จะพิจารณาคืนภาษี
นอกจากนั้น ยังพบว่ากลุ่มบริษัทผู้ขายสินค้ามีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ขอคืนภาษี น่าเชื่อว่ามีการออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจากข้อมูลพบว่า มีข้าราชการระดับ 9 ในกรมสรรพากรเกี่ยวพันด้วยอย่างน้อย 3 คน ซึ่งได้มีการรายงานให้ผู้บริหารของกรมสรรพากรและปลัดกระทรวงการคลังทราบ พร้อมทั้งได้ส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินคดี
กรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับเรื่องกล่าวโทษเอกชนที่เข้าข่ายกระทำความผิดกรณีคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร เบื้องต้นพบพฤติกรรมคล้ายกับคดีทุจริต ขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวนมากกว่า 4,000 ล้านบาท (กรณีกลุ่มผู้ประกอบการรับซื้อจำหน่าย นำเข้าและส่งออกแร่โลหะทุกชนิด) ดังที่กล่าวแล้ว ข้างต้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2560 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิด เจ้าหน้าที่ กรมสรรพากรพื้นที่สมุทรปราการ 1 รวมจำนวน 4 ราย ได้แก่ นาย PS สรรพากรพื้นที่สมุทรปราการ 1 นาย PW นาง SB และนางสาว AK ได้มีการชี้มูลความผิดอดีตเจ้าหน้าที่สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบันไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ) คือ นาย SJ ร่วมกับผู้ประกอบกิจการ รวมจำนวน 4 ราย ได้แก่ นาย WS นางสาว SS นาย PU และนาย KU ว่าได้ร่วมกันทุจริตในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเท็จ มูลค่าความเสียหายรวมจำนวน 1,000 กว่า ล้านบาท ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าว กระทำเป็นขบวนการโดยนำชื่อของบุคคลธรรมดามาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
จากการไต่สวนข้อเท็จจริงพบว่า กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐกับ พวกมีการแบ่งงานกันทำเป็นขบวนการ โดยร่วมกันจัดหารายชื่อบุคคลธรรมดาเพื่อไปขอจัดตั้งจดทะเบียนบริษัทส่งออก แต่ไม่มีการประกอบกิจการจริง และดำเนินการออกใบกำกับภาษีเท็จ ทั้งที่ไม่มีการส่งออกออกสินค้าจริง แล้วนำหลักฐานใบกำกับภาษีปลอมไปยื่นขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มกับเจ้าหน้าที่สรรพากร โดยในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น เจ้าหน้าที่ ไม่ดำเนินการตรวจสอบตามระเบียบหลักเกณฑ์ วิธีการที่กรมสรรพากรกำหนด เป็นเหตุให้มีการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยมิชอบจำนวนดังกล่าว ส่งผลทำให้รัฐเสียหายเป็นจำนวนเงินนับพันล้านบาท
ทั้งนี้ หากนับรวมตัวเลขความเสียหาย จากการทุจริตคืนภาษีทั้ง 2 ส่วน จะอยู่ที่ตัวเลขกว่า 5 ,000 ล้านบาท นับเป็นบทเรียนความเสียหายราคาแพง ที่ประเทศไทยได้รับจากคดีทุจริตคืนภาษี นำเข้า ส่งออกแร่โลหะ ของ กรมสรรพากร ดังกล่าว
(ตอนหน้าว่าด้วย การทุจริตกรณีกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจส่งออกชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์)
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/