ประกาศแล้ว พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 บุกรุก โทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ประกาศแล้วพระราชบัญญัติ ที่ราชพัสดุพ.ศ. 2562 เรียกคืนจาก อปท. ได้ การจัดหาปย.มูลค่าเกิน 500 ล.ต้องขอความเห็นชอบ คกก. บุกรุก ครอบครองไม่ได้รับอนุญาต โทษจำคุกไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท นิติบุคคลอาจโดนด้วย มีผลใน 120 วัน
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า วันที่ 9 มี.ค.2562 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 เนื้อหาทั้งสิ้น 50 มาตรา ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 สาระสำคัญ
มาตรา 9 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการที่ราชพัสดุ” ประกอบด้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมที่ดิน และอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านที่ดิน หรือด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จำนวนสามคนเป็นกรรมการ และอธิบดีกรมธนารักษ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา 22 ให้กรมธนารักษ์เรียกคืนที่ราชพัสดุจากส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เลิกใช้ที่ราชพัสดุ
(2) ครอบครองที่ราชพัสดุโดยมิได้รับอนุญาต
(3) ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21
(4) ไม่ใช้ที่ราชพัสดุภายในระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่ทำความตกลงกับกรมธนารักษ์
มาตรา 27 การจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุจากบุคคลที่มิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการ โดยต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย
(1) วัตถุประสงค์ในการจัดหาประโยชน์
(2) สภาพและที่ตั้งของที่ราชพัสดุนั้น
(3) อัตราค่าเช่าตามปกติในท้องตลาด
(4) ผลประโยชน์ตอบแทนอื่นนอกเหนือจากค่าเช่าที่จะได้รับ
(5) มูลค่าอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินที่ตกหรือจะตกเป็นของกระทรวงการคลัง อันเป็นมูลค่า ในเวลาที่สัญญาสิ้นสุดลง
มาตรา 28 การจัดหาประโยชน์ตามมาตรา 27 ซึ่งมีราคาที่ราชพัสดุเกินกว่าห้าร้อยล้านบาทต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
บทกำหนดโทษ มาตรา 45 ผู้ใดเข้าไปในที่ราชพัสดุเพื่อยึดถือหรือครอบครองทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าไปกระทาการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุ โดยปกติสุข หรือทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพแก่ที่ราชพัสดุ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่มีคำพิพากษาว่าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ ศาลมีอานาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทำความผิดออกไปจากที่ราชพัสดุนั้นด้วย บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดดังกล่าว ให้ริบเสียทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นของผู้กระทำความผิดหรือมีผู้ถูกลงโทษตามคาพิพากษาของศาลหรือไม่
มาตรา 46 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 45 เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิด ของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบ ในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและ ละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทาให้การบริหารจัดการที่ราชพัสดุไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร และขาดความคล่องตัวในการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ ประกอบกับไม่มีหน่วยงานใดทำหน้าที่ในการปกครอง ดูแล และบารุงรักษาที่ดินที่สงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือที่ดินที่สงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ของทางราชการตามกฎหมาย ทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกที่ดินดังกล่าว และยังขาดหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการที่ราชพัสดุนอกราชอาณาจักรและทรัพย์สินนอกราชอาณาจักร สมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการบริหารจัดการที่ราชพัสดุให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และนโยบายของรัฐบาล โดยกรณีจำเป็นที่ต้องให้มีคณะกรรมการที่ราชพัสดุ เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ราชพัสดุ เพื่อให้การใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ รวมทั้งกำหนดโทษอาญาสาหรับกรณีที่มีการบุกรุกที่ราชพัสดุ เพื่อเป็นการรักษาที่ดินของรัฐไว้เพื่อใช้ประโยชน์ ของทางราชการต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ดูฉบับเต็ม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/028/T_0001.PDF