มุมมองคนรุ่นใหม่ ในยุคที่หนังสือพิมพ์กำลังจะตาย (ดูคลิป)
เนื่องจากวันที่ 5 มี.ค. 2562 เป็นวันนักข่าว ซึ่งเป็นวันที่บทบาทของสื่อมวลชนมีอนุภาพขึ้นมาจนถึงขณะนี้ ปัจจุบัน ในยุคที่หนังสือพิมพ์กำลังถดถอยหดตัวลงไป เด็กยุคใหม่ที่กำลังเข้ามามีบทบาทในวิชาชีพเหล่านี้ จะมีแนวคิด มุมมอง และการปรับตัวอย่างไร
สำนักข่าวอิศรา ได้สัมภาษณ์นักศึกษาที่เข้าร่วมงานพิธีมอบรางวัล “พิราบน้อย” และ “ริต้า ปาติยะเสวี” เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2562 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ณ ห้องอิศรา อมันตกุล มาบอกผ่านสกู๊ปพิเศษ ‘มุมมองคนรุ่นใหม่ ในยุคที่หนังสือพิมพ์กำลังจะตาย’
นายพชรกฤษณ์ โตอิ้ม สาขาวิชาวารสารสนเทศ ชั้นปีที่4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ตายหรือไม่ตายมันค่อนข้างที่จะแคบเวลาเรามอง จริงๆแล้วโลกมันแค่เปลี่ยน หรือว่าความคิดอะไรทุกอย่างคนมันก็ยังเป็นคน เพราะฉะนั้นไม่ว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปยังไง มันเปลี่ยนแค่รูปแบบอาจจะเป็นสิ่งพิมพ์หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าสุดท้ายแล้วเรื่องของข้อเท็จจริง ข้อมูลข่าวสารหรือข้อคิดเห็นก็ยังอยู่
นายกรธวัช กาศอุดม สาขาวารสารศาสตร์และสื่อดิจิทัล ชั้นปีที่3 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- หนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์มันอาจจะตายลงในเรื่องสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ว่าในเรื่องของ content อาจจะยังไม่ตายก็ได้ มันอาจจะมีการพัฒนารูปแบบหรือว่า Evolution เป็นอย่างอื่นถ้าอยากให้เข้าถึงคนอ่านจริงๆ การปรับตัวก็คือ เรื่องcontent และเลือกกลุ่มเป้าหมายว่าคนส่วนใหญ่เสพสื่อจากทางด้านไหนบ้างเพื่อให้เป็นช่องทางติดต่อกับบุคคลเหล่านั้น
นางสาวคณิตา อินชื่นใจ สาขาวารสารและการสื่อสาร ชั้นปีที่3 มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ทราบว่าการที่หนังสือพิมพ์มันกำลังจะปิดตัวลง จริงๆแล้วตัวปริ้นมันได้transformสื่อออนไลน์ แต่จริงๆแล้วคุณค่าของมันก็ยังเป็นข่าว ยังต้องใช้จริยธรรมสื่อมวลชนอยู่ ดังนั้นการเรียนวารสารฯ มันก็ยังไม่หายไปไหนตราบใดที่คนยังต้องการข่าวสาร
นายพัทธดนย์ ปรีชญารัตน์ สาขาวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจ้นท์ ชั้นปีที่3 มหาวิทยาลัยปัญญาภิวัฒน์
- สำหรับผมมองว่าหนังสือพิมพ์อาจจะไม่ถึงกับตาย แต่สิ่งที่ต้องทำคือปรับตัวมากกว่าอย่างเช่นวิธีการนำเสนอหรือต้องมีช่องทางที่แตกต่างออกไป เพิ่มช่องทางอย่างเช่นออนไลน์กำลังมาแรง
นางสาวเยาวลักษณ์ ลีชน สาขาภาษาเพื่อการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์ ชั้นปีที่3 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- เรารู้ว่าcontentกำลังจะปิดตัวแต่เราก็มีการปรับตัวคือ ในยุค4.0 ต้องมีการทำข่าวออนไลน์ คนไม่ค่อยอ่านหนังสือพิมพ์ แต่คนหันไปอ่านข่าวในโซเชียลมากขึ้นเราก็ไปปรับตัว คือทำเป็นเพจข่าวมากกว่า