กสทช.ชี้คลื่น 5G เป็นการบีบคลื่น 700MHz ไม่กระทบทีวีดิจิทัล
กสทช. ชี้แจงคลื่นความถี่ 700MHz เป็นการบีบคลื่นทีวีดิจิทัลให้อยู่ใน 510-790 MHz จากทีวีชุมชน ไม่ส่งผลกระทบกับคลื่นความถี่ทีวีดิจิทัลหลัก ส่วนการเยียวยาต้องหารืออีกครั้ง
นายฐากร เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยระหว่างในเวทีเสวนา NBTC Public Forum ในหัวข้อกาอภิปรายเรื่อง “ย้ายคลื่น 700 ใครได้ใครเสีย และมีผลกระทบอย่างไรต่อผู้บริโภค” ระบุว่า คลื่นดิจิทัลในขณะนี้ เป็นคลื่นระหว่าง 510-790 MHz รองรับทั้งหมด 48 ช่อง แผนที่เป็นคือการบีบคลื่น 510-694 MHz เพราะฉะนั้นก็จะมีคลื่นเหลืออยู่ที่ราว 96 MHz ซึ่งจะนำไปประมูลเป็นคลื่น 700 MHz ส่วนผลกระทบที่นำไปประมูลภายใต้หลักเกณฑ์ที่ได้รับผลกระทบ 3 ส่วน คือ ทีวีดิจิทัล, มักซ์ และ ภาคประชาชน ที่อาจได้รับผลกระทบหรือไม่ ก็ต้องนำไปเปิดฟังการรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 22 ก.พ.2562 ซึ่งมีการเซ็นอนุมัติไปแล้ว ดังนั้นทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นว่าจะให้แยกหรือไม่แยกทั้งสองเรื่อง หรือส่วนไหนได้รับผลกระทบบ้าง ตอนนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น
ส่วนร่างที่เปิดเผยออกมานั้นสามารถปรับแก้ไขกันได้ จะแยกออกทั้งสองร่างก็ได้ทาง กสทช.ไม่ขัดข้อง จะนำไปประมูลพร้อมกับคลื่น 2,600 MHz เพื่อที่จะให้เกิด 5G ในอนาคตข้างหน้าก็เป็นสิ่งที่เดินหน้าอยู่แล้ว ทีวีดิจิทัลเองก็เป็นปัญหาอยู่ แต่จุดหมายปลายทางร่วมกันคือ เราก็อยากช่วยเหลือทีวีดิจิทัลให้ยืนหยัดอยู่ได้ แต่การช่วยเหลือก็ต้องสอดคล้องกับกฎหมายและแนวทางต่างๆที่ออกมา ก็คงยังไม่ได้ข้อยุติทุกอย่างในร่างทั้งหมด ความเห็นต่างๆก็จะต้องนำเข้าไปประมูลทั้งหมด
“สำหรับการเลิกประกอบการทีวีดิจิทัล การคืนใบอนุญาต จะอยู่ในเป็นเด็นนี้ด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในหลักเกณฑ์ยกร่างด้วย เงินจากกระประมูลหลังจากเยียวยาไปแล้ว ก็นำเข้าสู่กองทุนของ กสทช. เงินจากคลื่น 700MHz ไม่ได้เยียวยาเฉพาะคลื่นนี้เท่านั้น เพราะตัวบทกฎหมายเขียนไว้ว่าเงินในกองทุน กสทช. ไม่มีเงินเกี่ยวกับการเยียวยาเลย แต่เงินที่มีอยู่คือเงินของโทรคมนาคมจึงนำไปใช้จุดนั้นไม่ได้”
โดยแนวทางของบอร์ดในข้างต้นอาจจะแยกทั้งไม่ให้อยู่ในร่างประกาศเดียวกัน เงินเข้าสู่กองทุน เราจะเยียวยาอย่างไรแยกออกไป ก็ต้องพิสูจน์แล้วก็ส่งความเสียหายเหมือนกระบวนการในปัจจุบัน
ซึ่งเรื่องนี้ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ ได้เสนอแนวทางออกไว้ว่า ควรแยกการประมูลคลื่น 5G ออกจากเรื่องของทีวีดิจิทัล เพราะเป็นคนละเรื่องกัน และให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่ไม่ต้องการทำธุรกิจต่อ สามารถคืนใบอนุญาตได้ ซึ่งจะไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน เหมือนการลาออกจากงานโดยสมัครใจ
ที่มา : https://money2know.com/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99700-4/