สรุป "การบ้าน" จากประชาชนให้ "นักการเมือง" ร่วมต้านโกง
เจาะลึก “ผลโพลต้านโกง” รับ “เลือกตั้ง” 62 “ประชาชน” ย้้าต้องการพรรค/นักการเมือง โปร่งใส สุจริต ขับเคลื่อนการต้าน “คอร์รัปชัน”
ชัดเจนแล้วว่า “การเลือกตั้ง” จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่ประชาชนจะได้ใช้สิทธิ์ในรอบเกือบ 8 ปีหลังพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประกาศออกมาเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งระบุว่าการกำหนดวันดังกล่าวเกิดจากมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เสียงข้างมาก โดยค้านึงถึงความเหมาะสมทั้งการเตรียมการเลือกตั้ง การหาเสียงของพรรคการเมือง และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับมีก้าหนดเปิดรับสมัครผู้สมัคร ส.ส. ระหว่างวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์2562 และจะประกาศรายชื่อผู้สมัครในวันที่ 15 กุมภาพันธ์โดยมีเวลาให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองหาเสียงได้ ทั้งสิ้น 52 วัน
แน่นอนว่าการเลือกตั้งที่ก้าลังจะเกิดขึ้นถูกตั้งความหวังว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนส้าคัญ ของประเทศหรือไม่ ค้าถามที่ว่าอะไรคือสิ่งที่พรรคการเมืองต้องการเปลี่ยนแปลง? และจุดยืนของพรรคการเมืองโดยเฉพาะนโยบายการต่อต้าน “คอร์รัปชัน” จะเป็นอย่างไร
แม้คงยังไม่มีใครสเก๊ตช์ภาพได้ชัดเจนว่าหน้าตาของสังคมไทยจะเป็นอย่างไรหลังการเลือกตั้ง แต่เราก็ได้เห็นความพยายามของภาคประชาชนที่ร่วมส่งเสียงไปยังพรรคการเมือง และนักการเมืองไทยเพื่อให้สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชันผ่าน โครงการส้ารวจความคิดเห็นประชาชนต่อนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมืองและนักการเมืองไทยในการเลือกตั้ง 2562” (โพลต้านโกง) โดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อคนไทย และภาคีภาคประชาชน 17 องค์กร ที่ร่วมกันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน- 15 ธันวาคม 2561 เป้าหมายก็คือ เพื่อให้พรรคการเมืองและนักการเมืองน้าข้อเสนอของประชาชนจากผลโพลไปพัฒนาเป็นนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน
ในภาพรวมเสียงของภาคประชาชนได้เสนอว่า พรรคการเมืองควรมีข้อก้าหนด หรือ แนวทางปฏิบัติเพื่อสนับสนุนให้เกิดการต่อต้านคอร์รัปชัน ดังนี้
- แสดงข้อมูลการท้างานในทุกขั้นตอนอย่างโปร่งใส มีหน่วยงานกลางท้าหน้าที่ในการตรวจสอบ (ร้อยละ 26.6)
- หากพบมีการทุจริตของนักการเมืองในพรรคต้องลงโทษขั้นเด็ดขาด (ร้อยละ17.9)
- เสริมสร้างจิตส้านึกในการท้างานที่ดีต่อบ้านเมืองและประชาชน (ร้อยละ 10.6)
- มีการรับผิดชอบต่อการท้างานในหน้าที่ สามารถปฏิบัติงานได้อย่าง เต็มความสามารถ (ร้อยละ 9.0)
- ไม่ปกป้องความผิดพวกพ้อง มีความเป็นกลาง (ร้อยละ 8.4)
โครงการส้ารวจความคิดเห็นของประชาชนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (Offline Poll) ซึ่งท้าการสุ่มจากประชาชนจ้านวน 3,054 ตัวอย่างทั่วประเทศ ในจ้านวนนี้เป็นผู้เคยเลือกตั้งมาก่อน (ร้อยละ 81) และเป็นกลุ่มผู้เลือกตั้งครั้งแรก (ร้อยละ 19) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ร้อยละ 17.9) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 33.1) ภาคเหนือ (ร้อยละ 18) ภาคใต้ (ร้อยละ 13.3) ภาคกลาง (ร้อยละ 10.3) และภาคตะวันออก (ร้อยละ 7.8)
ขนานกันไปยังมีการตอบค้าถามผ่านเวบไซต์ www.thaivoiceagainstcorruption.com และ www.แจกการบ้านนักการเมืองต้านโกง.com (Online Poll) โดยมีผู้เยี่ยมชมเวบไซต์และร่วมตอบค้าถามจ้านวน 3,175 UIP หรือ บัญชีอีเมล์ที่ไม่ซ้้ากัน ในจ้านวนนี้เป็นผู้เคยเลือกตั้งมาก่อน (ร้อยละ 80) และเป็นกลุ่มผู้เลือกตั้งครั้งแรก (ร้อยละ 20) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ร้อยละ 47) ภาคเหนือ (ร้อยละ 15) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 12) ภาคใต้ (ร้อยละ 11) ภาคตะวันออก (ร้อยละ 8) ภาคกลาง (ร้อยละ 7)
ทั้งนี้ การส้ารวจข้อมูลออนไลน์เป็นการตอบค้าถามของกลุ่มตัวอย่างที่มีความสนใจด้าน การต่อต้านคอร์รัปชันโดยเฉพาะซึ่งเป็นเพียงเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วมกับคนทั้งประเทศ ดังนั้นผลส้ารวจจากกลุ่มดังกล่าวอาจจะมีความแตกต่างกันกับการส้ารวจที่เป็นกลุ่มออฟไลน์ที่ ด้าเนินการสุ่มตัวอย่างตามหลักสถิติ
ติดตามรายละเอียดผลการส้ารวจทั้ง 2 รูปแบบได้ที่ www.thaivoiceagainstcorruption.com