รายงานการประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย 2561
ปี 2561 เป็นปีที่ประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายในการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศทั่วโลก โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญจากความไม่แน่นอนในทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก (G3) และผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่กระทบต่อความผันผวนในตลาดการเงินโลกและกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ
ระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ ระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง เสถียรภาพด้าน ระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องในระดับที่สอดคล้องกับศักยภาพ แม้ต้องเผชิญความไม่แน่นอนของปัจจัยเสี่ยงที่มาจากต่างประเทศ อาทิ ความไม่แน่นอนจากการลดระดับการผ่อนคลายนโยบายการเงิน (monetary policy normalization) ของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก (G3) และความไม่แน่นอนจากนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงและเกิดภาวะกระแสเงินทุนไหลออกจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging markets: EMs) ที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจเปราะบาง อย่างไรก็ดีด้วยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ดีระบบสถาบันการเงินมั่นคงสามารถท าหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินสนับสนุนภาคเศรษฐกิจจริงได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยอยู่ในเกณฑ์ดีสะท้อนจากภาระหนี้ต่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่อง และเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ประเทศไทยมีกันชน (buffer) ที่สามารถรองรับความเสี่ยงจากต่างประเทศและความผันผวนในตลาดการเงินโลกได้ดีในช่วงที่ผ่านมาภายใต้บริบทที่ระบบเศรษฐกิจการเงินโลกมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินโลกที่จะมีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะความผันผวนของภาวะการเงินจากการด าเนินนโยบายการเงินของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก และผลกระทบของมาตรการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศคู่ค้าที่อาจกระจายตัวในวงกว้างและรุนแรงขึ้น
นอกจากนี้ ระบบเศรษฐกิจการเงินโลกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า “VUCA” คือ มีความผันผวน (volatile) ความไม่แน่นอนคาดเดายาก (uncertain) ความซับซ้อน (complex) และความไม่ชัดเจนของสิ่งที่จะเกิดขึ้น (ambiguous) ตลอดจนการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ท าให้เกิดความเสี่ยงประเภทใหม่ ๆที่อาจมีนัยต่อเสถียรภาพระบบการเงินไทยได้ เช่น ความเสี่ยงด้านไซเบอร์(cyber risk) ความเสี่ยงเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) และความเสี่ยงที่ธุรกิจรูปแบบเก่าจะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การดูแลเสถียรภาพระบบการเงินภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินดังกล่าว หน่วยงานก ากับดูแลภาคการเงินจึงต้องร่วมมือกันจับสัญญาณความเสี่ยงให้เร็วและให้ความส าคัญกับการติดตามและเฝ้าระวังผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบางภาคส่วนในระบบการเงินไทยที่ยังมีความเปราะบาง รวมทั้งมีมาตรการดูแลที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายลุกลามจนกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินได้
ความเปราะบางในบางจุดที่อาจมีนัยต่อเสถียรภาพระบบการเงินไทยในระยะต่อไป ได้แก่
(1) ภาคการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ยังคงมีพฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) อย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากการรับเงินฝากและค่าหุ้นของสมาชิกเพิ่มขึ้นและนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์โดยเน้นลงทุนตราสารหนี้ระยะยาวที่ให้ดอกเบี้ยสูง และสหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่บางแห่งกู้ยืมเงินมาลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความผันผวนของมูลค่าเงินลงทุน นอกจากนี้ภายในระบบสหกรณ์ยังมีความเชื่อมโยงกันเพิ่มขึ้นผ่านการกู้ยืมและการฝากเงินระหว่างกัน ส่งผลให้หากสหกรณ์แห่งใดแห่งหนึ่งประสบปัญหาด้านสภาพคล่องอาจจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อสหกรณ์แห่งอื่น ๆ และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของระบบสหกรณ์ในวงกว้างได้สหกรณ์ออมทรัพย์จึงควรให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงและธรรมาภิบาลในการบริหารเงิน และให้การสนับสนุนการยกระดับการกำกับดูแลสหกรณ์ให้เท่าทันกับความเสี่ยง และสอดคล้องกับปรัชญาของสหกรณ์การลงทุนในต่างประเทศของกองทุนรวมยังมีความเสี่ยงจากการลงทุนที่กระจุกตัวสูงใน 3 ประเทศ คือ ประเทศจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ อีกทั้งการออกจำหน่ายตราสารหนี้คุณภาพต่ำในตลาดตราสารหนี้ที่มีการกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แม้ว่ายอดคงค้างของตราสารหนี้ภาคเอกชนคุณภาพต่ าจะมีแนวโน้มลดลงจากปีก่อน แต่ผู้ลงทุนยังต้องให้ความส าคัญกับการวิเคราะห์ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตนเองลงทุน เพื่อไม่ให้เกิดการประเมินความเสี่ยงที่ต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risks) และได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
(2) ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังต้องติดตามความเสี่ยงจากภาวะอุปทานคงค้างในตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอุปสงค์จากต่างชาติโดยเฉพาะจีนมีบทบาทเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในตลาดอาคารชุด จึงต้องประเมินความเสี่ยงหากอุปสงค์ต่างชาติชะลอตัวลง รวมถึงติดตามแนวโน้มการแข่งขันในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่หลายรายให้ความสนใจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบผสม (mixed-use) มากขึ้น ทำให้อุปทานในตลาดอาคาร
สำนักงานและพื้นที่ค้าปลีกจะเร่งตัวมากในระยะต่อไปโดยเฉพาะช่วงหลังจากปี2563 เป็นต้นไป ซึ่งต้องติดตามความสามารถของผู้ประกอบการในการบริหารความเสี่ยงและการเปิดโครงการให้สอดคล้องกับภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์แต่ละประเภท ซึ่งจะมีผลต่ออุปทานคงค้างในอนาคต
(3) ภาคครัวเรือน ฐานะการเงินของภาคครัวเรือนยังคงเปราะบาง สะท้อนจากสัดส่วนหนี้ต่อ GDP ที่ยังอยู่ในระดับสูง และมูลค่าหนี้ภาคครัวเรือนยังคงเร่งขึ้นต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของหนี้เพื่อที่อยู่อาศัยและหนี้เพื่อซื้อรถเป็นสำคัญ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจและอาจนำไปสู่ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-performing loan: NPL) เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต โดยประเด็นที่ต้องติดตามคือการก่อหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อย
(4) ภาคธุรกิจ แม้ว่าในภาพรวมภาคธุรกิจมีฐานะการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ธุรกิจบางกลุ่มมีความอ่อนไหวมากกว่าธุรกิจอื่น ๆ ต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือการลดลงของรายได้ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการก่อหนี้สูง ธุรกิจที่ราคาสินค้าหรือวัตถุดิบมีความสัมพันธ์กับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการเติบโตของ e-commerce รวมถึงธุรกิจ SMEs ซึ่งที่ผ่านมายังมีสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-performing loan: NPL) เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ความเปราะบางของธุรกิจ SMEs ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัญหาเชิงโครงสร้าง (structural factor) และข้อจ ากัดด้านความสามารถในการแข่งขันจากการที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับรูปแบบธุรกิจที่เปลี่ยนไปได้กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่มีการเร่งระดมทุนผ่านการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินและออกตราสารหนี้ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ า โดยโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่มีความซับซ้อนมากขึ้นจากแนวโน้มการลงทุนขยายธุรกิจออกจากธุรกิจหลักดั้งเดิมและการลงทุนในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้การติดตามและประเมินความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ทำได้ยากและอาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risks) หากมีปัจจัยใดที่กระทบฐานะของธุรกิจกลุ่มนี้ อาจส่งผลกระทบถึงระบบการเงินในวงกว้างได้เนื่องจากกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่มีความเชื่อมโยงอย่าง มีนัยสำคัญกับระบบการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการก ากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานคณะกรรมการก ากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ประสานความร่วมมือกันต่อเนื่องในการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ ตลอดจนออกมาตรการที่จำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้ความเปราะบางในจุดหนึ่งลุกลามเป็นความเสี่ยงเชิงระบบ (systemic risk) โดยในปี 2561 ธปท. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นนโยบายในการดูแลความเสี่ยงเชิงระบบ (macroprudential policy) เพื่อยกระดับมาตรฐานการพิจารณาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
ของสถาบันการเงิน ดูแลประชาชนที่ต้องการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยจริงให้สามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้ในราคาที่เหมาะสม และเพื่อช่วยดูแลไม่ให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์จนเกินพอดีรวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนมีวินัยทางการเงินโดยมีการออมบางส่วนก่อนการขอสินเชื่อ และป้องกันมิให้ภาคครัวเรือนก่อหนี้เกินตัว ซึ่งเป็นมาตรการเชิงป้องกันเพื่อเสริมสร้างความมีเสถียรภาพของระบบการเงิน
โดยรวม
นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินได้ออกหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อรองรับการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และตลาดทุนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและพัฒนาการของธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลการยกระดับความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการเพิ่มมาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนในตราสารหนี้และกองทุนรวม รวมทั้งเข้ารับการประเมิน Financial Sector Assessment Program (FSAP)
ในช่วงปี 2561 – 2562 เพื่อให้การกำกับดูแลภาคการเงินเป็นไปตามมาตรฐานสากลยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดีการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินยังมีความท้าทายที่หน่วยงานก ากับดูแลจะต้องร่วมกันพัฒนากลไกในการประเมินความเสี่ยงให้ครอบคลุมภาคส่วนต่าง ๆ ในระบบการเงินอย่างทั่วถึง เช่น การยกระดับการทดสอบภาวะวิกฤตของทั้งระบบการเงิน (macro stress test) ให้มีความสอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจและระบบการเงินที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ตลอดจนเร่งผลักดันการพัฒนากระบวนการกำกับดูแลความเสี่ยงและธรรมาภิบาลของสหกรณ์ออมทรัพย์หลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติสหกรณ์ฉบับใหม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว
อ่านรายละเอียดรายงานการประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย 2561
https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Publications/FSR_Doc/FRS2018.pdf