คุณ..เปลี่ยนอนาคต 'เด็ก' ให้ดีขึ้นได้
ในโอกาสครบรอบ 70 ปี องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย สร้างแคมเปญพิเศษ Art for The Future คุณ..เปลี่ยนอนาคตเด็กให้ดีขึ้นได้ ภายใต้โครงการรณรงค์นี้ องค์การยูนิเซฟร่วมมือกับศิลปินรุ่นใหม่ในการสร้างงานศิลปะเพื่อบอกเล่าเรื่องราวและย้ำเน้นถึงสถานการณ์เร่งด่วนที่เด็กๆ ในประเทศไทยเผชิญอยู่ขณะนี้ ทั้งปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พัฒนาการของเด็กปฐมวัย การศึกษาและความรุนแรงต่อเด็ก
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากรกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนที่อายุระหว่าง 10-24 ปี ประมาณ 12 ล้านคน จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559 ยังพบปัญหาเด็กมัธยมศึกษาไม่ได้เข้าเรียน ร้อยละ 14 และสถิติจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ พ.ศ. 2560 ระบุ ประมาณร้อยละ 15 ของเยาวชนช่วงอายุ 15-24 ปี ในประเทศไทย ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา ไม่ได้ทำงาน และไม่ได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ
เกิดอะไรขึ้นกับเด็กที่กำลังจะโตขึ้นเป็นผู้กำหนดทิศทางของประเทศในอนาคต ความเหลื่อมล้ำยังเป็นประเด็นท้าทายในการทำงานด้านเด็กและเยาวชน สำหรับรัฐและหน่วยงานเอกชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสร้างความตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชน ในโอกาสครบรอบ 70 ปี องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เปิดตัวแคมเปญพิเศษ “อาร์ต ฟอร์ เดอะ ฟิวเจอร์” (Art for The Future) คุณ..เปลี่ยนอนาคตเด็กให้ดีขึ้นได้ ภายใต้โครงการรณรงค์นี้ องค์การยูนิเซฟร่วมมือกับศิลปินรุ่นใหม่ในการสร้างงานศิลปะเพื่อบอกเล่าเรื่องราวและย้ำเน้นถึงสถานการณ์เร่งด่วนที่เด็กๆ ในประเทศไทยเผชิญอยู่ขณะนี้ ทั้งปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พัฒนาการของเด็กปฐมวัย การศึกษาและความรุนแรงต่อเด็ก
16 ศิลปิน ประกอบด้วย สยาม เนียมนำ, ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา, ชนารดี ฉัตรกุล ณ อยุธยา, พิชฐญาณ์ โอสถ-เจริญผล, ดริสา ริเอธี การพจน์, น้ำน้อย- ปรียศรี พรหมจินดา, เหนือ จักรกฤษณ์ อนันตกุล, ชาญณรงค์ ขลุกเอียด, ศุภิสรา เปรมกมลมาศ, ทศพร เหมือนสุวรรณ, Jayato อุทิศ โพธิ์คำ, ปกรณ์ ธนานนท์, ปรัชญพร วรนันท์, พีรเวทย์ กระแสโสม, ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล และพิเชฐ รุจิวรารัตน์ กับ 2 มือที่สร้างงาน “Art for the Future” เปร่งเสียงแทนเด็กๆ
และนี่คือ ตัวอย่างผลงานศิลปะที่ตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพ (คลิกชม แผนที่ตั้งงานศิลปะ)
เด็กในประเทศไทยกว่า 50% มีพฤติกรรมข่มเหงรังแกบนโลกไซเบอร์ โดยไม่รู้ตัว เด็กจำนวนมากกำลังตกเป็นเหยื่อของพฤติกรรมนี้ เราต้องไม่ปล่อยให้เด็กคนใด ใช้ชีวิตอย่างหวาดกลัว
ชื่อผลงาน THE SILENCE OF DANGER ALL AROUND
โดย Pakorn Thananon (1975)
ที่ตั้ง : Woof Pack
งานชิ้นนี้ สื่อความหมายให้เด็กอยู่ตรงกลาง ซึ่งตัวเองไม่รู้ว่า รอบล้อมไปด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ของปัจจุบัน ซึ่งเทคโลยีเหล่านี้ ล้วนมีความรุนแรงแอบแฝงเข้ามามากมาย ทั้งโซเชียล และเกมส์ จึงเป็นเหมือนความรุนแรงที่แอบแฝง
มีเด็กวัยมัธยมอย่างน้อย 14% ทั่วประเทศ ที่ไม่ได้เรียนหนังสือ
ชื่อผลงาน มหาลัยชีวิต
โดย Channalong krugioed (1986)
ที่ตั้ง: ซอย เจริญกรุง 31
ผลงานชิ้นนี้สื่อถึง แรงบันดาลใจจากในสังคมปัจจุบัน มนุษย์เราทุกคน สามารถหาโอกาสในการเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ได้จากสิ่งรอบตัว และสามารถฝึกฝน ที่จะเป็นในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ถึงแม้โอกาสทางการศึกษาของคนเราทุกคน อาจไม่เท่าเทียมกัน แต่คนเราทุกคนมีสิทธิ์เลือกที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ เป็นในสิ่งที่ตัวเองต้องการได้
ปัญหาคุณแม่วัยใส มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี!! จากผลสำรวจพบว่าในแต่ละปีมีวัยรุ่นเฉลี่ย อย่างน้อย 100,000 คน ตั้งครรภ์ในวัยเรียน
ชื่อผลงาน พลาด Error
โดย สยาม เนียนนำ (1964)
ที่ตั้ง:พระนครบาร์ รัตนโกสินทร์
งานชิ้นนี้สื่อถึง ชีวิตมองเด็กสาวไม่ได้สวยงามอย่างที่คาดหวังไว้ จากการท้องในวัยที่ไม่เหมาะสม หรือไม่มีความพร้อม หรือโดยไม่ตั้งใจ
สะท้อนปัญหาเด็กยังไม่สามารถมีสิทธิ์มีเสียง สิทธิในการเสดงความคิดเห็นของเยาวชน
ชื่อผลงาน ห้องเรียนภาพหุ่นนิ่ง Still Life Class#1
โดย พีรเวทย์ กระแสโสม (1981)
ที่ตั้ง:แอร์พอร์ต ลิงค์ ชั้น 2
ทุกวันผมมีงานสอนหนังสือทั้งวิชาศิลปะ สามัญ จริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ที่กระทำความผิดในสถานที่ควบคุมพิเศษ ผมจึงหยิบภาพวาด Sunflowers ของ Van Gogh มาศึกษาโดยสร้างสรรค์ผลใหม่ในแบบของตัวเอง ตีความใหม่ และเปิดโอกาสให้เด็กกลุ่มหนึ่งได้ร่วมสร้างผลงานกัน เปิดโอกาสให้แสดงออกทางศิลปะอย่างอิสระ
งานชิ้นนี้สื่อถึง เสียงเล็กๆ ของวัยรุ่นในวันนี้ คือเสียงเราที่อาจต้องฝากชีวิตไว้ในอนาคต
ชื่อผลงาน เธอกับฉัน The Dream of Education
โดย ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา (1978)
ที่ตั้ง:Yelo House
ผลงานชิ้นนี้สื่อถึง เธอกับฉันเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา เรื่องเพศศึกษาไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย แต่การมีความรู้ผิดๆ เรื่องเพศศึกษาต่างหากที่น่าอาย
ปัญหา เยาวชนรุ่นใหม่ ไม่มีความเข้าใจเรื่อง HIV
ชื่อผลงาน ความหวัง Hope
โดย ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล (1983)
ที่ตั้ง:แอร์พอร์ต ลิงค์ ชั้น 2
ไพโรจน์ ศิลปินไทยผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในชื่อ "Hope" เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน และปัญหาการติดเชื้อ HIV และเพื่อผลักดันให้เกิดการอภิปรายหัวข้อดังกล่าวในสังคมไทยมากขึ้น ศิลปินท่านนี้ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนที่ได้ชมงานศิลปะได้มีอิสระในการตีความผลงานของเขาด้วยตัวเองอีกด้วย
เยาวชนมากกว่า 50% มีความรู้ที่ผิด เกี่ยวกับการแพร่เชื้อเอชไอวี