ปภ.สรุปภัยพายุ'ปาบึก' เสียชีวิต3รายสูญหาย1คน
ปภ. เผย “พายุปาบึก” กระทบ 6.9 แสนคน 2.2 แสนครัวเรือน ใน 90 อำเภอ 407 ตำบล 2,635 หมู่บ้าน 133 ชุมชน ระบุยังอยู่ศูนย์พักพิง1.1 พันคน เร่งเยียวยา-ฟื้นฟู
เมื่อวันที่ 6 ม.ค. นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ผู้อำนวยการกลาง กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 3 - 5 ม.ค. อิทธิพลจากพายุโซนร้อน “ปาบึก” ส่งผลกระทบในพื้นที่ 18 จังหวัด รวม 90 อำเภอ 407 ตำบล 2,635 หมู่บ้าน 133 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 212,784 ครัวเรือน 696,189 คน ประชาชนยังอยู่อาศัยในศูนย์อพยพ 8 จุด รวม 1,119 คน ผู้เสียชีวิต 3 ราย คือ นครศรีธรรมราช 2 ราย และปัตตานี 1 ราย ผู้สูญหายในจังหวัดปัตตานี 1 ราย
ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นแยกเป็น 1. นครศรีธรรมราช เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 23 อำเภอ รวม 155 ตำบล 1,400 หมู่บ้าน 105 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 179,868 ครัวเรือน 539,847 คน ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่ลุ่มต่ำ 4 อำเภอ อพยพประชาชนในพื้นที่ 5 อำเภอ ประชาชนยังอยู่อาศัยในศูนย์อพยพ8 จุด รวม 1,119 คน จัดตั้งโรงครัวพระราชทานใน 4 อำเภอ จัดตั้งโรงครัวประทานเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ใน 2 อำเภอ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชเปิดให้บริการตามปกติแล้ว การรถไฟแห่งประเทศไทยประกาศหยุดเดินรถช่วงสถานี เขาชุมทอง – สถานีนครศรีธรรมราช โดยมีรถรับส่งผู้โดยสารจากสถานีนครศรีธรรมราชไปขึ้นรถไฟที่เขาชุมทอง
2.ปัตตานี เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ รวม 49 ตำบล 126 หมู่บ้าน 1 เทศบาลตำบล 3 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,245 ครัวเรือน 17,339 คน บ้านเรือนเสียหาย 594 หลัง ปัจจุบันปิดศูนย์อพยพในพื้นที่แล้วทั้ง 22 จุด 3. สุราษฎร์ธานี เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ รวม 48 ตำบล 260 หมู่บ้าน 25 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,791 ครัวเรือน 11,013 คน บ้านเรือนเสียหาย 19 หลัง ปัจจุบันปิดศูนย์อพยพในพื้นที่แล้วทั้ง 27 จุด 4.สงขลา เกิดวาตภัยและคลื่นซัดชายฝั่งในพื้นที่ 4 อำเภอ รวม 41 ตำบล 251 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,630 ครัวเรือน 71,250 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 2,129 หลัง ถนนเสียหาย 5 สาย ปัจจุบันปิดศูนย์อพยพแล้วทั้ง 56 จุด5.นราธิวาส เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ รวม 15 ตำบล 75 หมู่บ้าน 1 เทศบาลตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,513 ครัวเรือน 7,062 คน สถานการณ์คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
6. ชุมพร เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ 6 อำเภอ รวม 9 ตำบล 25 หมู่บ้านประชาชนได้รับผลกระทบ 2,121 คน สถานการณ์ปัจจุบันเกิดน้ำไหลหลากจากคลองชุมพรเข้าท่วมอำเภอเมืองชุมพร 7.ตรัง เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 2 อำเภอ รวม 9 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,595 ครัวเรือน 8,419 คน 8. พัทลุง เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ รวม 36 ตำบล 326 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,067 ครัวเรือน 37,620 คน สถานการณ์ภัยเริ่มคลี่คลายแล้ว ปัจจุบันปิดศูนย์อพยพแล้ว 9.ระนอง เกิดน้ำไหลหลากในอำเภอกระบุรี รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 18 คน สะพาน 1 แห่ง ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ 10.กระบี่ เกิดอุทกภัยในอำเภอเขาพนม รวม 6 ตำบล 54 หมู่บ้าน อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย สถานการณ์คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ
11. ยะลา เกิดน้ำท่วมขังในอำเภอเมืองยะลา รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ปัจจุบันปิดศูนย์อพยพแล้วทั้ง 27 จุด 12.เพชรบุรี เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในอำเภอเมืองเพชรบุรี รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20 ครัวเรือน 13. ประจวบคีรีขันธ์ เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ 5 อำเภอ รวม 9 ตำบล 22 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 297 ครัวเรือน 1,500 คน บ้านเรือนเสียหาย 77 หลัง ผู้บาดเจ็บ 2 ราย เตรียมอพยพประชาชนไปยังศูนย์อพยพ อบต.แม่รำพึง 1 จุด 40 ครัวเรือน 14. จันทบุรี เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ 3 อำเภอ รวม 7 ตำบล 27 หมู่บ้าน อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย 15. ตราด เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ 4 อำเภอ รวม 9 ตำบล 9 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 69 ครัวเรือน 16.ระยอง เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ 3 อำเภอ รวม 3 ตำบล 3 หมู่บ้าน อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย 17.สมุทรสาคร เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงในอำเภอเมืองสมุทรสาคร รวม 5 ตำบล 6 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 689 ครัวเรือน และ 18. สมุทรสงคราม เกิดน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองสมุทรสงคราม และอ.อัมพวา รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย
นายชยพล กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ กอปภ.ก โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเจ้าหน้าที่ พร้อมระดมวัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและคลี่คลายสถานการณ์ภัย โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกเครื่องส่งสูบน้ำระยะไกลเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง อีกทั้งซ่อมแซมสาธารณูปโภค โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว รวมถึงดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประภัย โดยแจกจ่ายอาหาร น้ำดื่ม และถุงยังชีพ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ตลอดจนจัดเจ้าหน้าที่พร้อมรถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยให้บริการขนย้ายสิ่งของและอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน สำหรับจังหวัดที่สถานการณ์ภัยเริ่มคลี่คลายแล้ว ให้สำรวจความเสียหายครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป พร้อมเร่งฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ประชาชนที่สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือที่สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
ที่มาข่าว: https://www.dailynews.co.th/politics/686328