‘บิ๊กทหาร-สีกากี’พรึบ! เปิดตำแหน่งใหม่ จนท.รัฐต้องยื่นทรัพย์สิน ป.ป.ช.
แพร่แล้ว! ประกาศ ป.ป.ช. กำหนดตำแหน่งนักการเมือง-เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐยื่นบัญชีทรัพย์สิน มีเพิ่มเติมอีก 31 หน่วยงาน ‘บิ๊ก 3 เหล่าทัพ’-ตำรวจพรึบ ผู้บริหาร กทม.-เมืองพัทยาติดโผ ศาลยุติธรรมตั้งแต่ระดับอรองอธิบดีผู้พิพากษาชั้นต้น อัยการจังหวัด อัยการคดีศาลแขวาง มาด้วย
เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2561 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ 2 ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 2 ฉบับ
ฉบับแรกคือ ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ.2561 ซึ่งเป็นตำแหน่งเดิมที่ต้องยื่นกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. อยู่แล้ว เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น รวมถึงข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง เช่น ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา เป็นต้น
ขณะเดียวกันกำหนดให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และเลขาธิการในองค์กรอิสระต่าง ๆ รวมถึงผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (ผู้ว่า สตง.) ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน ยังนับรวมไปถึงผู้บัญชาการเหล่าทัพต่าง ๆ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัด กทม. กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐ เป็นต้น
สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 102 ของ พ.ร.บ.ป.ป.ช. ตามประกาศฉบับนี้ นอกจากจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินแล้ว สำนักงาน ป.ป.ช. จะต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินให้ประชาชนทั่วไปสามารถดูข้อมูลได้ด้วย
อ่านประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. ฉบับเต็ม ที่นี่
ฉบับต่อมา เป็นเรื่องใหม่ คือการกำหนดตำแหน่งของเจ้าพนักงานของรัฐซึ่จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 103 พ.ศ.2561 ซึ่งทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 103 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2561
โดยในมาตรา 103 ดังกล่าว คือการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. รวมทั้งสิ้น 31 หน่วยงาน
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org สรุปตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินแก่ ป.ป.ช. เพิ่มเติมให้ทราบ ดังนี้
@ศาลยุติธรรม
-รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น -ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล (แต่ไม่หมายความรวมถึงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดที่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติราชการประจำสำนักงานศาลยุติธรรม)
@สำนักงานอัยการสูงสุด
-อัยการจังหวัด ได้แก่ พนักงานอัยการ ซึ่งปฏิบัติราชการในตำแหน่งอัยการจังหวัด ณ สำนักงานอัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคดีศาลแขวง สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด
@สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
-รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน -ผอ.สำนักวินัยการเงินการคลัง -ผอ.สำนักกฎหมาย -ผอ.สำนักคดี -ผอ.สำนักตรวจสอบระบบสารสนเทศ -ผอ.สำนักตรวจสอบพิเศษ -ผอ.สำนักตรวจสอบการดำเนินงาน -ผอ.สำนักตรวจสอบการเงินและบริหารพัสดุ -ผอ.สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด
@สำนักนายกรัฐมนตรี
-รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี –รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ -รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค -กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ.2546 -ประธานผู้แทนการค้าไทย และผู้แทนการค้าไทย ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยผู้แทนการค้าไทย พ.ศ.2552 –รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร –รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี -รอง ผอ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ -รอง ผอ.สำนักงบประมาณ
-รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา –รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน –รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ –รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ –รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน -รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
@กระทรวงกลาโหม
-หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี –จเรทหารทั่วไป –รองปลัดกระทรวง –หัวหน้าสำนักปลัดกระทรวง –หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร –หัวหน้าอัยการทหาร –เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง –ตุลาการพระธรรมนูญ –หัวหน้าสำนักงาน –เจ้ากรม –รองผู้อำนวยการ -รองเจ้ากรม
@กองบัญชาการกองทัพไทย
-รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด –เสนาธิการทหาร –รองเสนาธิการทหาร –เลขานุการกองบัญชาการกองทัพไทย–ผู้บัญชาการ –ผู้อำนวยการ –เจ้ากรม –จเรทหาร -ปลัดบัญชีทหาร –รองผู้บัญชาการ –รองผู้บัญชาการ –รองผู้อำนวยการ –รองเจ้ากรม –รองจเรทหาร -รองปลัดบัญชีทหาร
@กองทัพบก
-รองผู้บัญชาการทหารบก –ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก –ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก –รองเสนาธิการทหารบก –แม่ทัพภาค –รองแม่ทัพภาค –แม่ทัพน้อย –เลขานุการกองทัพบก –ผู้บัญชาการ –ผู้อำนวยการ –เจ้ากรม -จเรทหาร
-ปลัดบัญชีทหารบก –รองผู้บัญชาการ –รองผู้บัญชาการ –รองผู้อำนวยการ –รองเจ้ากรม –รองจเรทหาร –รองปลัดบัญชีทหารบก -กรรมการผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ประธานโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย) -รองผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
@กองทัพเรือ
-รองผู้บัญชาการทหารเรือ –ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ –ผู้ช่วยผู้บัญชาการกองทัพเรือ –เสนาธิการทหารเรือ –รองเสนาธิการทหารเรือ –เลขานุการกองทัพเรือ –ผู้บัญชาการทัพเรือภาค –รองผู้บัญชาการทัพเรือภาค –ผู้บัญชาการ –ผู้อำนวยการ –เจ้ากรม –จเรทหาร –ปลัดบัญชีทหารเรือ –รองผู้บัญชาการ
–รองผู้บัญชาการ –รองผู้อำนวยการ –รองเจ้ากรม –รองจเรทหาร –รองปลัดบัญชีทหารเรือ -ผอ.การท่าอากาศอู่ตะเภา -ผอ.การท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ
@กองทัพอากาศ
-รองผู้บัญชาการทหารอากาศ –ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ –ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ –เสนาธิการทหารอากาศ –เลขานุการกองทัพอากาศ –ผู้บัญชาการ –ผู้อำนวยการ –เจ้ากรม –จเรทหาร –ปลัดบัญชีทหารอากาศ –รองผู้บัญชาการ –รองผู้บัญชาการ –รองผู้อำนวยการ –รองเจ้ากรม –รองจเรทหาร -รองปลัดบัญชีทหารอากาศ
ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เฉพาะกระทรวงกลาโหม และ 3 เหล่าทัพ ต้องเป็นข้าราชการทหารที่มียศระดับพลตรี พลเรือตรี และพลอากาศตรีขึ้นไป เว้นแต่ตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก รองผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ผู้อำนวยการท่าอากาศยานอู่ตะเภา และผู้อำนวยการท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ไม่กำหนดชั้นยศ
@สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
-จเรตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองจเรตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จเรตำรวจ (สอบ 8) (หัวหน้าจเรตำรวจ) รองจเรตำรวจ (สบ 7) นายแพทย์ใหญ่ นอกเหนือจากนั้นต้องระดับผู้บัญชาการ รองผู้บัญชาการ และผู้บังคับการ จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินกับ ป.ป.ช. ด้วย
ส่วนข้าราชการฝ่ายพลเรือนระดับกระทรวงทุกกระทรวง ตั้งแต่ตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง รองอธิบดี รองผู้อำนวยการสำนัก และรองเลขาธิการสำนัก รวมถึงผู้บัญชาการระดับกรม
ขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐในองค์กรอิสระ เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) โดยประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการและกรรมการธุรกรรม รองเลขาธิการ รวมถึงผู้อำนวยการกองทุกกอง ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน ส่วนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ต้องระดับรองเลขาธิการ ผอ.กองอำนวยการต่อต้านการทุจริต ผอ.กองปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และ ผอ.สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเขต ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน ส่วนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ รองเลขาธิการต้องยื่นด้วย
นอกจากนี้สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของรัฐและในกำกับของรัฐ เพิ่มเติมตำแหน่งระดับรองอธิการบดี และรองเลขาธิการ หรือตำแหน่งเทียบเท่า 2 ตำแหน่งข้างต้นที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ต้องยื่นด้วย
ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ระดับรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ยื่นบัญชีทรัพย์สิน เช่นเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพิ่มเติมตำแหน่งรองเลขาธิการ ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินด้วย
ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น กทม. ระดับรองปลัด กทม. หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ กทม. ผอ.สำนักทุกสำนัก และ ผอ.เขตทุกเขต ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน ส่วนเมืองพัทยา ระดับปลัดเมืองพัทยา รองปลัดเมืองพัทยา หัวหน้าสำนักปลัดเมืองพัทยา ผอ.สำนักทุกสำนัก ต้องยื่นเช่นเดียวกัน
ส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กำหนดให้ปลัด อบจ. และ ผอ.สำนักช่าง ยื่นบัญชีทรัพย์สิน เทศบาลนคร กำหนดให้ปลัดเทศบาล และ ผอ.สำนักช่าง ยื่นบัญชีทรัพย์สิน เทศบาลเมือง กำหนดให้ปลัดเทศบาล และ ผอ.สำนักช่าง ยื่นบัญชีทรัพย์สิน เทศบาลตำบล กำหนดให้ปลัดเทศบาล และ ผอ.สำนักการช่าง ยื่นบัญชีทรัพย์สิน
อ่านรายละเอียดประกาศดังกล่าวฉบับเต็มได้ ที่นี่