สศช.ชี้จำนำข้าวมีแต่เจ๊ง
สศช.เสนอรัฐบาลทบทวนโครงการรับจำนำข้าว ระบุมีแต่ขาดทุน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า แม้ไตรมาสแรกปี 2555 ราคาข้าวเปลือกเจ้าในประเทศจะขึ้น 9.1% อันเป็นผลจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกก็ตามแต่ต้องยอมรับว่าราคาข้าวสารในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ทำให้การระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาลประสบปัญหาขาดทุนสูง
"เมื่อราคาข้าวโลกไม่ขึ้น แต่เราซื้อแพงขายถูก เราก็ขาดทุน รัฐบาลจึงต้องประเมิณว่าจะทำต่อหรือไม่" นายอาคม กล่าว
สำหรับการมอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กู้เงินมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนในโครงการจำนำข้าวเปลือกปีนี้และข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2555/2556 ตามแผนกู้เงินของรัฐวิสาหกิจ จะทำให้ประเทศมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น แต่จะไม่เกินกรอบวินัยการคลังที่กำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะไม่เกิน 60% ต่อจีดีพี
ด้านสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค สศช.รายงานว่า ราคาข้าวเปลือกนอกโครงการรับจำนำไตรมาสแรกปี 2555 ราคาเฉลี่ย 9,735.70 บาทต่อตัน จากไตรมาสแรกปี 2554 ราคาเฉลี่ย 8,610 บาทต่อตัน และเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาเพิ่มเป็น 1 หมื่นบาทต่อตัน ส่วนข้าวเปลือกในโครงการรับจำนำของรัฐบาล ตันละ 1.5 หมื่นบาท
ขณะที่สถานการณ์ราคาข้าวในตลาดโลกพบว่า ไตรมาสแรกปี 2555 ข้าวสาร 5% ราคาเฉลี่ย 543 เหรียญสหรัฐต่อตัน เทียบไตรมาสแรกปี 2554 ราคาเฉลี่ย 523 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 3.82% และ ณ วันที่ 23 พ.ค. 2555 ราคาข้าวสาร 5% อยู่ที่ 612 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากเดือน พ.ค. ที่ราคาอยู่ที่ 577 เหรียญสหรัฐต่อตัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ประเมิณว่าราคาข้าวสาร 5% เฉลี่ยทั้งปี 2555 มีแนวโน้มลดจากปี 2554 ที่มีราคาเฉลี่ย 549 เหรียญสหรัฐต่อตัน
ข้าวจ่อขึ้นราคา 10-15 บาท
นายสมเกียรติ มรรคยาธร นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ ผู้ประกอบการข้าวถุงในตลาดอาจจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาข้าวสารบรรจุถุง (5 กก.) ประมาณ 10-15 บาท ทั้งนี้ในส่วนของข้าวขาวและข้ามหอมมะลิ เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบคือ ข้าวเปลือกได้ปรับราคาเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบการกับราคาเฉลี่ยแล้วปีที่แล้ว 15-20% ทำให้การจำหน่ายข้าวถุงปัจจุบัน ผู้ประกอบการต้องประสบรัฐบาลใช้นโยบายรับจำนำ ซึ่งทำให้ข้าวเปลือกทั้งหมดไหลเข้าสต๊อกรัฐบาล ทำให้ราคาข้าวในตลาดขยับขึ้น ดังนั้น บางรายจึงต้องมีการยกเลิกโปรโมชันส่งเสริมการขายตั้งแต่ช่วงปลายเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ทำให้ราคาข้าวถุงปรับขึ้นมาแล้ว 2-3 บาท และอาจมีความจำเป็นต้องปรับราคาเพิ่มเติมจากต้นทุนที่ปรับสูงขึ้นอีก
สำหรับการปรับราคาในรอบใหม่จะเป็นการทยอยปรับราคาพาณิชย์ กล่าวว่า สัปดาห์หน้าจะเรียกประชุมหารือร่วมกับผู้ประกอบการสินค้า โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้าคนกลางในสินค้าที่มีปัญหาโครงสร้างราคา ตามที่กรมการค้าภายในจะสรุปข้อมูลมาให้พิจารณาในสัปดาห์นี้ เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างราคาสินค้าให้มีการกำหนดช่วงราคากำไรที่เหมาสม
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายปัญหาขาดทุนแล้วถุงละ 2-3 บาท โดยเฉพาะการขายผ่านช่องทางห้างค้าปลีก (โมเดิร์นเทรด) ที่ต้องรวมค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายให้กับห้างค้าปลีก เช่น ค่าส่วนลดเมื่อขายสินค้าได้ตามเป้า เป็นต้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการพยายามแบกรับภาระต้นทุนไว้เนื่องจากตลาดข้าวถุงมีการแข่งขันสูงมาก แต่แนวโน้มยอดขายในตลาดกลับลดลง โดยตลาดข้าวถุงเมื่อช่วงปีขยายตัวติดลบ 2-3% ทำให้ต้องมีการจัดโปรโมชันส่งเสริมการขาย แต่หลัวจากที่ครั้งละ 3-5 บาท เพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชนและยอดขายของผู้ประกอบการมากเกินไป ซึ่งราคาที่ปรับขึ้นนั้นยังไม่ชนราคาเพดานของกรมการค้าภายในที่กำหนดไว้ จึงไม่ต้องขออนุญาต
“ตอนแรกประเมินว่าจะปรับข้ามหอมมะลิอย่างเดียว แต่หลังจากที่ต้นทุนข้าวขาวขยับสูงขึ้นโดยเดือนเดียวขึ้นมา3 บาท/กก. ทำให้ต้นทุนข้าวถุง 5 กก. เพิ่มขึ้น 15 บาท ก็อาจต้องขยับราคาทั้งสองส่วน” นายสมเกียรติ กล่าว
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.ข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้อนุมัติกรอบให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) นำข้าวเหนียวในสต๊อกรัฐบาลจำนวน 1 แสนตันและข้าวขาว 4 แสนตัน มาผลิตข้าวสารเหนียวและข้าวสารวบบรรจุถุงราคาถูกจำหน่ายให้ประชาชนผ่านร้านถูกใจ เนื่องจากได้รับร้องเรียนให้ทำข้าวถุงราคาถูก รวมทั้งยังมีมติให้จัดทำข้าวถุงในขนาดเล็กลง ซึ่งจะทำทั้งในส่วนข้าวเหนียวและข้าวขาวขนาด 1-2 กิโลกรัม (กก.) จากเดิม 5 กก. เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของประชาชน