ส่องกม. 'ห้าม' ผู้กระทำความผิดทางเพศออกนอกประเทศ ช่วยสังคมออสเตรเลีย ได้จริงหรือ ?
ประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นประเทศแรกของโลกที่บัญญัติกฎหมายห้ามในลักษณะนี้ และยังออกกฎหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนสามารถดำเนินการตามกฎหมายออสเตรีเลียได้ สำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศในกรณีที่ผู้ก่อเหตุเป็นคนออสเตรเลีย ไม่ว่าการกระทำความผิดนั้นจะเกิดขึ้นที่ใดบนโลกก็ตาม
ช่วงเดือนธันวาคม 2560 ได้ปรากฏข่าวการจับกุมตัวชายผู้มีประวัติการกระทำความผิดทางเพศที่สนามบินซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดยสาเหตุที่ชายผู้นั้นกำลังเดินทางออกนอกประเทศ หลังจากรัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่ ซึ่งกำหนด "ห้าม" ผู้ที่มีประวัติว่าเคยกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศเดินทางไปยังต่างประเทศ
กฎหมายฉบับดังกล่าวส่งผลให้ผู้ที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลประมาณ 20,000 กว่าคน ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศออสเตรเลียได้
ประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นประเทศแรกของโลกที่บัญญัติกฎหมายห้ามในลักษณะนี้ และยังออกกฎหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนสามารถดำเนินการตามกฎหมายออสเตรีเลียได้ สำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศในกรณีที่ผู้ก่อเหตุเป็นคนออสเตรเลีย ไม่ว่าการกระทำความผิดนั้นจะเกิดขึ้นที่ใดบนโลกก็ตามอีกด้วย
ออสเตรเลีย ออกกฎหมายฉบับนี้มาเพื่อต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมโลก โดยการป้องกันไม่ให้ผู้ที่มีประวัติการกระทำความผิดในประเทศของตนเองได้มีโอกาสเดินทางไปกระทำความผิดซ้ำในประเทศอื่นหรือประเทศที่มีมาตรฐานการสอดส่องดูแลเรื่องดังกล่าวที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือประเทศไทย เป็นต้น
มีรายงานว่า ก่อนหน้าที่จะมีการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ประเทศออสเตรเลียได้มีการจัดทำฐานข้อมูลผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศต่อเด็ก (National child offender system หรือ NCOS) ซึ่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานะ ที่อยู่ และรายละเอียดเกี่ยวกับผู้กระทำความผิด หรือแม้กระทั่งภายหลังได้รับพวกเขาเหล่านั้นได้รับการปล่อยตัวแล้วก็ตาม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสังคมในการป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นอีก
อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าว ก็ได้รับการวิจารณ์ด้วยว่า จะเป็นผลดีอย่างไรในแง่ของการฟื้นฟูผู้กระทำความผิด หรือการห้ามเดินทางออกนอกประเทศจะส่งเสริมการกลับตัวได้อย่างไร
นอกจากนั้น การสื่อสารในยุคใหม่สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วยากแก่การป้องกันกว่าในยุคสมัยเก่าที่พ่อแม่เพียงแต่ห้ามบุตรหลานพูดคุยหรือรับของจากคนแปลกหน้าเท่านั้น กฎหมายจึงต้องพิจารณาถึงสภาพสังคมปัจจุบันอันจะส่งผลให้การกระทำความผิดไม่อยู่ในรูปแบบเดิมอีกต่อไป
ทั้งนี้ ยังมีคำถามเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของผู้กระทำความผิด เนื่องจากเป็นที่ทราบดีว่า การกล่าวหาว่าผู้ใดกระทำความผิดนั้นง่ายกว่าการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาอย่างมาก แม้ต่อมาผู้ถูกกล่าวหาได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ก็ยังคงต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากปรากฏชื่ออยู่ในฐานข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ดังนั้นกฎหมายจะถือเป็นการปกป้องสังคมที่เกินกว่าเหตุ โดยไม่สนใจสิทธิส่วนบุคคลเลยหรือไม่ ซึ่งก็ยังเป็นคำถาม
สหรัฐฯ ก็มีกฎหมายแบบนี้ ผู้กระทำผิดไม่ลดลง
ในเรื่องของการรวบรวมฐานข้อมูลผู้กระทำความผิดนั้น นอกเหนือจากประเทศออสเตรเลียแล้ว สหรัฐอเมริกาเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้มีการออกกฎหมายบังคับให้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศจะต้องแจ้งข้อมูลและสถานะของตนให้เจ้าหน้าที่ทราบทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง และกำหนดว่า ข้อมูลดังกล่าวจะต้องได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ
ยิ่งไปกว่านั้นในบางมลรัฐ ของสหรัฐฯ ประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบข้อมูลของผู้กระทำความผิดผ่านเว็บไซต์ได้เลยทีเดียว ซึ่งมีการวิจัยถึงประสิทธิผลของกฎหมายดังกล่าว กลับพบว่า จำนวนยอดของผู้กระทำความผิดไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด โดยที่ยังไม่นับว่าสิทธิมนุษยชนของผู้กระทำความผิดนั้นโดนลิดรอนไปมากเพียงใด
ดังนั้น คำถามที่สำคัญมากกว่า น่าจะเป็นเรื่องแนวทางการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดไม่ให้กระทำความผิดซ้ำอีก การให้ความรู้และการปฏิรูประบบสังคมต่าง ๆ มากกว่า
ตัวอย่างเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลผู้กระทำความผิดของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
https://www.meganslaw.ca.gov/
ตัวอย่างเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลผู้กระทำความผิดของมลรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
https://www.meganslaw.ca.gov/
ที่มา:
United States Violent Crime Control and Law Enforcement Act of 1994
Australia Passports Legislation Amendment (Overseas Travel by Child Sex Offenders) Act 2017
https://www.theaustralian.com.au/national-affairs/pedophile-arrested-at-sydney-airport-under-sex-offender-laws/news-story/172a1f1d1104061d04a306b4a658be19
https://www.scblegal.com.au/o-new-sex-offender-laws-really-assist-australian-society/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ครั้งแรกของโลก! รบ.ออสเตรเลีย ขึ้นบัญชีดำห้ามเฒ่าหัวงู 2 หมื่นคน ออกนอกประเทศ