ฉบับเต็ม! เหตุผลกรมชลประทาน ทำไมให้มท.ใช้ที่ดิน100ไร่ สร้างกระทรวงใหม่ไม่ได้
“...กรมชลประทานขอเรียนว่าพื้นที่ดังกล่าว มีความเป็นมาและมีการพัฒนามามากกว่า 50 ปี โดยผู้บริหารกรมชลประทานในอดีต ได้ดําเนินการบริหารจัดการพื้นที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร มีเจตนาเพื่อใช้เป็นพื้นที่สําหรับสถานที่ทํางาน บ้าน วัด โรงเรียน และสนามกีฬา โดยสนามกอล์ฟกรมชลประทานถือเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้เป็นพื้นที่สนามกีฬา และปัจจุบันเป็นหนึ่งในสวัสดิการของ กรมชลประทาน ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2547 ถือได้ว่าเป็นสนามกอล์ฟของข้าราชการพลเรือนแห่งเดียวของประเทศ และใช้เป็นสถานที่ออกกําลังกายของ ข้าราชการและพนักงานของกรมชลประทานทั้งที่ยังรับราชการอยู่หรือเกษียณอายุราชการไปแล้ว..."
"กรมชลประทาน ได้ยืนยันว่า ไม่สามารถให้กระทรวงมหาดไทยใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวได้ เนื่องจากมีแผนงานที่จะใช้ประโยชน์ด้านชลประทานอยู่เหมือนกัน และที่ผ่านมาที่ดินดังกล่าว ก็ใช้เป็นแก้มลิง รองรับน้ำชั่วคราวช่วงเวลาน้ำหลากหรือฝนตกลงมาจำนวนมากด้วย"
คือเหตุผลเบื้องต้น ที่สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อกรณีกระทรวงเกษตรฯ ทำหนังสือแจ้งผลการพิจารณาของกรมชลประทานเกี่ยวกับการขอใช้ประโยชน์ที่ดินจำนวน 100 ไร่ ดังกล่าว ตอบกลับให้กระทรวงมหาดไทยรับทราบเป็นทางการ ว่าไม่สามารถให้ใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณดังกล่าวก่อสร้างกระทรวงแห่งใหม่ได้ (อ่านประกอบ:มีแผนงานทำปย.เหมือนกัน! กรมชลฯ ปฏิเสธคำขอมท.ใช้ที่ดินสนามกอล์ฟสร้างกระทรวงใหม่)
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ได้รับการยืนยันเหตุผลของกรมชลประทาน ที่ไม่สามารถให้กระทรวงมหาดไทยใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวเป็นทางการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
“กรมชลประทานขอเรียนว่าพื้นที่ดังกล่าว มีความเป็นมาและมีการพัฒนามามากกว่า 50 ปี โดยผู้บริหารกรมชลประทานในอดีต ได้ดําเนินการบริหารจัดการพื้นที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร มีเจตนาเพื่อใช้เป็นพื้นที่สําหรับสถานที่ทํางาน บ้าน วัด โรงเรียน และสนามกีฬา โดยสนามกอล์ฟกรมชลประทานถือเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้เป็นพื้นที่สนามกีฬา และปัจจุบันเป็นหนึ่งในสวัสดิการของ กรมชลประทาน ตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2547 ถือได้ว่าเป็นสนามกอล์ฟของข้าราชการพลเรือนแห่งเดียวของประเทศ และใช้เป็นสถานที่ออกกําลังกายของ ข้าราชการและพนักงานของกรมชลประทานทั้งที่ยังรับราชการอยู่หรือเกษียณอายุราชการไปแล้ว"
ปัจจุบันพื้นที่ของสนามกอล์ฟกรมชลประทาน ได้ใช้เป็นสถานที่ในการสนับสนุนการดําเนินงาน ของกรมชลประทาน เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยรอบ และมีแผนงานที่จะสนับสนุนการดําเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดเต็มศักยภาพ ในระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2561 – 2570) ดังนี้
1.การใช้ประโยชน์พื้นที่ในปัจจุบัน
ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาสนามกอล์ฟกรมชลประทาน ไม่เพียงแต่ใช้เป็นสถานที่ออกกําลังกายของเจ้าหน้าที่เท่านั้น กรมชลประทานยังได้จัดสรรพื้นที่เพื่อการศึกษาของโรงเรียนชลประทานวิทยา วิทยาลัยการชลประทาน สถาบันสมทบแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นพื้นที่แก้มลิง พื้นที่สีเขียว ของ ชุมชนบริเวณใกล้เคียง มาโดยตลอด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 ก่อสร้างอาคารเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์และการบินเพื่อการเกษตรและการชลประทาน โดยความร่วมมือกับโรงเรียนชลประทานวิทยา เพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้ด้านดาราศาสตร์และการบินเพื่อ การเกษตรและการชลประทาน สําหรับนักเรียนโรงเรียนชลประทานวิทยา จํานวน 2,500 คน และโรงเรียน อื่น ๆ ที่สนใจ รวมทั้งบุตรหลานข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน โดยได้เริ่มออกแบบและเตรียม ความพร้อมตั้งแต่ปี 2559 ปัจจุบันได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา
1.2 จัดพื้นที่เพื่อการศึกษาด้านพฤกษศาสตร์ ของนักเรียนโรงเรียนชลประทานวิทยา จํานวน 6,500 คน
1.3 เป็นสถานที่ในการเรียนภาคปฏิบัติของนิสิตวิทยาลัยการชลประทาน กรมชลประทาน สถาบันสมทบแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวิชาสํารวจด้านวิศวกรรม หลักการชลประทาน การให้น้ำ ชลประทานในระบบท่อและสปริงเกอร์ และวิชาการระบายน้ำ
1.4 เป็นแก้มลิงเพื่อรับน้ำาตามธรรมชาติของชุมชน เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ กรมชลประทานโดยสํานักงานชลประทานที่ 1 และโครงการชลประทานจังหวัดนนทบุรี ได้ใช้พื้นที่ดังกล่าว ในการบริหารจัดการน้ำ โดยเป็นพื้นที่แก้มลิงเพื่อรับน้ำตามธรรมชาติ สามารถรองรับน้ำได้ ประมาณ 3 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ก่อนที่จะระบายจากคลองบางตลาดลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังใน ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง และในฤดูแล้งใช้เป็นพื้นที่ในการหมุนเวียนน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองบาง ตลาดและของชุมชุน ซึ่งในอนาคตจะเป็นปัญหามากขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนเมือง
1.5 เป็นพื้นที่สีเขียวของอําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จากการขยายตัวและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและชุมชนเมืองเนื่องจากการพัฒนาประเทศ พื้นที่สีเขียวของชุมชนลดลงตลอดเวลา พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ผืนสุดท้ายไว้เพื่อเป็นปอดของชาวปากเกร็ด และจังหวัดนนทบุรี
2.แผนพัฒนาพื้นที่สนามกอล์ฟกรมชลประทาน ระยะ 10 ปี (พ.ศ.2561-2570) เพื่อขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ 20 ปี กรมชลประทาน
นอกจากกิจกรรมที่ได้ดําเนินการมาแล้วข้างต้น กรมชลประทานยังมีแผนในการพัฒนาพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนในจังหวัดนนทบุรี และประเทศไทยโดยรวม เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาและเป็นแหล่งเรียนรู้ศาสตร์พระราชา เกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งเป็นไปตาม ยุทธศาสตร์ 20 ปี กรมชลประทาน ดังนี้
2.1 ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์การชลประทานไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชดวงใจราษฎร์ปราชญ์แห่งน้ำ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และจัดแสดงวิวัฒนาการการชลประทานไทยจากอดีตถึง ปัจจุบัน เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา เรียนรู้ของทั้งคนไทยและคนต่างประเทศในด้านการชลประทานอย่างสมบูรณ์
2.2 พัฒนาสถานที่ฝึกอบรมศาสตร์พระราชา เกษตรทฤษฎีใหม่ ตามนโยบายของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ในการขับเคลื่อนเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งกรมชลประทานได้ขออนุมัติในหลักการโครงการชลประทานเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ โดยใช้พื้นที่บริเวณสนามกอล์ฟกรมชลประทาน ซึ่งสภาพพื้นที่มีความ พร้อมและเหมาะสม ที่จะนํามาพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้โครงการชลประทานเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ เพื่อให้เกษตรกร ยุวเกษตรกร และผู้ที่สนใจ เข้ารับการอบรมและถ่ายทอดความรู้ในลักษณะห้องเรียนที่มีชีวิต เพื่อพัฒนาพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน และพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา โดยการ น้อมนําศาสตร์ พระราชากว่า 40 ทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ ในรูปแบบโคก หนอง นา โมเดล ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ อนุมัติในหลักการให้ดําเนินการโครงการชลประทานเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายวิวัฒน์ ศัลยกําธร) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2560
2.3 ศูนย์กิจกรรมจิตอาสา ทําความดีด้วยหัวใจ ร่วมใจชาวชลประทาน เพื่อเป็นพื้นที่จัด กิจกรรมจิตอาสาและจัดกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ ของชุมชน สถานศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ
2.4. ศูนย์การดําเนินงานด้านการวิจัย นวัตกรรม และถ่ายทอดความรู้ด้านการชลประทาน และบริหารจัดการน้ำ สนับสนุนการดําเนินงานของสถาบันพัฒนาการชลประทาน เพื่อปรับเปลี่ยนเป็นองค์กรสู่ ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมการชลประทาน (Center of Excellence for irrigation Innovation) และ ยกระดับในการเป็นศูนย์รวมด้านการชลประทานและการระบายน้ำในระดับชาติ และนานาชาติ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในภาคพื้นเอเชียที่ประเทศไทยยังเป็นผู้นําเข้าสู่ยุค Digital Irrigation
2.5 ศูนย์กระจายและแลกเปลี่ยนสินค้าด้านการเกษตรจากน้ำชลประทาน โดยความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเป็นศูนย์ในการจัดแสดง แลกเปลี่ยน และกระจาย ผลผลิตทางการเกษตร ให้กับ เกษตรกร กลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน และเกษตรกรในโครงการส่งเสริมโอกาสให้ลูกเกษตรกรเข้าศึกษาต่อที่ วิทยาลัยการชลประทาน กรมชลประทาน สถาบันสมทบแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้โครงการเมล็ดภัณฑ์สู่ศาสตร์แห่งแผ่นดิน
2.6 การจัดทําโครงการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของอากาศยานขนาดเล็กเพื่อนํามาประยุต์ใช้ เพื่อการเกษตร และการชลประทาน
ทั้งนี้ ตามแผนพัฒนาพื้นที่สนามกอล์ฟกรมชลประทาน ที่จะดําเนินการในกรอบระยะเวลา 30 ปี (พ.ศ. 2561-2520) ข้างต้น จะเน้นการพัฒนาด้านการศึกษาและเป็นศูนย์เรียนรู้ของกรมชลประทาน และกระทรวงเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ และยังคงเป็นแก้มลิงและพื้นที่สีเขียวของชุมชนได้อย่างเดิม อันจะเป็น ประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมและประเทศไทย อย่างยั่งยืน
ทั้งหมดนี่ คือ เหตุผลของกรมชลประทาน ที่ไม่สามารถให้กระทรวงมหาดไทยใช้ประโยชน์ที่ดินจำนวน 100 ไร่ ในการก่อสร้างกระทรวงแห่งใหม่ ที่นำเรียนให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงนามหนังสือแจ้งรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทยให้รับทราบเป็นทางการไปเมื่อเร็วๆ นี้
อ่านประกอบ:
มีแผนงานทำปย.เหมือนกัน! กรมชลฯ ปฏิเสธคำขอมท.ใช้ที่ดินสนามกอล์ฟสร้างกระทรวงใหม่
ให้กรมชลฯตัดสินใจ! ปลัดก.เกษตรฯ แทงเรื่อง มท. ขอใช้ที่สนามกอล์ฟสร้างกระทรวงใหม่