'เอ็มพาวเวอร์' จี้องค์กรต้านค้ามนุษย์ต่างชาติ หยุด ‘ล่อซื้อ’ หญิงขายบริการ-ชี้ละเมิดศักดิ์ศรี
มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์เรียกร้อง องค์กรต่อต้านค้ามนุษย์ต่างชาติ Lift International(NVADER) เลิกปฏิบัติการล่อซื้อ หญิงขายบริการ ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง องค์กร Lift International (NVADER) เรื่อง เหตุการณ์องค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์ต่างชาติ Lift International(NVADER) กระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก
โดยอ้างจากข่าวที่นำเสนอเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2561 ที่ผ่านมา พบว่ามีเหตุการณ์ “ล่อซื้อ” จับร้านคาราโอเกะเเห่งหนึ่งใน จ.ฉะเชิงเทรา พบหญิงสัญชาติเมียนมาร์ 6 คน ค้าประเวณีและพบว่ามีเยาวชนหญิงอายุต่ำากว่า 18 ปีอยู่ 1 คน องค์กรค้ามนุษย์ดังกล่าวใช้เวลา ในการแฝงตัวกว่า 1 เดือน ก่อนการจับกุม ซึ่งพบว่ามีอีกหลายเหตุการณ์ที่องค์กร Lift International ยังใช้วิธิการ “ล่อซื้อ” ในการปฏิบัติตามเป้าหมาย ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงและเด็กทั้งทางตรงและทางอ้อมซ้ำแล้วซ้ำเล่า
การ “ล่อซื้อ” เป็นวิธีการที่ใช้พิสูจน์ความผิดเพื่อจับกุม โดยให้สายลับแฝงตัวเข้าไป ตีสนิทให้ไว้ใจก่อนล่อซื้อและจับกุม พนักงานบริการหญิงเห็นว่า การล่อซื้อเป็นเสมือนการ “ล่อให้กระทำผิด” การล่อซื้อพนักงานบริการเป็นประเด็นห่วงใยด้านสิทธิมนุษยชนมานาน ตั้งแต่ ปีพ.ศ.2546 และในปี พ.ศ. 2560 คณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี (CEDAW) มีข้อกังวลว่า “พนักงานบริการ” ที่ถูกจับกุมและปฏิบัติอย่างดูหมิ่น ในการใช้กำลัง รุนแรงบุกเข้าตรวจค้นสถานบริการ และตกเป็นเป้าการล่อซื้อ ซึ่งคณะกรรมการ CEDAW ได้เสนอให้รัฐบาลไทย ยุติวิธีการ “ล่อซื้อ”ทันทีและการล่อซื้อผู้หญิงและเด็กผิดต่อจรรยาบรรณใน การปฏิบัติงานขององค์กรต่างชาติที่ทำงานด้านการค้ามนุษย์2561 (Code of Conduct for Foreign NGOs ) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
ในวันที่ 1 มิ.ย. 2561 ในงานเสวนา “จับเข่าคุย ล่อซื้อ 10 ปี แก้ไขปัญหาการค้า มนุษย์หรือยัง?” โดยมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ คุณอังคณา นีละไพจิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้แสดงความเห็นว่า “การล่อซื้อพนักงานบริการ ถือเป็นการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคล (Right to Privacy) ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการล่อซื้อ ซึ่งการหาหลักฐานการค้ามนุษย์ สามารถใชวิธิอื่นได้ เพราะตามกฎหมายสามารถใช้องค์ประกอบอื่นในการเอาผิดผู้กระทำผิดได้ แต่พบว่าองค์กร Lift International ยังคงใช้วิธีการ “ล่อซื้อ” มาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่คำนึงถึง ศักดิ์ศรีของผู้หญิง ทำให้พนักงานบริการได้รับผลกระทบ ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เช่น การคลุมหัวผู้หญิงเวลาจับกุมทำให้ผู้หญิงและเด็กมีความรู้สึก ว่าตัวเองเป็นผู้กระทำผิด เป็นผลร้ายต่อสภาพจิตใจของผู้หญิงและเด็ก ในบางกรณีมีพนักงานบริการบางคนถูกกันตัวเป็น พยานถูกกักในตม.ไม่ได้รับการคุ้มครองในฐานะพยาน กระบวนการทางกฎหมายล่าช้า กรณีเด็ก และผู้หญิงที่เป็นเหยื่อไม่ได้รับค่าชดเชยที่เหมาะสม พนักงานบริการคนอื่นๆที่เหลือไม่มี ทนายความช่วยเหลือ
ทางมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ต้องหาเงินทุนกว่า 500,000 บาท เพื่อแก้ไขปัญหา ติดตาม ช่วยเหลือหลังจากองค์กร Lift International (NVADER) ได้เข้าไปล่อซื้อ บุกทลายร่วมกับ เจ้าหน้าที่รัฐไว้ หน้าที่ขององค์กรเอกชน ควรคำนึงถึงสิทธิของกลุ่มเป้าหมายและปฏิบัติงานเชื่อม ประสานระหว่างชุมชนกับภาครัฐ ซึ่งมีความคิดเห็นจากคุณอังคณา นีละไพจิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และ พ.ต.ท. กฤตธัช อ่วมสน รองผู้อำนวยการกองคดีการค้ามนุษย์กรมสอบสวน คดีพิเศษ ในงานเสวนาวันที่ 1 มิ.ย. 2561 กล่าวว่า ต้องแก้ปัญหาที่รากเหง้า ส่งเสริมโอกาสในการศึกษา การมีงานทำ เพิ่มสวัสดิการที่จะทำให้ผู้หญิงสามารถที่จะดูแลครอบครัวเป็นต้น ซึ่งเป็นงานที่องค์กรเอกชนควรคำนึงถึงมากกว่า วางบทบาทเป็ นตำรวจ ทำร้ายกลุ่มเป้าหมายหรือเป็นเครื่องมือของเจ้าหน้ารัฐอย่างที่กระทำอยู่
มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ และผู้ร่วมลงนามท้ายจดหมายนี้จึงขอเรียกร้องให้องค์กร Lift International (NVADER) เลิกปฏิบัติการ ล่อซื้อ และการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ ผู้หญิงและเด็ก รวมไปถึงแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา .
ภาพประกอบ:เว็บไซต์ M Thai