สพฉ.เตรียม 7 หลักสูตร ต้นแบบการเรียนการสอนให้เด็กเอาตัวรอด
สำหรับเหตุการณ์นี้ทำให้เรื่องการเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติสำหรับเด็กๆและเยาวชนได้กลายเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีการพูดถึงกันในสังคมตอนนี้ ทำให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เตรียมทำต้นแบบการเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉินให้กับเด็กๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ระบุว่า เตรียมจัดทำต้นแบบการเรียนการสอนเด็กๆ ให้เรียนรู้เรื่องการเอาตัวรอดจากจากเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินและสถานการณ์ฉุกเฉิน 7 เรื่อง คือ
1.หลักสูตร การเรียนรู้การเอาตัวรอดจากจากการเดินเท้าทั้งบนฟุตบาธ ทางเดิน หรือแม้กระทั่งการข้ามถนน ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนนั้นจะเหมาะสมหรับเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ขึ้นไป
2.หลักสูตรให้เด็ก เรียนรู้และรับมือกับโรคจิตเวชซึ่งก็คือการเตรียมการรับมือกับเรื่องของภาวะซึมเศร้าและภาวะเครียดที่เราจะพบเห็นเด็กๆ เครียดซึมเศร้า ดังนั้นเด็กควรได้เรียนรู้วิธีในการสังเกตตนเองและหาทางออกให้กับตนเองในอาการเหล่านี้ได้
3.หลักสูตรเรื่องการเตรียมพร้อมในการรับมือกับภาวะโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ซึ่งเด็ก จะต้องเรียนรู้อาการเบื้องต้นของโรคว่าโรคหลอดเลือดสมองอาการที่ทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินเช่นปากเบี้ยวแขนขาอ่อนแรงเขาจะต้องช่วยเหลือตนเองอย่างไร
4.หลักสูตรเรียนรู้อาการของโรคภาวะหัวใจขาดเลือดซึ่งในบทเรียนก็สอนให้เด็กๆ สังเกตอาการของผู้ที่เป็นโรคนี้เช่นหากเด็กๆเจ็บหน้าอกใจสั่นเหมือนจะเป็นลมเขาจะต้องรู้ว่าอาการเหล่านี้เข้าข่ายโรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่ก็เขาจะเรียกคนให้มาช่วยได้อย่างไร
5. เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องการเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉินจากเหตุอัคคีภัยและเหตุอุทกภัย
6. หลักสูตรเรื่องการเรียนการสอบเกี่ยวกับการทำ CPR หรือการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นต้น เด็กๆจะต้องเรียนรู้วิธีในการทำ CPR ให้เป็นทุกคน
และ7 .หลักสูตรเรื่องการเรียนรู้การใช้งานเครื่องAED เบื้องต้น ซึ่งเด็กๆ ทุกคนจะต้องเรียนรู้เรื่องการใช้งานเครื่อง AEDคือเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ
ซึ่งขณะนี้เนื้อหาทั้งหมดทาง สพฉ. จัดทำเกือบเสร็จแล้วเหลือแค่การออกแบบสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กๆ ในแต่ละวัยและแต่ละชั้นเรียนเท่านั้น