กรณีศึกษา 'แอนโธนี บอร์เดน' : การป้องกันโศกนาฏกรรมฆ่าตัวตายของ 'คนดัง'
"...การฆ่าตัวตายเป็นผลมาจากความรู้สึกสิ้นหวัง หมดหวัง ความรู้สึกของการเป็นภาระของคนอื่น มันสามารถทำให้เกิดภาวะทางจิตใจที่ย่ำแย่ได้ ขณะที่ การหย่าร้าง สูญเสียคนในครอบครัว และไม่มีทางออกของความรู้สึกเหล่านั้น อาจนำไปสู่การหันหน้าหาสิ่งมึนเมาหรืออาวุธ นั่นอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้..."
การที่ 'คนดัง' หรือ คนที่ประสบความสำเร็จตัดสินใจฆ่าตัวตาย นับเป็นเรื่องที่ไม่คาดฝันของคนในสังคมมาโดยตลอด
เพราะมันนำมาซึ่งคำถามสำคัญหลายประการ เกี่ยวกับรูปแบบการใช้ชีวิต ว่า พวกเขาเหล่านี้ มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นกับชีวิต หรือยังมีสิ่งใดในชีวิตของพวกเขาที่ยังไม่เพียงพอ มีอะไรที่ขาดหายไป หรือมีปัญหาอปสรรคอะไรที่ทำให้พวกเขาทนไม่ได้ ถึงขนาดต้องตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลงอีกหรือ
ในกรณีนี้ ขอยกตัวอย่าง แอนโธนี บอร์เดน เชฟดังชาวอเมริกัน ที่ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลง ในห้องพักของโรงแรมที่ฝรั่งเศส ขณะเดินทางไปถ่ายทำสารคดีอาหารให้กับช่อง CNN เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2561 ที่ผ่านมา ที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าสาเหตุส่วนหนึ่ง อาจจะมาจากการลอกเลียนแบบ ผู้มีชื่อเสียงคนอื่นๆ ที่ตัดสินใจจบชีวิตตนเองลงไปก่อนหน้านี้
แต่ไม่ว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร แต่สื่อต่างประเทศ มีการยืนยันข้อมูลว่า ปัจจุบัน คนเรามีโอกาสที่จะจบชีวิตลงตามคนดังเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อสิบปีที่แล้ว สาเหตุที่ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอาจเป็นเพราะตัวเองรู้สึกหดหู่หรือเศร้าโศก ไม่รู้ว่าจะจัดการยังไงกับชีวิตที่แสนธรรมดานี้? บางคนเคยไปคลินิกเกี่ยวกับอาการซึมเศร้า เพราะรู้สึกถึงความยากลำบากที่จะก้าวผ่านอาการเหล่านั้น นอกจากนี้ ยังมีความแตกต่างระหว่างความสำเร็จสาธารณะกับความสิ้นหวังส่วนตัวที่เกิดขึ้นในความคิดของตนเอง
ภายนอกอาจไม่แสดงออกให้เห็น แต่ภายในมีแต่บุคคลคนนั้น และคนใกล้ตัวเท่านั้นที่จะทราบ
แอนโธนี บอร์เดน Photograph by Mike Coppola / Getty
ทั้งนี้ มีข้อมูลเผยแพร่มานานแล้วว่า ส่วนสำคัญของสุขภาพจิตที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย คือ อาการซึมเศร้า ถ้าเรารักษาอาการซึมเศร้าอย่างรู้เท่าทัน การฆ่าตัวตายอาจจะไม่เกิดขึ้น
ส่วนคำถามที่พบบ่อยมากที่สุด คงเป็นคำนิยามของ “สุขภาพจิต” ว่ามันหมายถึงอะไร
สำหรับคนที่ไม่มีอาการทางจิตหรือไม่ได้เจ็บป่วย การเลือกจบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตายอาจดูเหมือนคำตอบที่ตายตัว
แต่แนวคิดนี้ อาจจะบอกอะไรได้ไม่มากนัก เพราะการฆ่าตัวตายเป็นผลมาจากความรู้สึกสิ้นหวัง หมดหวัง ความรู้สึกของการเป็นภาระของคนอื่น มันสามารถทำให้เกิดภาวะทางจิตใจที่ย่ำแย่ได้ ขณะที่ การหย่าร้าง สูญเสียคนในครอบครัว และไม่มีทางออกของความรู้สึกเหล่านั้น อาจนำไปสู่การหันหน้าหาสิ่งมึนเมาหรืออาวุธ นั่นอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
ปัจจุบันมีตัวเลขทางสถิติยืนยันว่า การฆ่าตัวตายมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น และมีมากถึง 25 % ใช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นในทุก ๆ เมืองของสหรัฐ โดยในช่วงปี 2016 มีคนจำนวนถึง 45,000 คนในสหรัฐฯ ที่จบชีวิตตนเองลงโดยการฆ่าตัวตาย ถือเป็น 1 ใน 10 สาเหตุที่คนอเมริกันเสียชีวิตมากที่สุด และนับเป็น 1 ใน 3 สาเหตุของวัยหนุ่มสาว อัตราของวัยรุ่นที่มีอาการซึมเศร้ามีเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2011 และเหล่านักเรียนยังต้องแบกรับหนี้สินและเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ ยิ่งไปกว่านั้น การเติบโตขึ้นของเศรษฐกิจ กลับไม่ได้ทำให้ลูกจ้างมีความมั่นใจขึ้นเลยว่าวันพรุ่งนี้เขายังจะมีงานทำอยู่
จอห์น แมกพี (John MacPhee) เอ็กคลูซีฟ ไดเรกเตอร์ของ Jed Foundation กล่าวแสดงความเห็นเรื่องนี้ ถ้าดูที่ข้อมูล ซี.ดี.ซี แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันในพื้นที่ห่างไกล อัตราการเสียชีวิตกำลังเพิ่มขึ้นไปในทิศทางเดียวกับสถิติจำนวนประชากร ในขณะเดียวกันเด็กหลายคนต้องแบกรับแรงกดดัน ความเครียด และความวิตกกังวลอย่างมาก สังคมทำให้เกิดมาตรฐาน ภาพลักษณ์ของการฆ่าตัวตายในสังคมออนไลน์ทำให้เกิดผลกระทบอย่างน่าสลดใจ
ความโดดเดี่ยวเป็นอีกหนึ่งนัยยะสำคัญที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย คนที่คิดว่าจะไม่มีใครคิดถึงเขา คนที่ตื่นเช้า กินข้าว ไปทำงานโดยที่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับใครตลอดทั้งวัน ซื้ออาหารก่อนกลับบ้าน กินอาหารหน้าโทรทัศน์ และสุดท้ายก็เข้านอน คนเหล่านี้จะโดดเดี่ยวเป็นพิเศษ เหมือนกับพวกเขาหายตัวไปอย่างสมบูรณ์แบบ ไม่มีใครมีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขามากพอที่จะเห็นความทุกข์ทรมาน ส่วนใหญ่จึงมักจะปลดปล่อยความรู้สึกเหล่านั้นไปด้วยการฆ่าตัวตาย
ขณะที่ หมอเคลลี่ พอสเนอร์ (Dr. Kelly Posner) ที่ช่วยพัฒนา the Columbia-Suicide Severity Rating Scale (C.-S.S.R.S.) ชี้ว่า ตำรวจเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมากกว่าการเสียชีวิตในหน้าที่ เช่นเดียวกันกับทหารหรือนักดับเพลิง “มันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ป้องกันการเสียชีวิตได้”
ส่วนรายการออนไลน์อย่าง “When Not Killing Yourself Becomes the Goal,” แม็กกี้ ร็อบบินส์ นักจิตบำบัด เธอเป็นโรคไบโพลาร์ ได้กล่าวไว้ว่า "มีจุดหนึ่งที่ฉันต้องทำความเข้าใจ ถ้าฉันตายลงด้วยความแก่ชรา ฉันคงจะชนะ เพราะผู้คนส่วนมากที่ป่วยเป็นไบโพลาร์มักจะจบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตาย นั่นมันง่ายมาก จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการพยายามทำให้ตัวเองมีชีวิตอยู่จึงเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ นอกจากนั้นมันเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่ไม่เคยคิดที่จะฆ่าตัวตายที่จะเข้าใจเหตุผลของการกระทำ การจบชีวิตลงมันดึงดูดอย่างไร"
แม้ว่าการกระทำของพวกเขาอาจดูหุนหันพลันแล่น แต่มันก็เป็นสิ่งที่เขาคิดว่า เป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว หลังจากที่ต้องต่อสู้กับปีศาจภายในตัวเองมานานหลายปี
ส่วนทางออกเกี่ยวกับปัญหาเรื่องนี้ แม้จะยังไม่มีคำตอบตายตัว แต่แนวทางที่ หมอเจฟฟรีย์ (Dr. Jeffrey Borenstein, the C.E.O. of the Brain & Behavior Research Foundation) เคยกล่าวไปว่า ถ้าคุณกำลังกังวลเกี่ยวกับความรัก คุณควรพูดคุยและเล่ามันให้ใครสักคนฟัง รวมถึงปัญหาชีวิตเรื่องต่างๆ อยู่ใช้ชีวิตแบบตัวคนเดียว
เพราะบางคนมีมุมมองที่ผิดเกี่ยวกับการถามเรื่องการฆ่าตัวตายว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงได้ แต่ในความเป็นจริง การถามแบบนั้นไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น กลับกันมันสามารถช่วยชีวิตพวกเขาไว้ได้
(แปล-เรียบเรียง จาก https://www.newyorker.com/news/daily-comment/preventable-tragedies)
อ่านเรื่องราวอื่น:
วันแห่งอิสรภาพ! เมื่อชายวิสคอนซิน พ้นข้อกล่าวหา FBI พิสูจน์คดีเส้นผมผิดพลาด ติดคุกฟรี 27 ปี