ตรวจรายชื่ออนุกรรมการเยียวยา 8 คณะ กับคำถามถึงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่
เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถนนนสุขยางค์ อ.เมือง จ.ยะลา นายประมุข ลมุล รองเลขาธิการ ศอ.บต. พร้อมด้วย นายฐานิส ศรียะพันธุ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. ได้ร่วมกันแถลงข่าวถึงความคืบหน้ากระบวนการเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบอันสืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกระบวนการตรวจสอบข้อมูลผู้มิสิทธิได้รับการช่วยเหลือเยียวยา เพื่อไม่ให้ผู้ใดแอบอ้างการใช้สิทธิดังกล่าวหรือใช้สิทธิซ้ำซ้อน
นายประมุข กล่าวว่า การเยียวยาต้องมีความเป็นธรรม สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด โดย ศอ.บต.พร้อมให้ความสนับสนุนในเรื่องการประกอบอาชีพและการศึกษาแก่ผู้ได้รับผลกระทบและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องเป็นไปตามความเหมาะสมของแต่ละกรณี
นอกจากนั้น ยังได้พิจารณาหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การรักษาพยาบาลทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งการส่งต่อฟื้นฟูผู้พิการหรือฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกายและจิตใจโดยแพทย์เฉพาะทาง การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ การเยียวยาทางด้านจิตวิญญาณ อาทิ การใช้จ่ายในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ อุมเราะฮ์ ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย หรือประกอบศาสนกิจทางศาสนาอื่นๆ ตลอดจนการใช้สิทธิในการเข้ารับการศึกษาของตนเองหรือทายาท การสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการศึกษาอย่างต่อเนื่องตามสมควร การช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายด้านทรัพย์สิน การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหรือการช่วยเหลือด้านที่ทำกินหรือการส่งเสริมประกอบอาชีพ และการได้รับการเยี่ยมเยียนอย่างต่อเนื่องด้วย
ขณะเดียวกัน ก็จะให้การสนับสนุนการสร้างกลุ่มวิชาชีพหรือการรวมกลุ่มของผู้ได้รับผลกระทบเพื่อดูแลซึ่งกันและกัน การได้รับการช่วยเหลือให้มีความปลอดภัยหรือมีส่วนร่วมในการจัดระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายซ้ำอีก หรือการคุ้มครองป้องกันจากการถูกปองร้ายรวมถึงการจัดตั้งสถานพยาบาลเฉพาะทางหรือสถาบันส่งเสริมการศึกษา เยียวยาฟื้นฟูผู้พิการในจังหวัดชายแดนาภาคใต้ การช่วยเหลือเยียวยาด้านกฎหมาย การฟ้องร้อง การดำเนินคดี หรือการคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานการเข้าถึงความเป็นธรรมและช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้
สำหรับการช่วยเหลือด้านการเงินของแต่ละกลุ่มตามที่มีการเสนอ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบไปแล้วรวม 4 กลุ่ม เมื่อวันที่ 24 เม.ย.2555 ให้เป็นไปตามที่อนุกรรมการแต่ละชุดเสนอ โดยให้คณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่เป็นผู้อนุมัติอีกครั้ง
นอกจากนั้น ศอ.บต.ได้เปิดช่องทางการรับเรื่องราวร้องทุกข์ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาและความเป็นธรรม สามารถประสานงานผ่านบัณฑิตอาสาในตำบล, คณะกรรมการเยียวยาอำเภอ และเยียวยาจังหวัด หรือช่องทางตรง โทร.สายด่วน ศอ.บต.1880 เพื่อการดำเนินการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องต่อไป
เปิดรายชื่อ-อำนาจหน้าที่อนุกรรมการเยียวยา 8 คณะ
ทั้งนี้ ในส่วนของคณะอนุกรรมการเยียวยา ได้แต่งตั้งขึ้นจำนวน 8 คณะ ดังนี้
1.คณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์และประเมินผลการเยียวยา
องค์ประกอบ
1) พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ประธานอนุกรรมการ
2) พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ รองประธานอนุกรรมการ
3) รศ.โคทม อารียา รองประธานอนุกรรมการ
4) นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ รองประธานอนุกรรมการ
5) พล.ต.ต.เกษม รัตนสุนทร อนุกรรมการ
6) นายถิรชัย วุฒิธรรม อนุกรรมการ
7) นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ อนุกรรมการ
8) เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
9) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว อนุกรรมการ
10) นายวิสุทธิ์ สิงห์ขจรวรกุล อนุกรรมการ
11) อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา หรือผู้แทน อนุกรรมการ
12) ประธานหอการค้าจังหวัดนราธิวาส อนุกรรมการ
13) ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา อนุกรรมการ
14) นายแพทย์ประชา ชยาภัม อนุกรรมการ
15) น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อนุกรรมการ
16) นางมาริสา สมาแห อนุกรรมการ
17) นายแพทย์สมหมาย บุญเกลี้ยง อนุกรรมการ
18) นางบรรจบ ศรีสุข อนุกรรมการ
19) ผศ.ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศอ.บต.เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
20) ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายและแผน ศอ.บต. เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ (เฉพาะที่สำคัญ)
1.กำหนดยุทธศาสตร์การเยียวยาเพื่อให้ผู้เสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบสามารถช่วยเหลือตนเองให้มีชีวิตอยู่ในสังคมเฉกเช่นปกติ ไม่เป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม ตลอดจนสร้างความเข้าใจ ฟื้นคืนความไว้วางใจ ลดความโกรธแค้นเกลียดชังระหว่างรัฐกับประชาชนและระหว่างประชาชนด้วยกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน รวมทั้งเป็นการขจัดและป้องกันไม่ให้เกิดเงื่อนไขที่หล่อเลี้ยงหรือเอื้อต่อการใช้ความรุนแรงจากทุกฝ่าย
2.พัฒนาศักยภาพและยกระดับมาตรฐานในการช่วยเหลือเยียวยาและพัฒนา ประเมินผลการพัฒนาระบบและกระบวนการเยียวยาให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ไม่ล่าช้า และมีระบบการตรวจสอบ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแสวงหาผลประโยชน์จากการเยียวยา โดยระบบการเยียวยาจะต้องคำนึงถึงอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีและความเชื่อทางศาสนา
3.ติดตามประเมินผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการหรือกรรมการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การเยียวยา
4.เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกี่ยวกับแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูและการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
องค์ประกอบ
1) เลขาธิการ ศอ.บต. ประธานอนุกรรมการ
2) นายวิเชียร จันทรโณทัย รองประธานอนุกรรมการ
3) พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา รองประธานอนุกรรมการ
4) นางเมตตา กูนิง รองประธานอนุกรรมการ
5) ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 (ผอ.รมน.ภาค 4 ซึ่งหมายถึงแม่ทัพภาคที่ 4) หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
6) ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผบช.ศชต.) หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
7) ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
8) เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
9) ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
10) ประธานหอการค้าจังหวัดยะลา หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
11) ผู้แทนสำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็นอนุกรรมการ
12) นายกสมาคมสื่อมวลชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
13) นายแพทย์ดำรง แวอาลี อนุกรรมการ
14) นายเสรี นิมะยุ อนุกรรมการ
15) นายคอลีลือเราะมัน ดือราแม อนุกรรมการ
16) นายกล่อม ยังอภัย อนุกรรมการ
17) นายกิตติ อนันต์ศักดิ์ศรี อนุกรรมการ
18) นายแวอูมาร์ แวดอเลาะ อนุกรรมการ
19) นายสมศักดิ์ ศรีสมบัติ อนุกรรมการ
20) ผศ.พงษ์พจน์ วัชรสุขุม อนุกรรมการ
21) นางสม โกไศยกานนท์ ผู้แทนผู้ได้รับผลกระทบ เป็นอนุกรรมการ
22) นางยินดี แซ่เหง่า ผู้แทนผู้ได้รับผลกระทบ เป็นอนุกรรมการ
23) นางอ้อยใจ ศรีสุวรรณ ผู้แทนผู้ได้รับผลกระทบ เป็นอนุกรรมการ
24) น.ส.ศรุดา จินดารัตน์ ผู้แทนผู้ได้รับผลกระทบ เป็นอนุกรรมการ
25) นางวริษา ศิริพฤกษานุกูล อนุกรรมการ
26) น.ส.ซาราห์ บินเย๊าะ อนุกรรมการและเลขานุการ
27) ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายสังคมจิตวิทยา เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
28) พ.ต.ต.ชย พานะกิจ เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ (เฉพาะที่สำคัญ)
1.กำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนว่าเป็นประชาชนผู้เสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.ให้การช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่พบว่ามีความทุกข์ยากเดือดร้อนเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ ครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 24 เม.ย.2555 ในเบื้องต้นวงเงินไม่เกินรายละ 100,000 บาท กรณีต้องช่วยเหลือเกิน 100,000 บาท ให้คณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่) พิจารณาอนุมัติ
3.เยี่ยมเยียนประชาชนที่เป็นผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบเป็นรายครัวเรือน
4.กำหนดมาตรการในการติดตาม ประเมินผล และรายงานให้คณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่ทราบ
3.คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับผลกระทบ
องค์ประกอบ
1) พล.อ.ขวัญชาติ กล้าหาญ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นที่ปรึกษา
2) นายประมุข ลมุล ประธานอนุกรรมการ
3) นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ รองประธานอนุกรรมการ
4) พล.อ.ล้วน ชูวงษ์ รองประธานอนุกรรมการ
5) ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจที่ 8 เป็นรองประธานอนุกรรมการ
6) ผอ.รมน.ภาค 4 หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
7) ผบช.ศชต.หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
8) ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
9) ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
10) นพ.พีระพงษ์ ภาวสุทธิไพศิฐ อนุกรรมการ
11) น.ส.ศุภวรรณ พึ่งรัศมี อนุกรรมการ
12) จ.ส.อ.ฮาริส มะรือสะ อนุกรรมการ
13) นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครูสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นอนุกรรมการ
14) นางรอซีดะห์ ปูซู อนุกรรมการ
15) นายประสิทธิ์ แซ่ลู่ ผู้แทนผู้ได้รับผลกระทบ เป็นอนุกรรมการ
16) นายมะซอและ ซือรี ผู้แทนผู้ได้รับผลกระทบ เป็นอนุกรรมการ
17) นางมากลือซง วาแต ผู้แทนผู้ได้รับผลกระทบ เป็นอนุกรรมการ
18) ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายเศรษฐกิจและสังคม เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
19) นายชุมสาย เทพลิบ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
20) นายอับดุลหาดี เจ๊ะยอ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ (เฉพาะที่สำคัญ)
1.กำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้เสียหายหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.ให้การช่วยเหลือเยียวยาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับผลกระทบฯ ซึ่งพบว่ามีความทุกข์ยากเดือดร้อนเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ ครม.ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 เม.ย.2555 ในเบื้องต้นวงเงินไม่เกินรายละ 100,000 บาท กรณีต้องช่วยเหลือเกิน 100,000 บาท ให้คณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่พิจารณาอนุมัติ
3.เยี่ยมเยียนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบเป็นรายครัวเรือน
4.กำหนดมาตรการในการติดตาม ประเมินผล และรายงานให้คณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่ทราบ
4.คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ในเหตุการณ์ 28 เม.ย.2547 (เหตุการณ์กรือเซะ) และ 25 ต.ค.2547 (เหตุการณ์ตากใบ)
องค์ประกอบ
1)ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี เป็นประธานอนุกรรมการ
2) ผศ.ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นรองประธานอนุกรรมการ
3) รศ.รัตติยา สาและ รองประธานอนุกรรมการ
4) พล.ท.มนตรี อุมารี จาก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นรองประธานอนุกรรมการ
5) ผบช.ศชต.หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
6) ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
7) ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ยะลา และสงขลา หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
8) ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
9) นายอับดุลอาซิซ เจ๊ะมามะ สมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สปต.) เป็นอนุกรรมการ
10) พ.ต.อ.สมพร มีสุข อนุกรรมการ
11) นายอับดุลรอซัค อาลี อนุกรรมการ
12) นายอิสมาแอล หมินหวัง อนุกรรมการ
13) น.ส.นารี เจริญผลพิริยะ จากกลุ่มสันติอาสาสักขีพยาน เป็นอนุกรรมการ
14) น.ส.บุษบา ฉิมพลิกานนท์ อนุกรรมการ
15) นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน อนุกรรมการ
16) นายชาย ขาวทอง อนุกรรมการ
17) นางนัยนา ฤทธิภักดี อนุกรรมการ
18) นางคอลีเยาะ หะหลี ผู้แทนผู้ได้รับผลกระทบเหตุการณ์กรือเซะ เป็นอนุกรรมการ
19) นางแยนะ สะแลแม ผู้แทนผู้ได้รับผลกระทบเหตุการณ์ตากใบ เป็นอนุกรรมการ
20) นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ อนุกรรมการและเลขานุการ
21) น.ส.วรรณา เอื้อศิริพันธ์ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ (เฉพาะที่สำคัญ)
1.กำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนว่า เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐในเหตุการณ์วันที่ 28 เม.ย.2547 และวันที่ 25 ต.ค.2547
2.ให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐในเหตุการณ์วันที่ 28 เม.ย.2547 และวันที่ 25 ต.ค.2547 ที่พบว่ามีความทุกข์ยากเดือดร้อน ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ ครม.ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 เม.ย.2547 ในเบื้องต้นวงเงินไม่เกินรายละ 100,000 บาท กรณีต้องช่วยเหลือเกิน 100,000 บาท ให้คณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่พิจารณาอนุมัติ
3.เยี่ยมเยียนผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐจากทั้ง 2 เหตุการณ์เป็นรายครัวเรือน
4.กำหนดมาตรการในการติดตาม ประเมินผล และรายงานให้คณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่ทราบ
5.คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบกรณีถูกบังคับให้สูญหายหรือถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนวิธีอื่นโดยเจ้าหน้าที่รัฐจนบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต
องค์ประกอบ
1)นางจิราพร บุนนาค อดีตรองเลขาธิการ สมช. เป็นประธานอนุกรรมการ
2) นายฐานิส ศรียะพันธ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต.เป็นรองประธานอนุกรรมการ
3) นายอับดุลอาซิซ ยานยา รองประธานอนุกรรมการ
4) นพ.อนันต์ชัย ไทยประทาน รองประธานอนุกรรมการ
5) เลขาธิการ สมช.หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
6) ผอ.รมน.ภาค 4 หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
7) ผบช.ศชต.หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
8) ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
9) ประธานชมรมตาดีกา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นอนุกรรมการ
10) ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
11) นายอับดุลรอนิ กาหะมะ อนุกรรมการ
12) พ.ต.ท.อัครวัฒน์ อ่อนแก้วทวีสิน อนุกรรมการ
13) นายอับดุลการิม รามันห์สิริวงศ์ อนุกรรมการ
14) นายซุลกีฟรี เจ๊ะมามะ อนุกรรมการ
15) นางปัทมา หีมมิหน๊ะ ผู้แทนผู้ได้รับผลกระทบ เป็นอนุกรรมการ
16) นางอลิสรา มะแซ อนุกรรมการ
17) น.ส.ปิติกาญจน์ สิทธิเดช อนุกรรมการและเลขานุการ
18) ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานยุติธรรม ศอ.บต.เป็นอนุกรรมการและเลขานุการร่วม
19) นางพาตีเมาะ สะดียามู อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
20) นายสิทธิวิชญ์ รัตนาชัยศิริ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
21) นายสมนึก ฉีดเสน อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ (เฉพาะที่สำคัญ)
1.กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนว่า ผู้เสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ด้วยการบังคับให้สูญหาย โดยการจับกุมคุมขัง ลักพาหรือกระทำการด้วยประการใดๆ ที่มีลักษณะเป็นการลิดรอนเสรีภาพ หรือถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐจนบาดเจ็บพิการหรือเสียชีวิตหรือไม่ และเสนอคณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณาอนุมัติ
2.ให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายและผู้ได้รับผลกระทบที่พบว่ามีความทุกข์ยากเดือดร้อนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ ครม.ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 เม.ย.2555 ในเบื้องต้นวงเงินไม่เกินรายละ 100,000 บาท กรณีต้องช่วยเหลือเกิน 100,000 บาท ให้คณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่พิจารณาอนุมัติ
3.เยี่ยมเยียนผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบเป็นรายครัวเรือน
4.กำหนดมาตรการในการติดตามประเมินผลเพื่อให้กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบกรณีถูกบังคับให้สูญหายหรือถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐจนบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตให้ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างทั่วถึงเป็นธรรม และรายงานผลต่อคณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่ทราบ
6.คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเหตุการณ์เฉพาะกรณี
องค์ประกอบ
1)นายบัณฑูร สุภัควณิช เป็นที่ปรึกษา
2) ปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานอนุกรรมการ
3) เลขาธิการ ศอ.บต. รองประธานอนุกรรมการ
4) นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นรองประธานอนุกรรมการ
5) เลขาธิการ สมช.หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
6) ผอ.รมน.ภาค 4 หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
7) ผบช.ศชต.หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
8) ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
9) เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
10) นายต่วนบูคอรี โต๊ะกูบาฮา อนุกรรมการ
11) นายรุสดี บาเกาะ สมาชิก สปต.เป็นอนุกรรมการ
12) นายกสมาคมหนังสือพิมพ์ภาคใต้ หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
13) นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ เป็นอนุกรรมการ
14) นพ.ซุลกิฟลี ยูโซ๊ะ อนุกรรมการ
15) ทันตแพทย์อับดุลกอเดร์ ยูโซะ อนุกรรมการ
16) นายพิทักษ์ ก่อเกียรติพิทักษ์ อนุกรรมการ
17) ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี อนุกรรมการ
18) นายแวยาโร๊ะ แวมายิ อนุกรรมการ
19) น.ส.นวลน้อย ธรรมเสถียร อนุกรรมการ
20) นางนูนรียา ยูโซะ ผู้แทนผู้ได้รับผลกระทบ เป็นอนุกรรมการ
21) นายวิเชียร จันทรโณทัย อนุกรรมการและเลขานุการ
22) ผู้อำนวยการส่วนเยียวยา ศอ.บต.เป็ฯอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ (เฉพาะที่สำคัญ)
1.กำหนดกลุ่มเป้าหมายโดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนว่า เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เฉพาะกรณี ตามที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.ให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเหตุการณ์เฉพาะกรณีที่พบว่ามีความทุกข์ยากเดือดร้อนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่ ครม.ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 เม.ย.2555 ในเบื้องต้นวงเงินไม่เกินรายละ 100,000 บาท กรณีต้องช่วยเหลือเกิน 100,000 บาทให้คณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่พิจารณาอนุมัติ
3.เยี่ยมเยียนผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เฉพาะกรณีเป็นรายครัวเรือน
4.กำหนดมาตรการในการติดตาม ประเมินผล และรายงานให้คณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่ทราบ
7.คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเยียวยากรณีถูกจับกุม ควบคุมหรือคุมขัง หรือถูกดำเนินคดีโดยไม่มีความผิด
องค์ประกอบ
1)เลขาธิการ ศอ.บต.เป็นประธานอนุกรรมการ
2) นายอดินันท์ ปากบารา รองประธานอนุกรรมการ
3) ผบช.ศชต.เป็นรองประธานอนุกรรมการ
4) ผอ.รมน.ภาค 4 หรือผู้แทน เป็นรองประธานอนุกรรมการ
5) น.ต.นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ รองประธานอนุกรรมการ
6) ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา หรือผู้แทน เป็น อนุกรรมการ
7) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
8) ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา หรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ
9) สมาชิก สปต.ประเภทผู้แทนกลุ่มสตรีจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา เป็นอนุกรรมการ
10) นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี อนุกรรมการ
11) น.ส.พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล อนุกรรมการ
12) นายยะโก๊บ หร่ายมณี อิหม่ามประจำมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี เป็นอนุกรรมการ
13) นายสมุทร มอหาหมัด อนุกรรมการ
14) นายสมมาศ มะมุพี อนุกรรมการ
15) นายธนาวิทย์ ไชยานุพงษ์ อนุกรรมการ
16) ผู้แทนมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เป็นอนุกรรมการ
17) นายสุพจน์ จริงจิตร อนุกรรมการ
18) น.ส.ณัชชา ศรีโชติยะกุล อนุกรรมการ
19) นายวิรัตน์ วัฒนา อนุกรรมการ
20) นพ.อนันต์ชัย ไทยประทาน อนุกรรมการและเลขานุการร่วม
21) ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและกีฬา เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
22) นายทรงพล รักษ์เผ่า อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ (เฉพาะที่สำคัญ)
1.กำหนดเป้าหมาย จัดทำฐานข้อมูลรายครัวเรือน และตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีผู้ถูกควบคุมตัว หรือถูกคุมขัง หรือถูกดำเนินคดีเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลย และถูกควบคุมตัวหรือคุมขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) โดยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ต่อมาปรากฏหลักฐานว่าผู้นั้นมิได้เป็นผู้กระทำผิด หรือมีการถอนฟ้อง หรือมีคำพิพากษายกฟ้อง ว่าสมควรได้รับการเยียวยาทั้งทางด้านจิตใจ จิตวิญญาณ และด้านการเงิน เพื่อนำเสนอคณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่พิจารณาอนุมัติ
2.สร้างพื้นที่ที่มีสภาวะแวดล้อมเหมาะสมและเอื้อต่อการพูดคุยเพื่อรับทราบปัญหา ความเดือดร้อน ความต้องการของผู้เสียหาย เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ รวมทั้งเป็นการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้ง และให้หลักประกันในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้เสียหายในการแสดงความคิดเห็นเพื่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3.ให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายที่พบว่ามีความทุกข์ยากเดือดร้อนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่ ครม.ได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 เม.ย.2555 ในเบื้องต้นวงเงินไม่เกินรายละ 30,000 บาท กรณีต้องช่วยเหลือเกิน 30,000 บาท ให้คณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่พิจารณาอนุมัติ
4.เยี่ยมเยียนผู้เสียหายที่ถูกจับกุม ควบคุม หรือคุมขัง หรือถูกดำเนินคดีโดยไม่มีความผิดเป็นรายครัวเรือน
5.ประสานความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่เพื่อบูรณาการทรัพยากรและสรรพกำลังต่างๆ ในการช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูผู้เสียหายให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพ
6.รายงานผลการดำเนินงานและเสนอความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุง พัฒนาระบบและกระบวนการเยียวยาต่อคณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่
8.คณะอนุกรรมการสื่อสารสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศ
องค์ประกอบ
1)เลขาธิการ สมช.เป็นที่ปรึกษา
2) นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นที่ปรึกษา
3) นายธงทอง จันทรางศุ ประธานอนุกรรมการ
4) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ รองประธานอนุกรรมการ
5) นายอิสมาอีล ลุตฟี จะปะกียา อธิบการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เป็นรองประธานอนุกรรมการ
6) เลขาธิการ ศอ.บต. เป็นรองประธานอนุกรรมการ
7) นายอับดุลเราะห์มาน อับดุลสมัด รองประธานอนุกรรมการ
8) นางจิราพร บุนนาค อนุกรรมการ
9) นางอังคณา นีละไพจิตร อนุกรรมการ
10) นายพิทักษ์ ก่อเกียรติพิทักษ์ อนุกรรมการ
11) นายณรงค์ วงศ์สุมิตร อนุกรรมการ
12) นายวรวีร์ มะกูดี อนุกรรมการ
13) ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี เป็นอนุกรรมการ
14) นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล อนุกรรมการ
15) นายสมภพ สุภนรานนท์ อนุกรรมการ
16) นายมูฮำหมัด อาดำ อนุกรรมการ
17) นายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช อนุกรรมการ
18) น.ส.กร ปราชญ์นคร อนุกรรมการ
19) นายซอและห์ ตาเละ อนุกรรมการ
20) ประชาสัมพันธ์จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา เป็นอนุกรรมการ
21) ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง ศอ.บต.เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
22) นายมงคล สินสมบูรณ์ อนุกรรมการและเลขานุการร่วม
อำนาจหน้าที่ (เฉพาะที่สำคัญ)
1.จัดให้มีการประชุมร่วมกับคณะทูตของประเทศโลกมุสลิม คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศมุสลิม ผู้แทนองค์การความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี) และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและเผยแพร่การดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตามนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนการเข้าถึงในระดับประชาชนของนานาประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชน รัฐบาล และประชาคมระหว่างประเทศ มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าประเทศไทยกำลังดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในแนวทางสันติวิธี
3.เสริมสร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์ความเป็นจริงในพื้นที่ให้แก่สังคมทั้งภายในและภายนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
4.ประสานความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อบูรณาการทรัพยากรและสรรพกำลังต่างๆ ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศ ทำความเข้าใจกับผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งระดับส่วนบุคคล ชุมชน และสังคมโดยรวม
5.รายงานผลการดำเนินงานและเสนอความเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศต่อคณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่
คำถามถึงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่
แม้ว่าการแต่งตั้งอนุกรรมการเยียวยาทั้ง 8 คณะ จะเป็นการระดมผู้มีความรู้ความสามารถจากทุกภาคส่วนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งข้าราชการระดับสูงและอดีตข้าราชการ ฝ่ายความมั่นคง ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำศาสนาทั้งพุทธและมุสลิม องค์กรภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และตัวแทนจากผู้สูญเสีย ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมมากที่สุดครั้งหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่สืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ตาม
แต่ก็ยังมีคำถามจากบางฝ่ายที่ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ ทั้งในแง่ขององค์ประกอบของอนุกรรมการบางชุด และอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้บางประการ ซึ่ง "ทีมข่าวอิศรา" สรุปได้ดังนี้
1.มีบุคคลที่ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนเข้าร่วมเป็นอนุกรรมการหลายคณะ ซึ่งแม้บางรายจะมีตำแหน่งทางสังคมอื่นๆ หรือเป็นกรรมการของหน่วยงานราชการบางแห่ง หรือองค์กรภาคประชาสังคม แต่ก็ยังประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนอยู่ ทำให้มีความเป็นห่วงเรื่องกลไกการตรวจสอบจากภายนอกโดยสื่อ เพราะเมื่อผู้ประกอบวิชาชีพสื่อเข้าไปร่วมเป็นอนุกรรมการเสียแล้ว แม้จะสามารถเป็นกลไกตรวจสอบจากภายในได้ แต่ก็ทำให้กลไกตรวจสอบจากภายนอกลดความชอบธรรมลง
2.ตัวเลขเงินเยียวยาเบื้องต้นสำหรับผู้ได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม (ยกเว้นกลุ่มที่ถูกจับกุม คุมขัง หรือดำเนินคดีโดยไม่มีความผิด) จะได้รับ 100,000 บาทเท่ากันหมด ซึ่งแตกต่างจากข้อมูลที่เปิดเผยโดยคณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่ที่เคยนำเสนอผ่านสื่อหลายแขนงก่อนหน้านี้ว่า ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์กรือเซะ ตากใบ หรือกรณีเฉพาะอื่นๆ อาจเริ่มต้นที่ 500,000 บาท
ขณะที่ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นครอบครัวของผู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ยังเข้าใจว่ารัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้วยยอดเงิน 7.5 ล้านบาท เท่ากรณีผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุชุมนุมทางการเมือง ซึ่งประเด็นนี้ถือเป็นประเด็นอ่อนไหวที่อาจสร้างความไม่เข้าใจให้เกิดขึ้นในพื้นที่ได้
3.อำนาจหน้าที่ของอนุกรรมการชุดที่ 4 และ 5 (กรณีกรือเซะ ตากใบ บังคับสูญหาย หรือละเมิดสิทธิมนุษยชน) จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนว่า "เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ"
ประเด็นนี้อาจมีปัญหาในหลายกรณีที่คดีไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หรือกระบวนการยุติธรรมลำดับต้นไม่ได้ชี้ชัดว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น กรณีตากใบ มีคำสั่งในสำนวนไต่สวนการตาย (ชันสูตรพลิกศพ) โดยศาลว่า สาเหตุการเสียชีวิตมาจากการขาดอากาศหายใจ โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการกระทำ หรือทำร้ายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และคดีนี้พนักงานอัยการก็มีคำสั่งไม่ฟ้องด้วย เช่นเดียวกับกรณีเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2547 หรือเหตุการณ์กรือเซะ ที่เกือบทุกคดีจบแค่กระบวนการไต่สวนการตาย
ฉะนั้นการหาหลักฐานเพื่อยืนยันว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐอาจเป็นเรื่องยาก และหากอนุกรรมการชี้ว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยคณะกรรมการเยียวยาชุดใหญ่อนุมัติจ่ายเงินให้ จะทำให้เกิดผลฟ้องร้องในคดีอาญาตามมาอีกหรือไม่ ทั้งฝ่ายผู้เสียหาย และการฟ้องกลับจากฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ
4.ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการจำนวนหนึ่ง ไม่มีความชัดเจนว่ามีความเข้าใจเรื่องหลักสิทธิมนุษยชนว่าด้วยการเยียวยาหรือไม่ อย่างไร และยังมีอำนาจหน้าที่ในการค้นหาหลักฐานเพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลสำหรับการจ่ายเงินเยียวยาด้วย ซึ่งความเข้าใจในประเด็นเหล่านี้ถือเป็น “องค์ความรู้เฉพาะ” ที่ไม่อาจใช้การคาดเดาหรือความรู้สึกในการพิจารณาตัดสินได้
ข้อสังเกตเหล่านี้เป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายพึงร่วมกันตรวจสอบและติดตามการทำงานของคณะอนุกรรมการทุกคณะอย่างใกล้ชิดต่อไป
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บรรยายภาพ : บรรยากาศการแถลงความคืบหน้าการตั้งอนุกรรมการเยียวยา และการวางหลักเกณฑ์ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่ ศอ.บต. (ภาพโดย อะหมัด รามันห์สิริวงศ์)